วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดงาน OTOP ภูมิภาค ความสุขผลิบานทั่วไทย ที่จังหวัดหนองคาย มีสินค้าโอทอปคุณภาพดีจากทั่วประเทศมาจำหน่ายกว่า 300 บูธ คาดเงินสะพัดกว่า 20 ล้านบาท

วันที่ 1 ก.พ. 2565 ที่ ลานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 60 พรรษา อ.เมือง จ.หนองคาย นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดงาน OTOP ภูมิภาค ประจำปี 2565 ความสุขผลิบานทั่วไทย โดยมี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นำทีมผู้บริหาร พร้อมส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมพิธีเปิดฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 ก.พ. 2565 ตั้งแต่เวลา 10.00 -21.00 น. เพื่อเป็นการสืบสานการใช้ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการพัฒนาสินค้า OTOP พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมช่องทางการตลาดสิค้า OTOP จากชุมชนสู่ภูมิภาค





ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP จำนวน 5 ประเภท ที่ประกอบด้วย ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ผ้า และเครื่องแต่งกาย ของใช้ ของประดับตกแต่ง และสมุนไพรมิใช่อาหารหรือยา จากทั่วประเทศมาแสดง และจัดจำหน่ายรวมกว่า 300 บูท การสาธิตและการแสดงทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งยังมีศิลปินชั้นนำ อาทิ ศาล สานศิลป์, เบลล์ นิภาดา, น้ำแข็ง ทิพวรรณ, อิอิสร์ อิสรพงศ์, พร จันทพร-เนย ภัสวรรณ เจ้าของเพลงฮิต “รักควรมีสองคน” , โจอี้ ภูวศิษฐ์ , แบม ไพลิน นักร้องสาวเอวบาง เจ้าของเพลงฮิต 220 ล้านวิว เพลง บ่ต้องการเศษใจ (เหลือแต่หอยกับรอยยิ้ม) มามอบความสุขให้ถึงที่ พร้อมไฮไลท์พิเศษกับการแสดงแสง สี เสียงในระบบ Multimedia 





สำหรับงาน OTOP ภูมิภาค ความสุขผลิบานทั่วไทย ซึ่งจัดโดยกรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับจังหวัดหนองคาย โดยนำผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าอาหารคุณภาพดี ราคาพิเศษ แบบช้อป คุ้ม ครบ จบที่เดียว จากชุมชนจากทั่วประเทศมาจัดจำหน่ายภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ตลอดทั้ง 7 วัน คาดว่าจะมียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
























อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและคณะ ลงพื้นติดตามการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านไทยเจริญ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

วันที่ 2 ก.พ. 2565 ที่ ศาลาเอนกประสงค์เทสรังสี เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษามหาราชนี บ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 4 ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานแม่บ้านกรมการพัฒนาชุมชน, นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, ดร.กนกกร สุทธิอาจ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี, นายไพโรจน์ โสภาพร พัฒนาการจังหวัดหนองคาย, นายกัมปนาทจักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี และคณะ ลงพื้นติดตามการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านไทยเจริญ ที่ขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประเภทเงินทุนหมุนเวียน 4 ปี เพื่อติดตามการดำเนินงานของกลุ่ม สอบถามถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และแนะนำการส่งใช้คืนเงินกู้ การตลาดช่องทางการจำหน่ายและแผนการผลิตแก่กลุ่มฯ โดยมี นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอศรีเชียงใหม่, นายจรัล กลางประดิษฐ ปลัดอาวุโสฯ, นายจักรวรรดิ วิทาโน พัฒนาการอำเภอศรีเชียงใหม่, นางอ้อย พงษ์งาม ประธานกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า, ส่วนราชการ, กำนัน ,ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ






สำหรับกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านไทยเจริญ มีสมาชิกกลุ่มจำนวน 20 คน มีนางอ้อย พงษ์งาม เป็นประธานกลุ่มฯ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ปี พ.ศ. 2564 ได้รับการสนับสนุนและอนุมัติจัดสรรงบประมาณ "โครงการไม้กวาดดอกหญ้า และต่อยอดผลผลิต" จำนวนเงิน 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) จากฐานข้อมูลทะเบียนคุมลูกหนี้พบว่า "กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านไทยเจริญ" เป็นกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีดีเด่น อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เนื่องจากมีผลการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพที่มีการเสนอโครงการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดหนองคาย อย่างต่อเนื่อง และมีผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์  แสดงให้เห็นถึงการต่อยอดผลผลิตของกลุ่มอาชีพตามโครงการอย่างแท้จริง และเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยได้เสนอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดหนองคาย และมีสถานะปิดโครงการเรียบร้อยแล้ว จำนวน 3 รายการ และในปี พ.ศ. 2564 ได้เสนอขอรับเงินสนับสนุนโครงการไม้กวาดดอกหญ้าและต่อยอดผลผลิตอย่างต่อเนื่อง 




นางอ้อย พงษ์งาม ประธานกลุ่มฯ กล่าวว่า การรวมกลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้า ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการเรียนรู้และสืบทอดความรู้กันมาจากคนภายในหมู่บ้าน ซึ่งในอดีตผลิตทำใช้กันเองภายในครัวเรือน  ปัจจุบันมีการพัฒนาสามารถสร้างเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งไม้กวาดทำจากดอกต้นแขม ที่มีอยู่ตามบริเวณป่าภูเขา โดยนำดอกแขมมาตากให้แห้ง แล้วตีให้เมล็ดออกจากก้านดอก จากนั้นนำก้านดอกของต้นแขมมาถักขึ้นรูปเป็นไม้กวาดตามรูปแบบต่างๆ เช่น แบบหางไก่ แบบหางปลา แบบหางม้า และแบบหางช้าง ซึ่งภายในกลุ่มจึงมีรายได้หมุนเวียนจากการทำไม้กวาดดอกหญ้าจำหน่าย  โดยจำหน่ายด้ามไม้ขายส่ง ราคา 50 บาท ขายปลีก ราคา 60 บาท, ด้ามดอกหญ้า ขายส่ง ราคา 40 บาท ขายปลีก ราคา 45 บาท มีทั้งในตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน, มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่, ขายส่งต่างจังหวัด และขายออนไลน์ โดย 6 เดือนจะปันผลกำไรให้กับสมาชิก ซึ่งหลังจากหักเงินกู้กองทุนฯ  สมาชิกจะได้ประมาณ 2-3 หมื่นบาท ดังนั้นในทุกวันนี้ทางกลุ่มก็ได้ผลิต ไม้กวาดดอกหญ้าอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นรายได้ที่ดี โดยเราจะใช้เวลาว่างหรือหากลูกค้ามีการสั่งเข้ามาจำนวนมากก็จะระดมสมาชิกในกลุ่มมาเร่งมือทำเพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด









อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุคสู่ "โคก หนอง นา โมเดล" อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

วันที่ 2 ก.พ. 2565 ที่ ครัวเรือนต้นแบบ เลขที่ 45/1 ของนางลำใย ไก่เขื่อง ผู้ใหญ่บ้านโพนพระ หมู่ที่ 2 ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย  นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานแม่บ้านกรมการพัฒนาชุมชน, นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, ดร.กนกกร สุทธิอาจ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี, นายไพโรจน์ โสภาพร พัฒนาการจังหวัดหนองคาย, นายกัมปนาทจักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา  พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี และคณะ  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ และร่วมกิจกรรม "เอามื้อสามัคคี" ตามโครงการครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุคสู่ "โคก หนอง นา โมเดล" โดยมีนายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ, นายพัฒนา โพธิ์บอน พัฒนาการอำเภอท่าบ่อ พร้อมด้วยส่วนราชการ, ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กำนัน ,ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งนางลำใย ไก่เขื่อง ผู้ใหญ่บ้านโพนพระ หมู่ที่ 2 ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ได้จัดการเรียนรู้หลักกสิกรรมธรรมชาติ และหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" ในพื้นที่ 3 ไร่  ให้กับประชาชน และผู้นำชุมชนในพื้นที่ได้เรียนรู้




โดยได้ทำการปลูกป่า 5 ระดับ เช่น ต้นรวงผึ้ง ต้นพะยูง ต้นสัก รวมทั้งปลูกพืชสมุนไพร ปล่อยพันธุ์ปลา และขุดคลองไส้ไก่ ทำฟาร์มเพาะเห็ดนางฟ้า ฟาร์มเลี้ยงไก่ พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนาแก่เกษตรกรพื้นที่ เป็นการต่อยอดโครงการตามแนวพระราชดำริ "เศษฐกิจพอเพียง" ตามทฤษฎีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานไว้ให้กับพสกนิกรทุกหมู่เหล่านำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัด หรือขนาดเล็ก เป็นการกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน ด้วยหนอง คลองไส้ไก่ และคันนา ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4  อย่าง เป็นการสร้างความมั่นคงในพื้นที่ทำกินด้านการเกษตร   ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตลอดไป













จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...