วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ไวน์ - สุรากลั่นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ สร้างมูลค่าทางการเกษตร จ.หนองคาย

ชาวสวนสับปะรดศรีเชียงใหม่ ผันตัวเองมาทำวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรด ผลิตไวน์สับปะรด - สุรากลั่นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ สร้างมูลค่าทางการเกษตรเดือนละ 7-8 หมื่นบาท สู่ MOU ตลาด สปป.ลาว - เกาหลีใต้


ที่ โรงสุราแช่พลไม้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านหม้อ หมู่ 1 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย กำลังนำสับปะรดของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นสินค้าการเกษตรที่ขึ้นชื่อของอำเภอศรีเชียงใหม่ เพราะสับปะรดที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  หรือ GI  เพราะมีเอกลักษณ์ในรสชาติที่หอมหวานฉ่ำ มีพื้นที่ปลูกรวม 1,400 ไร่ เป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้ชาวศรีเชียงใหม่กว่า 80 ครัวเรือน นำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นไวน์สับปะรด "ตำจอก" และสุรากลั่นสับปะรด "ซมเซย" เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรของจังหวัดหนองคาย



นายภูเบศ ใจขาน ผู้ใหญ่บ้านหมัอ หมู่ 1 ต.บ้านหม้อ ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านหม้อ  กล่าวว่า ก่อนที่จะมาแปรรูปสับปะรดก็เป็นชาวสวนทำไร่สับปะรดมาก่อน ตั้งแต่ปี 2555-2559 แต่ประสบปัญหาเรื่องราคาสับปะรตกต่ำ ก็เลยผันตัวเองมาทำเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรด โดยได้องค์ความรู้จากนักวิชาการต่างๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยราชภัฏ  แมักระทั้งอุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด พัฒนาการจังหวัด  และภาครัฐมาให้ความรู้ด้านการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทำขึ้นมาก็คือ "น้ำสับปะรดสกัด 100%" ซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือเป็นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ ได้ขึ้นทะเบียนพานิชย์ในลำดับทึ่ 156 ของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเด่นที่มีรสชาติหอมหวานฉ่ำ เป็นคุณลักษณะเฉพาะถิ่น ถือว่าเป็นจุดแข็งของสับปะรดที่นี่  กระทั้งเมื่อปี 2562 ก็ประสบปัญหาของโรคโควิด-19 ระบาดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการตลาด จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการแปรรูปสับปะรดให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น จากน้ำสับปะรด ก็เป็นสับปะรดอบแห้ง ไวน์สับปะรด"ตำจอก" ท้ายสุดที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิตก็คือ "สุรากลั่นชุมชน" ที่สกัดมาจากสับปะรดหมัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุด ส่วนเศษสับปะรดที่เหลือก็นำไปเป็นอาหารปศุสัตว์ของชาวบ้าน เป็นการคืนสู่ชุมชนที่ไดัเกื้อกูลกัน ซึ่งสามารถจะทำเป็นนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ตามนโยบายของภาครัฐ  ซึ่งเป็นวัตกรรมที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



ผู้ใหญ่ภูเบศ กล่าวอีกว่า ในด้านการตลาดเมื่อก่อนก็ได้อาศัยกับพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชน เกษตรจังหวัด และหน่วยงานภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนในช่องทางการตลาด ด้วยการออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมทั้งไปเปิดตลาดที่เมืองทองธานึ  อีกช่องทางหนึ่งก็คือตลาดออนไลน์  และทำ MOU กับไปรษณีย์ไทย ทำใหัมีสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาด สปป.ลาว ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งประเทศเกาหลีใต้ที่สนใจในเรื่องสุรากลั่นชุมชน ซึ่งจะมาทำ MOU ร่วมกัน ซึ่งได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกันแล้ว ส่วนรายได้ตอนนี้ท่ามองถึงมูลค่าก็ยังนัอยอยู่ ก็ประมาณ 70,000 - 80,000 บาท/เดือน  แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังสูง อย่างเช่นสับปะรดทุกวันนี้ราคาอยู่ทีกิโลกรัมละ 20 บาท ถือว่าเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสามารถลืมตาอ้าปากได้ในปีนี้  และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรในการนำผลผลิตรมาสู่กระบวนการแปรรูป  ซึ่งสามารถแปรรูปสับปะรดได้วันละประมาณ 1 ตันต่อครั้งต่อวัน ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเหลือชาวสวนสับปะรดในพื้นที่อีกด้วย











1 ความคิดเห็น:

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...