วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
จังหวัดหนองคาย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขายผลผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ปีการผลิต 2561/62 ระหว่างผู้ประกอบการโรงสี/สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่จังหวัดหนองคาย
วันนี้ (5 พ.ย. 2561) ที่ห้องประชุมเทวาภิบาล ศลากลางชั้น 4 อ.เมือง จ.หนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขายผลผลิตข้าวปีการผลิต 2561/62 ระหว่างผู้ประกอบการโรงสี/สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ โดยมีนายจิระศักดิ์ ศรีคชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ,นางชลธิชา ลัดดาวัลย์ พาณิชย์จังหวัดหนองคาย,ผู้แทนจากเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคายพร้อม หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าข้าว และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ร่วมในพิธีลงนาม
นางชลธิชา ลัดดาวัลย์ พาณิชย์จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ได้เห็นชอบแผนการผลิตและการค้าข้าวครบวงจร โดยช่วงผลิตกำหนดกิจกรรมสำหรับโครงการนาแปลงใหญ่ให้มีการวางแผนรองรับด้านการตลาดเพื่อให้เกษตรกรสามารถขายข้าวได้ในราคาดีและมีการเชื่อมโยงตลาดระหว่างประธานกลุ่มเกษตรนาแปลงใหญ่กับโรงสีหรือสหกรณ์ในพื้นที่ ให้มีการรับซื้อข้าวในราคาสูงกว่าท้องตลาดประมาณ ตะนล่ะ 200 – 500 บาท ตามแต่คุณภาพและชนิดข้าว
ทั้งนี้จังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขายผลผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ติดต่อกันมาเข้าสู่ปีที่ 3 โดยในปีการผลิต 2561/62 มีโรงสี/สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมการชื้อขายผลผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ดังนี้โรงสี จำนวน 3 ราย สหกรณ์จ จำนวน 1 ราย ประกอบด้วย บริษัทโรงสีไฟชัยธนาสินเจริญ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย,บริษัทโรงสีข้าวศรีรุ่งเรือง พระอาทิตย์ จำกัด อ.ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย,บริษัทโรงสีข้าวบุญสนอง จำกัด อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย,และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. หนองคาย จำกัด อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเกษตรนาแปลงใหญ่ จำนวน 8 กลุ่ม เกษตร จำนวน 200 ราย ปริมาณข้าวรวม 779.80 ตัน แยกเป็นข้าวจ้าว 168.50 ตัน ข่าวเหนียว 611.30 ตัน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต.หินโงม อ.หนองคาย,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต. จุมพล อ.โพนพิสัย,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต.เหล่าต่างคำ อ.โพนพิสัย,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต. กองนาง อ.ท่าบ่อ,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก,กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านสาวแล ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก
เรื่องเล่าตำนานวัด "พระธาตุคำ(ดำ)" ศรีเชียงใหม่
"พระธาตุคำ(ดำ)" มีประวัติย่ออีกตอนหนึ่งเล่าว่า ได้มีเจ้าเมืองเชียงใหม่กับเจ้าเมืองน่าน พร้อมด้วยพระราชธิดา 2 พระองค์ มีนามว่า "พระธิดาสี" กับ "พระธิดาลี" เป็นผู้สร้างพระธาตุดำและพระธาตุขาว พร้อมกับบรรจุพระอรหันตธาตุของพระโมคคัลลานเถระและพระสารีบุตรเถระไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นผู้ปกครองนครวียงจันทน์เขตอาณาจักรล้านช้างในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้คือประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วัดธาตุดำ (คำ) ตั้งอยู่ในบริเวณ วัดธาตุดำ(คำ) "พระธาตุดำ" พระธาตุเจดีย์ลักษณะรูปทรงแบบระฆังคว่ำ ๘ เหลี่ยม ก่อช้อนกันจำนวน ๗ ชั้น ฐานสูง ๘ ชั้นปลายยอดสุดรูปทรงพุ่มดอกบัวตูม ตามหลักฐานวัดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๔ และได้ทำการบูรณะในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้บูรณะซ่อมแซมใหม่ขึ้นอีกครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ และมีพระพุทธรูปใหญ่ที่เก่าแก่มากและได้ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ (โบสถ์) ก่อ สร้างด้วยอิฐถือปูนขาว ทาด้วยสีทองคำอย่างดี มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๓ เมตร ปรางค์นั่งสมาธิ ฯ
วัดธาตุดำ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๔(จุลศักราช ๙๒๓ หรือราว ค.ศ ๑๕๕๑) ที่อ้างอิงจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๑๐ ของกรมการศาสนาประกาศไว้ และตามหนังสือพงศาวดารเดิมของลาวได้กล่าวอ้างอิงเอาไว้เช่นกัน ที่เป็นฉบับภาษาไทยและเรียบ เรียงโดยท่านมหาศิลาวีระพงศ์ พอสังเขปได้ใจความดังนี้.-ว่าในสมัยหนึ่งนั้น ได้มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่ได้ถูกสร้างขึ้นในอาณาเขตบริเวณที่ดินใกล้เคียงกันมีอยู่ ๒ องค์ คือเจดีย์ขาว (เงิน) และเจดีย์คำ(ดำ) และวัดพระธาตุทั้งสององค์นี้ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นผู้ปกครองนครวียงจันทน์เขตอาณาจักรล้านช้างในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้คือประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
หลังจากที่ขึ้นปกครองนครเวียงจันทน์ พร้อมกับการปก ป้องและปราบปรามข้าศึกศรัตรูและกบฏ จนเป็นที่สงบและอยู่ดีกินดีร่มเย็นเป็นสุขของปวงประชาชนทั่วราชทุกเขตแดนแล้วพระองค์ก็ได้ทรงดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธ ศาสนาให้ฝั่งรกรากอยู่ผืนแผ่นดินของตน จึงได้ทรงพระราชทูตไปกราบอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ที่ทรงรักษาพระศาสนาจากทางกรุงศรีอยุธยาของประเทศไทย เพื่อให้ท่านได้นำพระธรรมคำสอนทางพระ พุทธศาสนามาเผยแพร่ที่เมืองหลวงพระบางตลอดถึงนครเวียงจันทน์ และยังได้อัญเชิญเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ จากประเทศศรีลังกาและพม่า นำมาประดิษฐานบรรจุไว้ตามพระธาตุเจดีย์วัดต่าง ๆ ให้เป็นสักการะเคารพกราบไหว้ของชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐานี้ พระพุทธ ศาสนาในประเทศลาวมีความเจริญรุ่งเรืองกว้างขวางมากๆ ทั้งในตัวเมืองหลวงและตามหัวเมืองต่างๆ เต็มไปด้วยวัดวาอารามและพระธาตุเจดีย์ที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ที่ได้จัดประดับตกแต่งไว้วิจิตรพิสดารสวยงามมากๆนอกจากการเสริมสร้างสถานที่ราชการและวัดวาอารามต่างๆแล้วพระองค์ยังมีพระราชศรัทธาได้สร้างหรือทรงโปรดให้ช่างผู้ชำนาญหล่อด้วยโลหะหรือปั้นพระพุทธรูปปรางค์ต่างๆ ที่สำคัญขึ้นอีกเป็นจำนวนมากหลายองค์ เช่นพระเจ้าองค์ตื้อ,พระสุก,พระเสริม,และพระใส เป็นต้น
ในสมัยนั้นตามนานกล่าวไว้ว่า ในเขตปกครองทั่วประเทศ มีวัดที่ทรงร่วมและเป็นประธานนำก่อสร้างไว้จำนวนถึง ๑๒๐ วัดหนึ่งในจำนวนที่กล่าวไว้นั้น ก็มีวัดพระธาตุดำแห่งนี้รวมอยู่ด้วย แต่เดิมเรียก ชื่อว่าพระธาตุคำ เพราะในองค์เจดียาตุนั้น นอกจากจะได้บรรจุพระอรหันตธาตุแล้ว ยังได้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ ล้วนได้ทำขึ้นจากโลหะทองคำ,ทองเหลืองบ้างหรือทองผสมบ้างตามที่ผู้มีศรัทธาได้ร่วมบริจาคสมทบถวายมา เช่นต้นโพธิ์ทอง ผอบทองคำที่ใช้ใส่บรรจุพระอรหันตธาตุและอื่นๆ อีกมากมายฯ ครั้นต่อมาเมื่อหลายปีพร้อมความเก่าแก่และมีซากวัชพืชปกคุมหรือตะไคร่จับเต็มไปหมดสีอาจจะเปลี่ยนไปนานเข้าก็เลยมองดูเป็นสีดำ เมื่อมองดูเป็นสีดำ ชาวบ้านก็เลยเรียกตามที่เห็นว่า พระธาตุดำ จนเป็นที่รู้จักกันมา ถึงทุกวันนี้ นับว่าพระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถ และทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกลที่ได้ทรงสร้างมหากุศลและพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติและพระศาสนา ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้พบเห็นเป็นประจักษ์ตราบเท่าจน ถึงปัจจุบันนี้ จนมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมโทรมผุพังไปตามอายุและกาลเวลา ต่อมาได้มีการบูรณะบำรุงซ่อมแซมรักษาต่อเติมขึ้นมาใหม่อีก เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๐ โดยมีท่านเจ้ากรมพระยาศักดิ์พลเสน ซึ่งได้ยกพลมาปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ และตั้งค่ายทัพหลวงอยู่ด้านหลังวัดพระธาตุดำ
ปัจจุบันนี้ กลายเป็นที่ราชพัสดุหรือค่ายหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔๕ เขตของจังหวัดหนองคาย และพระอุโบสถหลังเก่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอีก เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๑๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร และต่อมาได้เกิดชำรุดทรุดโทรมผุพังไปตามกาลเวลาที่มีอายุเก่าแก่มากจนไม่สามารถจะใช้ประกอบศาสนกิจของสงฆ์ได้ต่อไป เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ทางคณะสงฆ์ซึ่งมี พระอธิ การสุพจน์ อธิปฺญโญ ผู้เป็นเจ้าอาวาสและคณะกรรมการชาว บ้านศรีเชียงใหม่ หมู่ที่ ๑ จึงได้พร้อมใจกันทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่และขยายให้ใหญ่กว่าหลังเดิม และอยู่บริเวณที่เดิม ซึ่งได้อาศัยแรงศรัทธาจากหน่วยราชการต่าง ๆ บ้างและสาธุชนชาวอำเภอศรีเชียงใหม่และตลอดจนสาธุชนผู้ใจบุญทั้ง หลายที่อยู่ใกล้ไกลและต่างจังหวัดด้วย ให้ความอุปถัมภ์ร่วมบริจาคทำกันตามกำลังศรัทธา
จนเมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๓๙ ท่านเจ้าอาวาสได้ถึงแก่มรณภาพไป จึงเป็นเหตุให้ขาดผู้ดูแลรักษาและพิจารณาดำเนินการก่อสร้างอุโบสถที่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะพึ่งก่อสร้างได้เพียง เจ็ดสิบเปอร์เซนต์เท่านั้นจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการจัดแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่แทนรูปเดิม จึงผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมาใหม่มีนามว่า พระครูประภากรกิตติคุณ (สุวรรณ ปภากโร) เพื่อให้ท่านได้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอุโบสถที่ยังไม่เสร็จให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ดีจนสามารถใช้ปฏิบัติงานและประกอบศาสนกิจสังฆกรรมของสงฆ์ได้ดีามปกติ รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นรวมประมาณ ๗,๓๗๕.๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านสามแสนเจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ต่อมาจึงมีมติเห็นสมควรให้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาฉบับใหม่เพื่อเก็บไว้เป็นเอกสารหลักฐานสำคัญต่อไป และได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ให้วัดธาตุดำ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ที่ประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้รับสนองพระราชโองการ คือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม.
วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
จังหวัดหนองคาย เชิญผ้าพระกฐินพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทอดถวาย ทอดถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง
วันนี้ (4 พ.ย. 2561) ที่ พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองหนองคาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐิน ให้นายกิตติพงษ์ บุญญาพัฒนาพงศ์ พร้อมครอบครัว ทอดถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวงโดยมีพระธรรมมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8, พระราชรัตนาลงกรณ์ เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย และคณะสงฆ์จังหวัดหนองคาย ,มีนายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ,นายจิระศักิด์ ศรีคชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย หัวหน้าส่วนราชการ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนชาวหนองคายเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้
สำหรับผ้ากฐินพระราชทานเป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจาก วัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (16 วัดดังที่กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัวโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาในการทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐินนั้น คือการถวายผ้ากฐินให้แก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่ง หรือ ผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด โดยจะวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทานคือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะ1 เดือน หลังวันออกพรรษา
ในการทอดถวายผ้าพระกฐินในครั้งนี้คณะสงฆ์วัดโพธิ์ชัยมีฉันทามติให้ พระธรรมมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8 เป็นพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมทีจะได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานด้วยประการทั้งปวง ยอดจตุปัจจัยของกระฐินพระราชทานในครั้งนี้มี จำนวน 3,851,490 บาท
พาณิชย์จังหวัดหนองคาย จัดกิจกรรมเสวนา"อดีตสู่อนาคต ตลาดประชารัฐต้องชม" ประชาสัมพันธ์ตลาดประชารัฐต้องชม แห่งที่ 1 ของหวัดหนองคาย
วันที่ 3 พ.ย. 2561 ที่ตลาดประชารัฐต้องชม บริเวณตลาดแคมของถนนคนเดินหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหนองคาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมเสวนา "อดีตสู่อนาคต ตลาดประชารัฐต้องชม" โดย มีนายวีระชัยโชค มงคลภูมิรัตน์ รองนายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย นางกรณี ถนอมกุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด นายเวียน ธรรมสร รักษาราชการเกษตรจังหวัดหนองคาย นางปุญญวีย์ หินคล้าย ผู้ประกอบการตลาดประชาต้องชม ร่วมในการเสวนา ครั้งนี้
สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ตลาดประชารัฐแห่งที่ 1 ของจังหวัดหนองคาย (ตลาดประชารัฐต้องชม ตลาดแคมของหนองคาย) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านอัตลักษณ์ชุมชน เอกลักษณ์พาณิชย์ ของตลาดประชารัฐต้องชมจังหวัดหนองคาย ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดเพิ่มขึ้น
ตลาดแคมของหนองคายหรือ ถนนคนเดินเมืองหนองคาย เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 16:00-22:00 น. ตั้งแต่ท่าเทียบเรือหายโศกเลียบแม่น้ำโขงไปจนถึงตลาดท่าเสด็จ เป็น ศูนย์รวมจุดนัดพบ ยามค่ำคืนของชาวหนองคาย สถานที่น่าเดิน ชมเพลินๆ เดินรับลมเย็นๆริมฝั่งโขง มีสินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าจากเกษตรกร สินค้าที่มีเอกลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดหนองคาย มีกิจกรรมต่างๆมากมายภายในบริเวณตลาด มีเวทีการแสดงศิลปะวัฒนนธรรม การแสดงของน้องๆ นักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงการแสดงจากผู้สูงอายุจากโรงเรียนชราบาล นอกจากนั้น ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัวได้ซื้ออาหารมารับประทานร่วมกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ
สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...
-
พ่อเมืองศรีเชียงใหม่ สั่งชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด สนธิกำลังชุดสืบสวน สภ.ศรีเชียงใหม่ ออกกวดล้างขบวนการค้ายาเสพติด จับกุมผู้ค้า ผู้เสพได...
-
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับจังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ...
-
ลุยปราบต่อเนื่อง! นอภ.ศรีเชียงใหม่ สั่งชุดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปราบยาเสพติด สนธิกำลังชุดสืบสวน สภ ศรีเชียงใหม่ เดินหน้ากวาดล้างยาเสพติด...