วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ร่วมแรงร่วมใจ! โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จับมือกลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรกรในพื้นที่ ทำการขุดลอกตะกอนดินท้ายเขื่อน เพื่อเปิดทางน้ำโขงไหลเข้าสู่บ่อสูบน้ำ เข้าอ่างเก็บน้ำ ก่อนส่งน้ำให้พื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง แม้ปีนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยโมงมี 38% ย้ำผู้ใช้น้ำร่วมกันประหยัดน้ำ ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคตด้วย

นายสุนทร คำศรีเมือง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำของโครงการฯ ทำการขุดลอกตะกอน เพื่อเปิดทางน้ำเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำเข้าสู่บ่อสูบของสถานี ก่อนสูบส่งเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยโมง และส่งน้ำในช่วงฤดูแล้งนี้ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น






จากปัจจัยแปรผันของแม่น้ำโขงที่พบคือ  ระดับน้ำลดลงอย่างมาก ทำให้เกิดสันดอนด้านท้ายประตูน้ำห้วยโมง น้ำโขงไม่สามารถไหลเข้าสู่เครื่องสูบได้ ดังนั้น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จึงร่วมมือกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ ดำเนินการขุดลอกตะกอนดินและสิ่งกีดขวางทางน้ำ บริเวณท้ายของโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ สามารถวางแผนใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการได้เต็มพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในยามขาดแคลน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ปัจจุบันได้เดินครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง ตลอด 24 ชม. สามารถสูบน้ำดันละ 180,000 ลูกบาตรเมตร จะสูบต่อเนื่อง 1- 2 เดือน หากมีน้ำฝนมาเติมและระดับน้ำโขงสูงขึ้น ไหลเข้ามาบ่อสูบก็จะสามารถเดินเครื่องได้มากขึ้น




"ส่วนการปลูกพืชฤดูแล้ง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมงมีแผนการปลูกพืชและการเกษตรทั้งหมด 27,000 ไร่ เป็นการปลูกข้าวเป็นหลักกว่า 24,000ไร่ ปัจจุบันเกษตรกรทำการปลูกข้าวนาปรังกว่า 19,000ไร่ ต่ำกว่าแผนที่วางไว้ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เกษตรกร ปรับแผนที่จะทำการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปัจจุบันมีน้ำในอ่างเพียง 38%  จึงจำเป็นจะต้องสูบน้ำจากน้ำในแม่น้ำโขง เข้าไปกักเก็บในอ่างเก็บน้ำ" ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง กล่าว














ผู้ว่าฯหนองคาย ลงพื้นที่รับฟังการแก้ปัญหาน้ำประปาเทศบาลเมืองท่าบ่อ หลังมีชาวบ้านร้องทุกข์น้ำประปาไหลเบา แถมซ้ำหนัก เมื่อน้ำไหลกลับขุ่นแดงและมาพร้อมตะกอน ใช้การไม่ได้ ลือสะพัดเทศบาลฯเตรียมที่จะโอนถ่ายให้การประปาภูมิภาค

วันที่ 11 ก.พ. 2565 ที่ หอประชุมโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท.1) อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการรับฟังและอุปสรรค การแก้ไขปัญหาน้ำประปาเทศบาลเมืองท่าบ่อ หลังมีชาวบ้านในพื้นที่ได้ทำหนังสือร้องทุกข์ไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดหนองคาย เรื่องปัญหาน้ำประปาไม่ไหลและไหลอ่อน แต่เมื่อน้ำประปาไหล น้ำกลับเป็นสีขุ่นแดงและมาพร้อมตะกอน จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งข่าวลือว่าเทศเมืองท่าบ่อ เตรียมที่จะโอนถ่ายกองการประปาไปให้กับการประปาส่วนภูมิภาค ดูแลการผลิตน้ำประปาแทน โดยมีนายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟังฯ  มีนายกิตติศักดิ์ วรรณวิเชษฐ์ นายกเทศมนตรีเมืองท่าบ่อ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ พร้อมนำ นายประดับ สังฆะมณี ปลัดเทศบาลเมืองท่าบ่อ, คณะผู้บริหารเทศบาล, เจ้าหน้าที่กองการประปาเทศบาลฯ, ตัวแทนการประปาส่วนภูมิภาคจังหนองคาย, ตัวแทนการประปาส่วนภูมิภาค เขต 7 อุดรธานี, สมาชิกเทศบาลฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมชี้แจงข้อมูลรายละเอียดและรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการชุมชน ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองท่าบ่อ




ทั้งนี้กองการประปาเทศบาลเมืองท่าบ่อ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2533 โดยผลิตน้ำประปาบริการประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลฯจำนวน 14 หมู่บ้านของตำบลท่าบ่อ และตำบลน้ำโมง(บางส่วน) จำนวน 19 ชุมชน มีผู้ใช้น้ำประปา 5,800 ครัวเรือนโดยประมาณ สามารถผลิตน้ำประปาได้ จำนวน 300 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง




นายกิตติศักดิ์ วรรณวิเชษฐ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองท่าบ่อ กล่าวชี้แจงว่า เทศบาลเมืองท่าบ่อประสบปัญหาการผลิตน้ำประปา ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และยังมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ  การเร่งการผลิตน้ำประปาให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำประปา ทำให้คุณภาพน้ำประปาไม่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งระบบสูบน้ำดิบ ระบบการผลิต ระบบท่อน้ำมีความชำรุดทรุดโทรม ซึ่งได้ใช้งานมากว่า 30 ปี ทำให้น้ำประปาตกตะกอนและขุ่น ประกอบกับกิจการประปาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ประสบปัญหาขาดทุนทุกปี เนื่องจากเป็นอัตราที่เก็บมาตั้งแต่ปี  2552  





นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองท่าบ่อ กล่าวต่อว่า การที่มีข่าวลือว่าเทศบาลเมืองท่าบ่อ เตรียมที่จะโอนถ่ายกองการประปาไปให้การประปาส่วนภูมิภาคนั้น ขอยืนยันให้พี่น้องประชาชนสะบายใจได้ ไม่มีการโอนถ่ายไปให้แน่นอน แต่การประปาส่วนภูมิภาคจะเข้ามาให้คำปรึกษาเรื่องการบริหารจัดการน้ำของเทศบาลฯให้ใสสะอาดและเพียงพอต่อประชาชนผู้ใช้น้ำในอนาคตต่อไป ซึ่งการบริหารจัดการน้ำประปาของเทศบาลต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการ 153 ล้านบาท ก็ต้องกู้ยืม แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ซึ่งการแก้ปัญหาก็ต้องแก้ทั้งระบบ ทั้งบ่อน้ำดิบและระบบท่อส่ง ซึ่งปัจจุบันกองการประปามีรายได้ปีละ 9 ล้านบาท แต่ประสบปัญหาขาดทุนปีละ 3.5 ล้านบาท และปัจจุบันยังติดหนี้การไฟฟ้าอยู่ประมาณ 2 ล้านบาท ดังนั้นเทศบาลจึงต้องจำเป็นกู้เงินกับกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล และสถานะการเงินการคลังของเทศบาลกู้ได้เพียง 99 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่เพียงพอทั้งระบบ อาจจะทำได้แค่บางส่วน และท่าจะกู้เงินก้อนนี้อาจจะต้องเพิ่มค่าน้ำ ในเมื่อต้นทุนมันสูงขึ้น วันนี้เป็นการชี้แจงมูลข้อเท็จจริง ต่อไปก็จะทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนตัดสินใจทั้งเทศบาลว่า อยากให้ใครดำการจัดการบริหารประปาต่อไป
















วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ร่วมกับจังหวัดหนองคาย จัดการแข่งขันร่มร่อนชิงแชมป์แห่งประเทศไทยและนานาชาติ สานสัมพันธ์อาเซียน ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 เก็บคะแนนทีมชาติและชิงแชมป์เอเชีย สนาม 1

วันที่ 10 ก.พ.2565 ที่ บริเวณลานแลนด์ดิ่ง ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย นายณัฐวัฒน์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการแข่งขันร่มร่อนชิงแชมป์แห่งประเทศไทยและนานาชาติ สานสัมพันธ์อาเซียน ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 โดยสมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ร่วมกับจังหวัดหนองคาย จัดการแข่งขันขึ้น เพื่อเก็บคะแนนทีมชาติและชิงแชมป์เอเชีย สนาม 1 ระหว่างวันที่ 9 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมี นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน  นายกสมาคมกีฬาทางอากาศฯ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกาแข่งขันฯ มีนักกีฬาร่มร่อนจากทั่วประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน รวม 64 คน




การแข่งขันร่มร่อนฯครั้งนี้มีเป้าหมาย เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนากีฬาทางอากาศให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และมีมาตรฐานตามหลักสากล  เปิดโอกาสให้นักกีฬาชาวไทย ที่เป็นสมาชิกสหพันธ์กีฬาทางอากาศนานาชาติ ได้แสดงออกถึงความสามารถด้านกีฬาทางอากาศฯ ที่ตนเองถนัด  อีกทั้งได้ใช้สนามแข่งชันแห่งนี้เป็นสนามเก็บคะแนน  ตามที่สหพันธ์กีฬาทางอากาศนานาชาติหรือ FAI กำหนด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแข่งขันของนักกีฬา และให้เยาวชน ประชาชนในจังหวัดหนองคาย จังหวัดใกล้เคียง ได้รู้จักกีฬาทางอากาศฯชนิดนี้ และส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่องในอนาคต อีกทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดหนองคาย ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปยังจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้าน
















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...