วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผู้ว่าฯหนองคาย นำเกษตรกรคนรุ่นใหม่ Young Smart Farmer สืบสานวัฒนธรรมลงแขกเกี่ยวข้าว เล่าประสบการณ์ Nongkhai BOS



วันที่ 19 พ.ย. 2564 ที่ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดหนองคาย เครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดหนองคาย บ้านไร่ตารงค์ เลขที่ 259 หมู่ 8 ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการเสวนาเล่าประสบการณ์ Nongkhai  BOS โดยมี นางสำเนียง ขันพิมล เกษตรจังหวัดหนองคาย, นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ, นายอดุลยวัต ดวงมาลา เจ้าของสถานที่ ผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรย์หนองคายขั้นพื้นฐาน (Nongkhai  BOS) รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ, เกษตรกรคนรุ่นใหม่ เครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดหนองคาย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเวทีเสวนาครั้งนี้



ทั้งนี้การขับเคลื่อนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หนองคายขั้นพื้นฐาน (Nong Khai BOS) เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรับรองมาตรฐานด้านการผลิต เช่น GAP, เกษตรอินทรีย์ และ PGS ด้วยข้อจำกัดด้านเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย ได้ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการฯ มีการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนระหว่างหน่วยงานภาครัฐในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภายใต้โครงการ "พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก" ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยได้บูรณาการขับเคลื่อนให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 750 ราย ได้รับองค์ความรู้ด้านการผลิตสินค้าเกษตรให้ปลอดภั และได้มาตรฐาน ภายใต้มาตรฐาน Nongkhai BOS เกษตรกรจะได้รับการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น เพื่อตรวจรับรองการเข้าสู่มาตรฐาน Nongkhai BOS ต่อไป







ภายหลังจากการจัดเวทีเสวนาฯ นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้นำเกษตรกรคนรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จังหวัดหนองคาย และหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน ลงแขกเกี่ยวข้าว ที่แปลงนาข้าวเกษตรอินทรีย์เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะคนรุ่นใหม่ของนายอดุลยวัต ดวงมาลา เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิแดง ทั้งนี้เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสังคมในอดีต สำหรับคนอีสาน และการลงแขกเกี่ยวข้าวหมายถึงน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน เพื่อช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ไม่มีค่าจ้าง ตอบแทนมีเพียงน้ำใจเลี้ยงข้าวปลาอาหารที่หาได้ในชุมชน หมุนเวียนกันไปจากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่ง  และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของพี่น้องชาวนาไทย ในการร่วมใจกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวที่มีมาแต่โบราณ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงาน  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องเกษตรกร รวมถึงประชาชนทั่วไป
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...