วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

"โครงการเราชนะ" สร้างรายได้ให้วิสากิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง (แปรรูปปลา) เป็นกอบเป็นกำ แทบผลิตไม่ทัน เผยอยากให้มีโครงการดีๆอย่างนี้อีก

ที่วิสากิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง (แปรรูปปลา) หมู่ 11 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เป็นวิสาหกิจชุมชนอีกกลุ่มที่มีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง และช่วงนี้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับสมาชิก หลังเข้าร่วมโครงการ "เราชนะ" โดยนำผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลา ซึ่งในตำบลกองนางเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาที่ขึ้นชื่อที่สุดของจังหวัดหนองคาย และนำปลานิลที่เป็นต้นทุนในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบล ไม่ว่าจะเป็นปลานิลแดดเดียว ใส้กรอกปลานิล กุนเชียงปลานิล แหนมปลานิล และน้ำพริกปลานิล จนได้รับความสนใจของผู้บริโภคจำนวนมาก




นางถนอม สมศรี กำนันตำบลกองนาง ซึ่งเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯ กล่าวว่า เนื่องจากในพื้นที่มีเกษตรกรยึดอาชีพเลี้ยงปลาเป็นส่วนใหญ่ จึงมีแนวคิดที่จะแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทางสินค้า และสตรีของเราก็ว่างงาน จึงได้รวมกลุ่มกันตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนฯขึ้นมา เพื่อนำปลาที่เป็นต้นทุนในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาในชุมชน ก็จะมีปลานิลแดดเดียว ใส้กรอกปลา กุนเชียงปลา แหนมปลา และน้ำพริกปลานิล โดยราคาปลานิลแดดเดียวอยู่ที่แพ๊คละ 140 บาท, ใส้กรอกปลาแพ๊คละ 100 บาท, กุนเชียงปลาแพ๊คละ 100-150 บาท, แหนมปลาแพ๊คละ 100 บาท และน้ำพริกปลานิลกระปุกละ 25-50 บาท  ซึ่งช่วงนี้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับความต้องการจากผู้บริโภคจำนวนมาก หลังจากกลุ่มฯได้เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ และโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีประชาชนเข้ามาใช้สิทธิกันจนทำให้สินค้าของกลุ่มฯแทบผลิตไม่ทัน ปรกติแล้วกลุ่มแม่บ้านจะร่วมกันทำผลิตภัณฑ์สัปดาห์ละครั้งสองครั้ง แต่พอมีโครงการเราชนะเข้ามา จึงต้องรวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ทุกวันและรับออเดอร์ตลอด โดยปลานิลแดดเดียวจะผลิตได้ 40 กก./วัน , แหนมปลานิลจะผลิตได้ 700 ห่อ/วัน , ใส้กรอกปลานิลจะผลิตได้ 20 กก./วัน และกุนเชียงปลานิลจะผลิตได้ 15 กก./วัน ส่วนน้ำพริกปลานิลต้องมีออเดอร์สั่งเข้ามาถึงจะทำ เพราะมีวิธีการทำหลายขั้นตอน ต้องใช้เวลาในการทำน้ำพริก ทำให้สมาชิกของกลุ่มฯมีรายเพิ่มขึ้นสองถึงสามเท่าตัว ท่าเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลมีโครงการดีๆแบบนี้อีก เพราะสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง อีกอย่างยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชนได้มีงานทำ และไม่ว่างงานอีกด้วย





สำหรับผลิตภันฑ์ของวิสากิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง (แปรรูปปลา) ยังได้รับการรับรองด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานการผลิตสินค้า OTOP การแปรรูปการเกษตร ปี 2562 จากกรมส่งเสริมการเกษตร และผลิตภัณฑ์ยังได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นการการันตีคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตามหลักเกณฑ์การผลิตอีกด้วย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...