วันที่ 13 ธ.ค. 2564 ที่ สนามกีฬาหน้าที่ว่าการอำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพรสาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรพร้อมป้ายศูนย์เฝ้าระวังความรุนแรงในชุมชน และเปิดงานรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ และการป้องกันการค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 โดยมูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาลหนองคายจัดขึ้น โดยมี ซิสเตอร์จินตนา พิมสาร ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการเฝ้าระวังชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขความรุนแรงในเด็กและสตรี มูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาลหนองคาย เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานฯ มี บิชอปยอแซป ลือชัย ธาตุวิสัย บิชอบสังฆมลฑลอุดรธานี, ซิสเตอร์ปราณี สิทธิ ประธานมูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาลหนองคาย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมในพิธี
ด้วยมูลนิธิคณะภคินีศรีชุมพาบาลประเทศไทย (Good Shepherd Thailand: GST) ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและมุ่งมั่นทำงานช่วยหลือผู้หญิงและเด็ก ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทุกรูปแบบ ซึ่งมูลนิธิฯ มีพื้นที่ทำงานใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, หนองคาย, ชลบุรี(พัทยา), เชียงราย, เชียงใหม่ และภูเก็ต ทางมูลนิธิฯได้ริเริ่มคำเนินโครงการฯ โดยมีชิสเตอร์ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาลในแต่ละพื้นที่ เป็นเป้าหมายดำเนินการ ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2566 การดำเนินการตามโครงการดังกล่าว มูลนิธิภคินีศรีชุมพาบาล ที่มีการบริหารจัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน ซึ่งมีคณะกรรมการศูนย์เฝ้าระวังความรุนแรงในชุมชน ประกอบด้วย ต.ผาตั้ง จำนวน 8 คน, ต.บ้านม่วง จำนวน 10 คน, ต.สังคม จำนวน 10 คน, ต.โพธิ์ตาก จำนวน 15 คน และ ต.พานพร้าว จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 55 คน
การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อคุ้มครองเด็กและสตรีจากความรุนแรงทุกรูปแบบ รามทั้งการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการค้ามนุษย์ เพื่อประสานงานและประชุมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โรงเรียน, องค์กรชุมชน, ผู้นำชุมชน, องค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งกลุ่มสตรีและเยาวชน เพื่อจัดตั้งหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการเฝ้าระวังระดับชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรี เพื่อเสริมศักยภาพและจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการเฝ้าระวังในชุมชน เรื่องการแจ้งบาะแส การรายงาน และการส่งต่อเคส รวมทั้งการจัดประชุมรายไตรมาส เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรง หาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรีในชุมชน รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักในชุมชน ร่วมกับคณะกรรมการเฝ้าระวังในชุมชน เรื่องสิทธิสตรี ความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการเฝ้าระวังในชุมชนอย่างยั่งยืน
การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก 35 หน่วยงาน โคยมีผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 200 คน และการจัดงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้ลงทะเบียนผ่านออนไลน์ และได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม