วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ผู้ว่าฯหนองคาย พาผู้บริหารและสื่อมวลชนไปยามการบริหารจัดการน้ำ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง ภายใต้กิจกรรม "ลำห้วยโมง สายน้ำแห่งความหวัง"

วันที่ 19 พ.ค.2565 ที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง กรมชลประทาน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดโครงการ "ผู้ว่าพาไปยาม" ครั้งที่ 7 ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นการดำเนินงานโครงการภายใต้กิจกรรม "ลำน้ำโมง สายน้ำแห่งความหวัง" ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกษตรและสหกรณ์ โดยคณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย ได้จัดงานโครงการฯขึ้น เพื่อนำพาผู้บริหารและคณะสื่อมวลชน ไปเยี่ยมชมโครงการ/กิจกรรมเด่น เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านทางสื่อโทรทัศน์และสื่อต่างๆ ส่งผลให้กิจกรรมด้านการเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยมีนายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ กล่าวต้อนรับ, นายอำไพ ประเสริฐสังข์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ , นายสุนธร คำศรีเมือง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง กล่าวรายงานสรุปผลการบริหารจัดการน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง และนายสุบิน สาบุญมา ประธานกลุ่มใช้น้ำสถานีสูบน้ำที่ 6 ผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ กล่าวรายงานถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ โดยมีหัวหน้าราชการ, ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,  เจ้าหน้าที่/พนักงาน , เกษตรกรผู้ใช้น้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ




สำหรับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง เป็นโครงการอเนกประสงค์ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่โครงการชลประทานเป็นหลัก  มีอายุใช้งานมานานแล้ว 35 ปี ลักษณะโครงการเป็นการก่อสร้างอาคารควบคุมบังคับน้ำ (Regulator) 6.00 x 5.50 เมตร จำนวน 4 ช่องบานปิดกั้นลำห้วยโมง ก่อนบรรจบกับแม่โขงประมาณ 300 เมตร  โดยมีสถานีสูบน้ำที่อาคารหลัก มีหน้าที่สูบระบายเพื่อบรรเทาอุทกภัย กรณีระดับน้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูง และสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาเติมเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในกรณีปีที่มีน้ำน้อย และสถานีสูบน้ำย่อย อีกจำนวน 11 สถานี กระจายอยู่ตามลำห้วยโมง มีหน้าที่สูบน้ำในช่วงฤดูแล้งในเดือนกุมภาพันธ์ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 56,000 ไร่ ตามคำร้องขอของเกษตรกร โดยเกษตรกรจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าสบทบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2529 ในอัตรา 60 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า หรือคิดเป็นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต่อหน่วยไฟฟ้า  ส่วนที่เหลืออีก 85 เปอร์เซ็น ส่วนราชการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด รวม 3 อำเภอ 8 ตำบล 43 หมู่บ้าน เกษตรกร 5,441 ราย บริหารจัดการน้ำแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม  พืชเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว ยาสูบ พริก และพืชผักต่างๆ  อีกทั้งยังมีการประมงและการปศุสัตว์อีกด้วย







ภายหลังจากมีโครงการนี้ เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้ปีละ 2 ครั้ง  หรือบางปีได้ถึง 3 ครั้ง หรือ 2 ปีได้ 5 ครั้ง ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตั้งแต่มีโครงการนี้เป็นต้นมา ซึ่งจากสถิติข้อมูลผลสัมฤทธิ์โครงการ 10 ปี ย้อนหลัง พบว่าในพื้นที่โครงการมีรายได้ทั้งโครงการ เมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วมีรายได้สุทธิ เฉลี่ยปีละประมาณ 328 ล้านบาท ซึ่งสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการเป็นอย่างมาก





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...