วันที่ 12 มี.ค. 63 เวลา 10.00 น. ที่ ห้องประชุมที่ทำการปกครอง (ทปค.)
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายเจริญจิต สืบสาววงศ์ นายอำเภอเฝ้าไร่
รักษาราชการแทนปลัดจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้ นายเดชมนตรี ผิวเหลือง ปลัดอาวุโส
รักษาราชการแทนนายอำเภอศรีเชียงใหม่ ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอศรีเชียงใหม่
โดยมี พ.อ.จักรพงษ์ โพธิ์นาแค รองเสนาธิการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี, ตำรวจ
สภ.ศรีเชียงใหม่, หน่วยงานความมั่นคง, ทหารชุดพัฒนามวลชนสัมพันธ์ที่
1208, สถานีตำรวจน้ำศรีเชียงใหม่ กองกำกับการ 11, หน่วยเฉพาะกิจกองร้อย ตชด. 246, สาธารณสุขอำเภอศรีเชียงใหม่,
โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ และสถานีเรือศรีเชียงใหม่ นรข.เขตหนองคาย
ในการประชุมการขับเคลื่อนศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่
อำเภอท่าบ่อ และอำเภอเมืองหนองคาย
จากนั้นช่วงบ่าย พ.อ.จักรพงษ์ โพธิ์นาแค
รองเสนาธิการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอท่าบ่อ โดยมี
นายธรรมพล ไชยนาม ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงอำเภอท่าบ่อ
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายยุทธการและการข่าว กกล.สุรศักดิ์มนตรี, ทหารชุด ชพส. ที่ 1209, ชุด ชปข ที่ 2, ตำรวจ สภ.ท่าบ่อ, สาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ,
ฉก.ตชด.24, กองร้อย ฉก.ตชด.245, หมวด ฉก.245 , สถานีเรือศรีเชียงใหม่ นรข.เขตหนองคาย,
สถานีตำรวจน้ำศรีเชียงใหม่, โรงเรียนท่าบ่อ
และกำนันประจำตำบล
ร่วมประชุมการขับเคลื่อนศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่
อำเภอท่าบ่อ และอำเภอเมืองหนองคาย ณ ห้องประชุม ทปค.อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
ทั้งนี้
จังหวัดหนองคายได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
และมีการจัดทำแนวทางการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ปี 2563
เพื่อให้การแก้ปัญหายาเสพติดเกิดความต่อเนื่องและสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบยั่งยืน
โดยลดความรุนแรงและผลกระทบของปัญหายาเสพติดที่มีต่อบุคคล ชุมชน และสังคม
แก้ไขปัญหายาเสพติดเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ยึดคนเป็นศูนย์กลาง
สร้างความรู้ และภูมิคุ้มกันให้เกิดกับบุคคล ชุมชน สังคม
ให้มีความเข้มแข็งสามารถป้องกันยาเสพติดได้แม้ในท่ามกลางยาเสพติดที่ยังคงมีอยู่ในตลาดการค้าและการเสพ
ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานโดยทุกหน่วยงานจะต้องคำนึงถึงการปฏิบัติที่มุ่งหวังผลสัมฤทธิ์
และส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดยาเสพติตอย่างจริงจัง เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตั้งแต่นอกประเทศ จนถึงหมู่บ้าน/ชุมชนภายในอำเภอ จังหวัด
เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 5 มาตรการ คือ
มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ มาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย
มาตรการป้องกันยาเสพติด มาตรการบำบัดรักษายาเสพติด และมาตรการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
โดยมีกลไกขับเคลื่อน ดังนี้ 1. ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.)
เป็นกลไกในการอำนวยการ กำกับ
ติดตามและบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ และ 2. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ (ศป.ปส.อ.) เป็นกลไกในการประสานการปฏิบัติร่วมกับส่วนราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้าน/ชุมชน และภาคประชาชนในพื้นที่
ในการสกัดกั้นปัญหายาเสพติด
สำหรับการประชุมร่วมในครั้งนี้
ได้เน้นย้ำในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในทุกมิติ เน้นการป้องกันและแก้ไขกลุ่มเสี่ยงสูง(อายุ
15-24 ปี) เนื่องจากเป็นกลุ่มปฐมวัย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคต
และมุ่งสร้าง "พื้นที่ปลอดภัย" ในหมู่บ้าน ชุมชน สถานศึกษา
สถานประกอบการ เพื่อปกป้องประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด โดย
ศป.ปส.อ. บูรณาการมาตรการป้องกันยาเสพติดและมาตรการบำบัดรักษายาเสพติดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
รวมถึงขอความร่วมมือหน่วยงานด้านป้องกันและปราบปรามในการเพิ่มความเข้มข้น ด้านการจัดระเบียบ
ตรวจสอบสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการในพื้นที่ต่างๆ และแนวตามชายแดน
เพื่อเฝ้าระวังควบคุมและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน
สถานบริการ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงและผลกระทบของปัญหายาเสพติด ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนและสังคม
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น