องค์การฯ รายงานว่าสายพันธุ์แลมบ์ดามีการกลายพันธุ์ที่อาจเพิ่มความสามารถแพร่เชื้อ หรือทำให้เชื้อไวรัสฯ ต่อต้านแอนติบอดีมากขึ้น ทว่าหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) เป็นสายพันธุ์ที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังจากองค์การฯ แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศการตรวจพบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lambda) ใน 29 ประเทศ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดังกล่าว
รายงานประจำสัปดาห์ขององค์การฯ ระบุว่าโรคโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกในเปรู จัดเป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) เนื่องจากความชุกที่เพิ่มขึ้นในทวีปอเมริกาใต้
เปรูตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา สูงถึงร้อยละ 81 นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะชิลีตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวร้อยละ 32 ในช่วง 60 วันที่ผ่านมา เป็นรองเพียงสายพันธุ์แกมมา (Gamma) ที่พบครั้งแรกในบราซิล ส่วน ประเทศอื่นๆ อาทิ อาร์เจนตินาและเอกวาดอร์ รายงานความชุกที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ใหม่นี้เช่นกัน
ตัวอย่างล่าสุดคือสายพันธุ์เดลตา (Delta) ที่พบครั้งแรกในอินเดีย ซึ่งถูกจัดเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ” จนถึงวันที่ 11 พ.ค. ก่อนองค์การฯ จะเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า "ไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาตรวจพบครั้งแรกในประเทศเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในโลก" พร้อมโพสต์ลิงก์รายงานจากเว็บไซต์ข่าว news.com.au ของออสเตรเลียที่ระบุว่า พบไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาแล้วในสหราชอาณาจักร โดยรายงานระบุว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวแล้ว 6 รายในอังกฤษ
บรรดานักวิจัยแสดงความกังวลว่าไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาอาจแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเชื้อเดลต้า
ด้านสำนักข่าวยูโร นิวส์รายงานโดยอ้างองค์การสุขภาพของภาคพื้นอเมริกา (PAHO) ระบุว่า เกือบ 82% ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดในเปรูนั้นติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาในช่วงเดือนพ.ค-มิ.ย.ที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น