วันที่ 3 ก.พ. 2565 ที่ โครงการศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เลขที่ 111 บ้านหนองแวง หมู่ 9 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้ นายกิตติคุณ บุตรคุณ ปลัดจังหวัดหนองคาย ประธานคณะกรรมการตรวจประเมินผลงานศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ 2565 และคณะกรรมการฯระดับจังหวัด ออกตรวจและประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของนางวดี บุญโสม โดยมีนายทศพล สินยบุตร นายอำเภอศรีเชียงใหม่ นำหัวหน้าส่วนราชการ, กำนัน ,ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำจิตสาพัฒนาชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ
การตรวจประเมินผลงานและตัดสินการคัดเลือกระดับจังหวัดครั้งนี้ ได้ใช้เกณฑ์การประเมินที่กรมการปกครองกำหนดเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน โดยคุณสมบัติที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องเป็นศูนย์เรียนรู้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ประชาชนในพื้นที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในด้านการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนนำแนวคิดและหลักปฏิบัติไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ ที่ไม่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศใด ๆ ในระดับจังหวัดมาก่อน และมีความเหมาะสมที่จะเข้ารับการพิจารณา
ทั้งนี้อำเภอศรีเชียงใหม่ ได้นำเสนอศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของนางวดี บุญโสม เข้ารับการประเมินเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ระดับจังหวัด เนื่องจากนางวดี บุญโสม ได้ดำเนินงานบริหารการจัดการพื้นที่ 6 ไร่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาชนในพื้นที่ ให้สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งมีกิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและชุมชนอย่างมีทิศทาง สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศักยภาพและบทบาททางสังคม เป็นพื้นที่แปลงต้นแบบ มีการจัดการพื้นที่ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ตามแนวทฤษฎีใหม่ มีหนอง มีคลองไส้ไก่ มีแปลงนาทำการเกษตรแบบหมุนเวียน มีการปลูกไม้ 5 ระดับ ในพื้นที่โคก มีการจัดการน้ำ ห่มดิน การปลูกหญ้าแฝก เป็นพื้นที่เหมาะแก่การเรียนรู้การพัฒนากสิกรรมในรูปแบบ “โคก หนอง นา”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น