วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
"ครูแดงบ้านศิลป์ไทย" ให้การต้อนรับนายก อบต.บางเสาธงและคณะ ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานด้านเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งศิลป๋ครูแดง อ ท่าบ่อ จ.หนองคาย
วันที่ 11 พ.ค. 62 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกกิจพอเพียง บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง หมู่ 3 บ้านทุ่ม ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายเฉลิมศักดิ์ ธรรมเรืองฤทธิ์ หรือครูแดงบ้านศิลป์ไทย ประธานชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย จังหวัดหนองคาย ได้ให้การต้อนรับ นายเกษม แซ่ลี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมคณะผู้บริหารและบุคลากร จำนวน 43 คน ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานด้านเกษตรผสมผสานตามทางเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง เพื่อให้บุคคลกรในหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ "เกษตรทฤษฎีใหม่" ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้เกิดผลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โดยครูแดงบ้านศิลป์ไทย ได้นำคณะเดินชมบริเวณรอบๆบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง บนเนื้อที่ 19 ไร่เศษ ภายในพื้นที่ได้ดำเนินการทำเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ โดยได้แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10 ได้แก่ พืชสวนพืชไร่ 30% นาข้าว 30% แหล่งน้ำ 30 % และที่อยู่อาศัย 10% ควบคู่กับการสอนศิลปะให้กับเด็กและเยาวชน โดยปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยนำเด็กและเยาวชนสัมผัสประสบการณ์วิถีชีวิตพอเพียงจากกิจกรรมค่ายต่างๆ อาทิเช่น ค่ายศิลปะการดำนา, ค่ายศิลปะการเกี่ยวข้าว เป็นต้น และบ้านทุ่งศิลป์ครูแดงยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน อีกด้วย
วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
หนองคาย - แม่ค่าขายของหวานชาว อ.ศรีเชียงใหม่ นำเครือหมาน้อย พืชสมุนไพรพื้นบ้าน มาทำเป็นวุ้นหมาน้อยใส่น้ำหวานขาย สร้างรายได้วันละ 800 - 1,000 บาท
นางบุษบง สิทธิชัย อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 บ้านหัวทราย หมู่ 12 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้นำเครือหมาน้อย หรือในท้องถิ่นจะเรียกว่า "หมอน้อย" ที่มีลําต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนปกคลุมทั่วไป เกาะเลื้อยพันต้นไม้อื่นๆ มีรากสะสมอาหารใต้ดิน ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ สีเขียว มาทำเป็นของหวาน
โดยมีวิธีการทำก็คือ นำใบหมาน้อย(หมอน้อย) ที่เป็นใบแก่แล้ว ล้างให้สะอาด ผสมกับใบเตย ประมาณ 3-4 ใบ, ใบย่านาง ประมาณ 10 ใบ และน้ำสะอาด เริ่มจากขยี้ใบหมอน้อยเหลือแต่เส้นใบ (ทําคล้ายๆ ขยี้ใบย่านางใส่แกงหน่อไม้) ขยี้จนหมดให้เหลือแต่เส้นใบ และนำใบย่านาง มาล้างทําความสะอาด แล้วขยี้จนเหลือแต่ก้านใบ นํามาผสมกับน้ำใบหมอน้อย แล้วนําไปกรองใสภาชนะที่เตรียมไว้ เอาก้านออกจากน้ำใบหมอน้อยให้หมด ให้เหลือแต่น้ำ ปล่อยทิ้งไว้สักพัก น้ำหมอน้อยที่ขยี้ไวจะเริ่มจับตัวเป็นเจลลี่ แล้วจับตัวแข็งขึ้นเป็นก้อนวุ้น จากนั้นก็นำไปขาย
นางบุษบง กล่าวว่า เดิมทีตนเป็นแม่ค้าขายของหวานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรวมมิตร น้ำหวาน เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำรากบัว น้ำใบบัวบก และน้ำเก๊กฮวย การทำหวานจากเครือหมอน้อยน้อยนั้น ตนเองเห็นว่าไม่ค่อยมีใครทำ ส่วนใหญ่เขาจะทำเป็นลาบหมาน้อยกินกัน ก็เลยลองมาทำเป็นของหวานดู โดยจะนำใบหมอน้อยขยี่ผสมผสมกับน้ำใบเตย น้ำใบย่านาง รอจนเป็นวุ้น หลังจากนั้นก็นำไปขายอยู่ที่หน้าวัดหาดทรายขาวในหมู่บ้าน โดยจะใช้ช้อนตักวุ้นหมอน้อย ผสมกับน้ำกะทิและน้ำตาลเชื่อม ใส่น้ำแข็งเล็กน้อย แค่นี้ก็กลายเป็นของหวานแล้ว ซึ่งจะขายให้กับชาวบ้านในราคาถุงละ 10 บาท หรือใครอยากนั่งกินที่ร้านก็มีถ้วยใส่ให้ ขาย 10 บาทเช่นกัน บางคนก็สั่งหมอน้อยรวมมิตร ซึ่งก็เหมือนหวานรวมมิตรทั่วไป บางคนก็กินเฉพาะหมอน้อยอย่างเดียว ไม่ใส่กะทิและน้ำตาลเชื่อม คนในพื้นที่นิยมกินมาก เนื่องจากหมอน้อยเป็นสมุนไพร มีฤทธิ์เย็น เป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษร้อน ถอนพึไข่ ซึ่งก็ทำขายมานานกว่า 10 ปีแล้ว มีคนรู้จักกันทั่ว ทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง สามารถสร้างรายได้ให้ตนและครอบครัววันละ 800-1,000 บาทเลยทีเดียว
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ผู้ว่าราชจังหวัดหนองคาย ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดหนองคาย จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562
วันที่ 7 พ.ค. 62 เวลา 17.00 น. ที่วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.หนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ประธานฝ่ายฆราวาส พร้อม หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดหนองคาย และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดหนองคาย เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยมีพระราชรัตนาลงกรณ์ เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง)เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
สำหรับการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในครั้งนี้จัดขึ้นตามมติของมหาเถรสมาคม ที่จัดพิธีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ในส่วนของจังหวัดหนองคาย ได้จัดพิธีในครั้งนี้ขึ้น ประกอบด้วยพิธีถวายราชสักการะ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมทั้งการตั้งจิตภาวนาถวายแด่พระองค์ อีกด้วย
หนองคาย - ชาวบ้านในอำเภอท่าบ่อ ร่วมสืบสานประเพณีเซ่นไหว้ปู่ตาเจ้าบ้าน ตามประเพณีฮีต 12 คลอง 14 ที่สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี
วันที่ 8 พ.ค. 62 ที่ศาลปู่ตา บ้านท่าบ่อ หมู่ 9 ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ชาวบ้านพร้อมใจกันทำพิธีเลี้ยงปู่ตาเจ้าบ้าน สิ่งศักดิ์สิทธิของหมู่บ้าน เพื่อสืบสานประเพณีโบราณเนื่องจากชาวบ้านมีความเชื่อกันว่าในสมัยโบราณ ว่า การเลี้ยงปู่ตาเจ้าบ้าน จะคอยปกป้องคุ้มครองชาวบ้านและชุมชนให้เกิดความสงบสุข อีกยังขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลก่อนฤดูทำนา มีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี
โดยชาวบ้านแห่งนี้ มีประเพณีการเซ่นไหว้ปู่ตาเจ้าบ้าน ในเดือนหกของทุกๆปี ซึ่งจะนำเอา เครื่องเลี้ยง ประกอบด้วยขัน 5 มีเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ และขัน 8 มีเทียน 8 คู่ ดอกไม้ 8 คู่ อาหารคาวหวาน ผลไม้ที่หาได้ตามท้องถิ่น ขนม น้ำ เหล้า หมากพลู บุหรี่ ไปที่ศาล เพื่อนำเซ่นไหว้ปู่ตา โดยเมื่อถึงเวลาเซ่นไหว้จะทำการรั่นฆ้อง เพื่อบอกว่าถึงเวลาจัดทำพิธีบวงสรวงแล้ว หลังจากนั้นร่างทรง หรือที่เรียกว่านางเทียม จะนุ่งขาว ห่มขาว นำชาวบ้านถือเครื่องทรง หอก ง้าว ที่เป็นสมบัติของปู่ตา และบั้งไฟเสี่ยงแห่รอบศาลปู่ตา 3 รอบ จากนั้นก็จะเริ่มถวายอาหารหวาน เช่น ผลไม้ ขนมและน้ำหวาน รอจนเทียนดับถึงจะนำอาหารคาวถวาย เช่น ไก่ต้ม ไข่ต้ม เหล้า เครื่องดื่มชูกำลัง พร้อมกับนำเครื่องเซ่นไหว้ไปถวายพระแม่คงคาที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยจะมีการฟ้อนรำไปตามจังหวะดนตรีอีสานต่อพระแม่คงคา เพื่อแสดงความเคารพ นับถือ และการขอขมา หลังจากนั้นก็จะทำการจุดบั้งไฟเสี่ยง โดยมีความเชื่อว่า เป็นการบูชาพญาแถนขอให้ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล และเพื่อขอให้ปู่ตาช่วยปกปักรักษาลูกหลานในชุมชนให้อยู่ดีมีสุข และให้ปู่ตาช่วยดูแลรักษาชาวบ้านไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน หลังเสร็จสิ้นพิธี ชาวบ้านได้นำอาหารที่เหลือ กลับไปกินที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
สำหรับพิธีกรรมเลี้ยงปู่ตาเจ้าบ้าน เป็นการสืบสานตามประเพณีฮีต 12 คลอง 14 ของท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการแสดงความรัก ความกตัญญู และความผูกพันของชาวบ้านต่อบรรพบุรุษที่เสียชีวิต ล่วงลับไปแล้ว และยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความสามัคคี ซึ่งนำมาสู่ความมั่นคงของชุมชน เพื่อต้องการให้คนในชุมชน อยู่กันอย่างมีความสุขตามความเชื่อของชาวบ้าน โดยประเพณีเลี้ยงปู่ตาเจ้าบ้าน เป็นประเพณีที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ
สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...
-
พ่อเมืองศรีเชียงใหม่ สั่งชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด สนธิกำลังชุดสืบสวน สภ.ศรีเชียงใหม่ ออกกวดล้างขบวนการค้ายาเสพติด จับกุมผู้ค้า ผู้เสพได...
-
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับจังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ...
-
ลุยปราบต่อเนื่อง! นอภ.ศรีเชียงใหม่ สั่งชุดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปราบยาเสพติด สนธิกำลังชุดสืบสวน สภ ศรีเชียงใหม่ เดินหน้ากวาดล้างยาเสพติด...