วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การประชุมเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขงบ้านท่ามะเฟือง จ.หนองคาย

อบต.โพนสาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น ประชาชน จัดการประชุมเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขง และการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบนเกาะตอนต่ำ


วันที่ 28 พ.ย. 2566 ที่ ห้องประชุมมะเฟืองคำ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสา อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายอภิสิทธิ์ วงศรีแก้ว นายก อบต.โพนสา ,  นายภัสพล กั้งโสม ปลัดอำเภอท่าบ่อ , พ.จ.ท.เฉลิมพล ว่องชิน เจ้าพนักงานที่ดิน จ.หนองคาย สาขาท่าบ่อ ,  น.ส.มณีรัตน์ บุญอำนวยโชค นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาหนองคาย , นายก้าน โคตรชมภู โยธาและผังเมืองจังหวัดหนองคาย , รท.สมฤทธิ์ สนธิหา นายทหารฝ่ายยุทธการและการข่าว บก.ควบคุมที่ 2 กกล.สุรศักดิ์มนตรี ,  พระครูสุธรรมวรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดศรีสุธรรม , พระวิวัฒน์ชัย รักษาการเจ้าอาวาสวัดดอกแก้วบัวบาน , ตัวแทนบริษัท ไทยวัตน์วิศวการทาง จำกัด พร้อมผู้บริหาร อบต โพนสา , หัวหน้าส่วนราช ,กำนัน ,ผู้ใหญ่บ้าน ,ส.อบต.โพนสา , จนท.อบจ.หนองคาย, จนท.อบต.โพนสา, ผู้ประกอบการร้านค้า/ร้านอาหาร , ผู้ประกอบการหัองพัก/ห้องเช่า , ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง  ร่วมกันประชุมเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขง จุดก่อสร้างหมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 6 ต.โพนสา อ.ท่าบ่อ เป็นการก่อสร้างยื่นออกไปจากจุดเดิมออกไป 12 เมตร ระยะทางยาว 880 เมตร งบประมาณในการก่อสร้าง 108,850,000 บาท เริ่มสัญญาจ้างวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จวันที่ 23 กรกฎาคม 2568 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 750 วัน



นอกจากนี้ยังได้ประชุมเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบนเกาะตอนต่ำ บริเวณท้ายเกาะระยะทาง 500 เมตร ทั้ง 2 ฝั่งท้ายเกาะ รวมระยะทาง 1,000 เมตร ซึ่งเป็นเกาะดอนกลางแม่น้ำโขงของประเทศไทย เพื่อพัฒนาพื้นที่ชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งนี้บริเวณท้ายเกาะดอนต่ำ ประสบปัญหาการกัดเซาะและพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงพื้นที่การเกษตรบริเวณท้ายเกาะอาจพังทลายเสียหายได้  อบต.โพนสา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณท้ายเกาะดอนต่ำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขงในพื้นที่ดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยลดความเสียหาย ป้องกันการพังทลายของพื้นที่ตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำโขง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อีกทั้งยังสามารถเสริมสร้างภูมิทัศน์ที่ดีให้กับพื้นที่โดยรอบด้วย



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...