วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

บริษัท ปตท. มอบความช่วยเหลือสู้โควิด-19 ระลอก 3 สนับสนุนเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.หนองคาย เพื่อบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน

วันที่ 19 พ.ค. 2564 ที่ หน้าอาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย จ.หนองคาย เขต 1 นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์, เขต2 น.ส.ชนก จันทาทอง, เขต.3 นายเอกธนัช อินทร์รอด และนพ.ชัชวาลย์ ฤทธิ์ฐิติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย, นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ, นพ.วัฒนา พารีศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ได้ร่วมรับมอบเครื่องช่วยหายใจ จำนวน 1 เครื่อง เครื่องให้ออกซิเจนความแรงสูง จำนวน 2 เครื่อง และออกซิเจนเหลว มูลค่า 50,000 บาท จาก คุณสำเภา เนื่องคำ ผู้จัดการส่วนระบบท่อส่งก๊าซ เขต.4 จ.ขอนแก่น ตัวแทนจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)


เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรตโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้โรงพยาบาลในจังหวัดหนองคาย ต้องใช้วัสดุและเครื่องมือแพทย์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ด้วยความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์และสุขภาพความเป็นอยู่ของประชาชใน จ,หนองคาย ทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน ) ได้มอบความช่วยเหลือ โดยการสนับสนุนเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ ให้กับ 4 โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.หนองคาย , รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ , รพ.โพนพิสัย และ รพ.เฝ้าไร่








วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นายอำเภอท่าบ่อท่าบ่อ เทศบาลตำบลบ้านถ่อน และส.ส.พรรคเพื่อไทย เร่งช่วยผู้ประสบวาตภัยในตำบลบ้านถ่อน อ.ท่าบ่อ หลังพายุฤดูร้อนพัดถล่มบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 46 หลัง

วันที่ 18 พ.ค. 64 นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ พร้อมนายภูมิพัฒน์ ทยาน ปลัดอำเภองานป้องกัน, นายปราโมทย์ สุทธากรณ์ ปลัดเทศบาลตำบลบ้านถ่อน, คณะกรรมการกิ่งกาชาด อำเภอท่าบ่อ, เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบ้านถ่อน, เจ้าหน้าที่กองร้อย อส.อำเภอท่าบ่อ และผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน ลงพื้นออกทำการสำรวจความเสียหายบ้านเรือนของประชาชนในตำบลบ้านถ่อน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนพัดถล่มเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจากลมกระโชกแรง 4 หมู่บ้าน ประมาณ 46 หลังคาเรือน  มีบ้านเรือนเสียหายหนัก หลังคาเปิดทั้งหลัง 2 หลังคาเรือน นอกนั้นได้รับความเสียหายเล็กน้อย




นายอำเภอท่าบ่อ และคณะกรรมการกิ่งกาชาดอำเภอท่าบ่อ ยังได้มอบถุงยังชีพเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ทั้งนี้เทศบาลตำบลบ้านถ่อน จะเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการโดยเร็วที่สุด



นอกจากนี้ นายเอกธนัช อินทร์รอด ส.ส.หนองคาย เขต 3 พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายเอกรัฐ อินทร์รอด ส.จ.ท่าบ่อ เขต 3  พรรคเพื่อไทย และคณะลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนพัดถล่มในครั้งนี้ พร้อมมอบหน้ากากอนามัยและฟ้าทลายโจรให้กับชาวบ้าน และมอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ พร้อมให้กำลังใจชาวบ้านที่ต้องพบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ












ผู้ใหญ่บ้าน อสม.ตำบลบ้านถ่อน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เดินเคาะประตูบ้าน รณรงค์ฉีดวัคซีนสร้างเกาะป้องกันโควิด-19

วันที่ 18 พ.ค. 64 นายทวีศักดิ์ ราชไมตรี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านถ่อนใต้ ต.บ้านถ่อน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ลงพื้นที่เดินเท้าเคาะประตูบ้านรณรงค์และเชิญชวนประชาชนลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะเบื้องต้นในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 โรค ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการฉีดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564  เพื่อเป็นเกาะป้องกันโรคโควิด-19 โดยการพูดคุยแบบตัวต่อตัว ทำให้คนในชุมชนเข้าใจ และคลายกังวลว่าการฉีดวัคซีนไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิดไว้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ขั้นตอนการลงทะเบียน และการใช้งานแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” เพื่อรับสิทธิการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.บ้านถ่อน ทั้ง 221 ครัวเรือน 



นอกจากนี้ยังได้มอบใบนัดหมายฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ไปฉีดวัคซีนตามวันเวลาที่นัดหมายไว้ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ










วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย ปล่อยแถว ระดมกำลังออกกวาดล้างอาชญากรรมและยาเสพติด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

วันที่ 17  พ.ค. 64 ที่ หน้าสถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ เป็นประธานปล่อยแถวกวาดล้างอาชญากรรมและยาเสพติด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมี พ.ต.อ.อนุศักดิ์ ศักดาวัชรานนท์ รอง ผบก.ภ.จังหวัดหนองคาย (รักษาราชการแทน ผกก.สภ.ท่าบ่อ) ,พ.ต.ท.วุฒิพงษ์ ภาดี รอง ผกก.สส.สภ.รัตนวาปี (รักษาราชการแทน รอง ผกก.ป.สภ.ท่าบ่อ) ,พ.ต.ต.ทวีศักดิ์ จันทร์เรือง สว.อก.สภ.ท่าบ่อ (รักษาราชการแทน สว.สส.สภ.ท่าบ่อ) ,ร.ต.อ.เทอดศักดิ์ ชัยศิลปิน รอง สวป.สภ.ท่าบ่อ  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองร้อย อส.อำเภอท่าบ่อ, ทหาร กกล.สุรศักดิ์มนตรี, นรข.สถานีเรือศรีเชียงใหม่, หมวดเฉพาะกิจ ตชด.24, ตำรวจน้ำศรีเชียงใหม่, สาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ, ชุดสายตรวจและชุดสืบสวน สภ.ท่าบ่อ และเจ้าหน้าที่กู้ภัยฯในพื้นที่ร่วมพิธีปล่อยแถวฯ


นายอำเภอท่าบ่อ กล่าวว่า  เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ขณะนี้ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้  อีกทั้งจังหวัหนองคาย ก็ยังมีรายงานผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งยังพบว่ามีการลักลอบมั่วสุมรวมกลุ่มเล่นการพนัน การลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าว และการมั่วสุมอื่นๆ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การแพร่ระบาดของโรคนี้ขยายวงกว้างไปอย่างรวดเร็ว มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนคขึ้น ประชาชนบางคนก็ยังไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามเท่าที่ควร การสร้างการรับรู้  สร้างความเข้าใจในพื้นที่เกี่ยวกับมาตรการต่างๆจึงเป็นเรื่องสำคัญ การบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดสด ดลาดนัค การบริหารจัดการพื้นที่ชาชแดน เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาคของโรคแก่ผู้ฝ่าฝืนโดยไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอท่าบ่อ จะได้ปลอดภัยจากโรคภัยดังกล่าว



โดยการปล่อยแถวฯในครั้งนี้  เพื่อต้องการกวดขันจับกุม ผู้กระทำความผิด รวมถึงการลงพื้นที่ตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย แหล่งมั่วสุมยาเสพติด และอาวุธปืน เพื่อเป็นการป้องกัน ปราบปรามการก่อเหตุอาชญากรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ก็ยังมีการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อตรวจค้นรถต้องสงสัย และการลาดตระเวนริมฝั่งแม่น้ำโขง เนื่องจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในพื้นที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย มีการลักลอบขนยาเสพติดข้ามมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาในพื้นที่ จนทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 4 คน พร้อมยึดยาบ้าจำนวน 8.4 ล้านเม็ด






วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ราชกิจจาฯ แพร่มาตรการผ่อนคลายสถานการณ์โควิด คลายล็อกพื้นที่สีแดงเข้ม นั่งกินในร้าน ถึง 21.00 น. มีผล 17 พ.ค. นี้

เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 64 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 23 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า


ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2564 นั้น


โดยที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดโควิด ระลอกเดือนเม.ย. 2564 ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันต่อเนื่องจากกลุ่มการแพร่ระบาดในสถานบันเทิง การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง และการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่เฉพาะกลุ่ม เช่น ชุมชนแออัด โรงงาน สถานที่พักของแรงงานต่างด้าว หรือตลาด ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อันส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนโดยรวม ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดมาแล้วระยะหนึ่งอันเป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้สถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายโดยเร็ว จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าแม้การระบาดจะยังคงมีอยู่อีกระยะหนึ่ง แต่จากการที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเร่งรัดดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางกรณี เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควร โดยกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ในปัจจุบัน เพื่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้


ข้อ 1 ข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะยังคงเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อ


ข้อ 2 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำเนกตามขตพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้

1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่กรุงทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 4 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม 17 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

3) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม 56 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมจังหวัดในเขตพื้นที่สถานการณ์ตาม 2) และ 3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อจังหวัดตามเขตพื้นที่สถานการณ์แนบท้ายข้อกำหนดนี้


ข้อ 3 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน

"สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและ ระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด"


1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือ เครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินวลา 21.00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีเอลกอฮอล์ในร้าน และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่นได้จนถึงวลา 23.00 น. ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้เข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด

ข. โรงรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้งดใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ ง่ายทำให้สี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 1 แเห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เม.ย. 2564


2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด

ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น. โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีเอลกอฮอส์ในร้าน ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้ข้าใช้บริการ และการเวันระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด

ข. โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาศารหรือสถานที่ เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยให้พิจารณาตามความจำเป็น และดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำเนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัด กิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ


3) พื้นที่ควบคุม

ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่กี่ยวข้อง โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ข. โรงรียนและสลาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อม โดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยเละนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี


ข้อ 4 แนวทางการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัตีหรือการดำเนินการของบุคคล สถาน กิจการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่พบผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามกฎหมายที่ กี่ยวข้องต่อไป


ข้อ 5 การเร่งรัดการฉีตวัดซีนเพื่อข้องกันโรคเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ที่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติปรากฎผลเป็นรูปธรรมและประชาชน ได้รับประโยชน์โดยเร็ว ให้ ศปก.ศบค. ปฏิบัติการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งรัด.ตรียมความพร้อม เละบูรณาการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจในการกระจายและแจกจ่ายวัดซีน การลงทะเบียนรับวัคซีน การฉีดวัคซีน รวมทั้งการอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแเก่ประชาชนให้เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อมุ่งลดจำนวนผู้ป่วยและให้เกิดภูมีคุ้มกันหมู่ในประเทศต่อไป โดยให้รายงานแผนการปฏิบัติงาน และผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง


ข้อ 6 การป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค รัฐบาลคเน้นย้ำเจตจำนงที่เด็ดขาดในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามบุคคลใดก็ตาม ที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำอันป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค เช่น การมีส่วนร่วมกับขบวนการลักลอบเข้ามือง โดยมิได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ การคัดกรองโรคและการกักกันตัว ตามมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นตันตอของการเป็นพาหะของโรคโควิด ชนิดกลายพันธุ์ จากภายนอกราชอาณาจักร และการเปิดบ่อนการพนันขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งป็นต้นตอของการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อนจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรง


"ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดและเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติการกวดขัน สอดส่องและเฝ้าระวังพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุมลักลอบเล่นการพนัน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อปราบปรามต่อไป"


ข้อ 7 การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อลดจำนวนการเดินทางของจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่สถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสม โดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน


ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ไม่ต้องถึงนายก “ประยุทธ์” และ รัฐมนตรี “ศักดิ์สยาม” ช่วย นายอำเภอศรีเชียงใหม่ช่วยเอง เรียกช่างควบคุมงานก่อสร้างทางหลวง 211 หาแนวทางแก้ฝุ่นละออง แก้ไขความเดือดร้อนของชาวบ้านหัวทราย ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

ตามที่ปรากฏข่าวการร้องเรียนของประชาชน ชาวบ้านหัวทราย ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างถนนสาย 211 (ท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 13 พ.ค.64 โดยได้รับความเดือดร้อนจากฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้างถนน นั้น 

      


ล่าสุดวันนี้ 14 พ.ค.64 เวลา 10.00 น. นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอศรีเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายจรัล กลางประดิษฐ ปลัดอาวุโสฯ ได้เชิญช่างควบคุมงานการก่อสร้างทางหลวง 211 มาเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ริมถนนดังกล่าว  โดยช่างควบคุมงานการก่อสร้างทางหลวง 211 จะทำการฉีดสเปย์น้ำให้บ่อยขึ้น อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ซึ่งจะข่วยป้องกันปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นได้ และจะเร่งทำการลาดยางผิวถนนที่เหลือทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 พ.ค.64 นี้




จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...