วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี และคณะลงพื้นที่เยี่ยม ชรบ.ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เพื่อให้กำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่เสมือนแนวป้องกันชายแดน พร้อมเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง

วันที่ 1 ก.พ.64 ที่ศาลาประชาคมหมู่ 11 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พล.ต.บุญสิน พาดกลาง ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี) พร้อมด้วย พันเอกประพาส  อ้อชัยภูมิ เสนาธิการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี, พันเอกมงคล หอทอง ผู้บังคับการกองบังคับการควบคุมที่ 2 กกล.สุรศักดิ์มนตรี และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ โดยมีนางถนอม สมศรี กำนันตำบลกองนาง นำผู้ใหญ่บ้าน และ ชรบ.ให้การต้อนรับ พร้อมรายงานผลปฎิบัติงานของ ชรบ.ต.กองนาง ในห่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้บูรณาการร่วมหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นหมวด คทร.ที่ 2 บก.ควบคุมที่ 2 กกล.สุรศักดิ์มนตรี, นรข.เขตหนองคาย, ฉก.ตชด.24 กกล.สุรศักดิ์มนตรี และกองร้อย อส.ที่ 6 อ.ท่าบ่อ ในการสอดส่องดูแลการกระทำผิดกฎหมายตามแนวชานแดน จนสามารถยึดยาเสพติดที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านได้หลายรายการ




พล.ต.บุญสิน พาดกลาง ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ ชรบ.และกำลังพลในทุกระดับที่ได้ออกปฏิบัติงานตามแนวชายแดน ซึ่ง ชรบ.ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่หน่วยงานหลักในการป้องกันชายแดน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวชายแดน การแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ เช่น ปัญหาการลักลอบยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่ และปัญหาคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองเป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ขอให้ ชรบ.ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองได้

จากนั้น ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี และคณะได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน เพื่อมอบสิ่งของอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จำนวน 9 ราย เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป










วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

พิษโควิด! ทำเกษตรกรผู้ปลูกมันแกวริมฝั่งแม่น้ำโขง รวมถึงพ่อค้าแม่ค้ารายได้หายไปกว่าครึ่ง

ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบ้านหัวทราย หมู่ 12 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกษตรกรยึดอาชีพปลูกมันแกว หรือมันเพาในช่วงฤดูแล้งหลังน้ำโขงลดประมาณปีละ 50 ไร่ มีผลผลิตส่งออกขายปีละกว่า 200 ตัน คิดเป็นมูลค่าเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท ซึ่งจากผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมันแกวริมฝั่งแม่น้ำโขงต่อการจำหน่ายผลผลิต โดยก่อนปีใหม่ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 เกษตรกรจะขายได้ในราคา 12 บาท/กิโลกรัม พอหลังจากปีใหม่ในช่วงวันที่ 10 มกราคม 2564 เกษตรกรต้องลดราคาจำหน่ายอยู่ที่ 10 บาท/กิโลกรัม และ 8 บาท/กิโลกรัม อีกทั้งเมล็ดพันธุ์มันแกวปีนี้ก็ราคาแพง อยู่ที่ 12 กิโลกรัม/3,700 บาท ซึ่งปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 12 กิโลกรัม/2,500-2,800 บาท ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่ยอดขายลดอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปยังพ่อค้า แม่ค้า รายได้หลักหาย



นายไกรทอง มาลาหอม พ่อค้าขายมันแกวอยู่ริมถนนหลวงหมายเลข 211 เส้นอ.ศรีเชียงใหม่ -อ.ท่าบ่อ กล่าวว่า สถานการณ์โควิดปีนี้ส่งผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากประชาชนไม่มีกำลังซื้อ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดหนองคายลดลง ปรกติในช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาจะขายดีมาก โดยจะขายกิโลกรัมละ 20 บาท หรือ 5 กิโลกรัม/100 บาท พอเข้าสู่เดือนมกราคมปีนี้ต้องยอมลดราคาขายอยู่ที่ 15 บาท/กิโลกรัม หรือ 7 กิโลกรัม/100 บาท ซึ่งแต่ละปีจะขายได้ประมาณ 30,000-40,000 บาท พอมาปีนี้รายได้ลดเกินครึ่ง






"เครื่องแรกของประเทศ" รพร.ท่าบ่อ ก้าวไปอีกขั้น กับการรักษานิ่วในไตด้วยการส่องกล้องเท่ารูเข็ม Mini PCNL (Percutaneous Nephrolithotomy)

นพ.อภิชัย ทองดอนบม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ เปิดเผยว่า PCNL เป็นการรักษานิ่วในไตแบบใหม่ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เจาะผ่านทะลุผิวหนังเป็นรูเล็กๆเท่ารูเข็มเข้าไปที่ไต แล้วใช้กล้องส่องตามเข้าไปหานิ่วจนพบก้อนนิ่ว จากนั้นจึงใช้เครื่องเลเซอร์ยิงนิ่วให้แตกออกเป็นผุยผง คนที่เป็นนิ่วจะเป็นแล้วเป็นอีกตลอดชีวิต ทำให้ต้องผ่าตัดแล้ว ผ่าตัดอีกหลายๆครั้ง หรือนิ่วมีจำนวนมากและขนาดใหญ่มากเกินไป จนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการสลายนิ่วได้ จึงทำให้บางท่านรู้สึกท้อแท้กับการรักษา แต่สำหรับปัจจุบันความรู้สึกเหล่านี้จะหมดไป เพราะเทคโนโลยีพัฒนาก้าวล้ำไปทำให้การรักษานิ่วในไตทำได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดก็ได้



"สำหรับเดสที่จะทำ PCNLได้ ต้องพิจารณาหลายอย่างและอยู่ในดุลพินิจของแพทย์" นพ.อภิชัย ทองดอนบม กล่าว


วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

ฝ่ายปกครองอำเภอศรีเชียงใหม่ สาธารณสุข เทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ลงตรวจตลาดนัด ตามประกาศคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ที่ 2/2564 (ตลาดนัด) ในสถานการณ์โควิด-19

วันที่ 27 ม.ค. 64 ที่ตลาดนัดคลองถม ในเขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายจรัล กลางประดิษฐ ปลัดอาวุโส รักษาราชการแทนนายอำเภอศรีเชียงใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอศรีเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงตรวจตลาดนัดฯ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ที่ 2/2564 เรื่อง กำหนดมาตรการสำคัญเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ในจังหวัดหนองคาย ที่อนุญาตให้เปิดบริการหรือทำกิจกรรมได้ โดยให้เจ้าของ ผู้จัดการสถานที่ หรือผู้จัดกิจกรรม มีหน้าที่รับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้และจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด 




ซึ่งจากการลงตรวจตลาดนัดฯครั้งนี้ ทางผู้จัดการตลาดฯได้ให้ความร่วมมือเป็นย่างดี โดยกำหนดเส้นทางการเดินภายในตลาดเป็นทางเดียวกันเพื่อความสะดวกให้ผู้ซื้อการจัดการสถานที่ให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมได้มีการกำหนดทางเข้าและทางออกของตลาดอย่างชัดเจน พร้อมตั้งจุดคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกายพร้อมเจลแอลกอฮอล์หรืออ่างล้างมือ เพื่อทำความสะอาดก่อนเข้าตลาด การเว้นระยะห่างละหว่างบุคคล และการลงทะเบียนเข้าไปในสถานที่ด้วยแอพลิเคชั่นไทยชนะ รวมทั้งจัดทำป้ายบอกทางเข้าและทางออกชัดเจน พร้อมมีเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องดูแลในจุดที่ห้ามเข้าและออก การกำกับดูแลผู้จำหน่ายอาหารและสินค้าในตลาด และยังได้คัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้จำหน่ายอาหารและสินค้าก่อนเข้าตลาดอีกด้วย ทั้งนี้ตลาดนัดดังกล่าว ได้ทำการเปิดขายทุกวันพุธและวันอาทิตย์ในแต่ละสัปดาห์ ของทุกเดือน














เกษตรกรชาวตำบลบ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ดีใจ ปีนี้ปลูกพริกซุปเปอร์ฮอตขายส่งสร้างรายได้ดี สามารถพลิกผันชีวิตให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

นางสาวคำภาว คำจันทร์ อายุ 54 ปี เกษตรกรในพื้นที่ หมู่ 5 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย พร้อมกับเพื่อนบ้านกำลังช่วยกันเก็บผลผลิตพริกพันธ์ซุปเปอร์ฮอต ภายในบริเวณสวนของตนเอง ที่ได้ทำการปลูกไว้ในพื้นที่หมู่ 6 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ประมาณ 1 ไร่ และสามารถที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วในช่วงนี้ โดยได้ปลูกพริกพันธ์ซุปเปอร์ฮอตมาเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา





นางสาวคำภาว กล่าวว่า ตนได้ปลูกพริกซุปเปอร์ฮอต ดังกล่าวจำนวนทั้งหมดประมาณ 1,000 ต้น ซึ่งขณะนี้สามารถให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงนี้ โดยแต่ละต้นจะให้ผลผลิตและสามารถเก็บได้ไปจนถึงเดือนเมษายน และตอนนี้จะทยอยเก็บไปซึ่งจะเก็บอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ในส่วนของตลาดนั้นจะมีคนมารับซื้อถึงในสวนในราคากิโลกรัมละ 130 บาท ซึ่งตนรู้สึกดีใจมาก เพราะขายได้ราคา เทียบกับปีที่ผ่านมาพริกที่ปลูกไว้ขายไม่ได้ เนื่องจากติดโควิด ขายออกไม่ได้ จึงต้องเก็บตากแดดให้เป็นพริกแห้งไว้ แต่ก็มีพ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 100 บาท แต่ปีนี้พริกสดมีราคาดีขึ้นหลายเท่าตัว ที่แต่ละปีจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 18 - 20 บาท สูงสุด 60 บาท แต่ปีนี้ขายได้ราคากิโลกรัมละ 130 บาท ถึงแม้จะติดโควิดเหมือนกัน เพราะเนื่องจากพริกจากประเทศเพื่อนบ้านไม่สามารถส่งข้ามมาได้ จึงต้องซื้อของภายในประเทศ อีกอย่างหนึ่งที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพริกจำนวนมากเกิดน้ำท่วมไม่สามารถปลูกพริกได้ จึงทำให้พริกในพื้นที่มีราคาดีขึ้น ตนรู้สึกดีใจมาก ปีที่ผ่านมาเป็นหนี้ ปีนี้สามารถปลดหนี้ได้ ทำให้เกษตรกรยิ้มออก หลังหมดฤดูปลูกพริก ตนก็จะปลูกข้าวโพดหวานส่งขายโรงงาน และมะเขือเทศต่อ สามารถสร้างรายได้ให้กับตนกว่า 1  แสนบาท









จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...