วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน สืบสานประเพณีอีสาน จัดประเพณีบุญผะเหวดและบุญบังไฟ ชมขบวนแห่พระเวชสันดรเข้าเมือง ขบวนแห่บั้งไฟ ขบวนรำเซิ้งขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล แสดงถึงประเพณีพื้นบ้าน

วันที่ 21 พ.ค.2565 ที่ วัดศรีสะอาด หมู่ 4 ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย องค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน ร่วมกับฝ่ายปกครองตำบลโคกคอน ได้สืบสานประเพณีอีสาน จัดประเพณีบุญผะเหวด  และประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565 โดยมี ดร.สมเกียรติ ตระกูลฟาร์มธวัช รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดงานฯ มี ผศ.ดร.คำดี จันทะเกษ นายก อบต.โคกคอน กล่าวรายงาน โดยมีกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้บริหาร อบต., สมาชิกสภา อบต, พนักงาน/ลูกจ้าง และประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ค้างเคียง ร่วมพิธีเปิด





โดยก่อนพิธีเปิด ผศ.ดร.คำดี จันทะเกษ นายก อบต.โคกคอน พร้อมด้วยนายอดุล ชัยแสง กำนันตำบลโคกคอน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่  ได้ร่วมกันประกอบพิธีบวงสรวงหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถของวัดศรีสะอาด ที่ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความเคารพนับถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยมีนางกุหลาบ ภูขมัง ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้นำกล่าวคำถวายบูชา จากนั้นได้ประกอบพิธีฟ้อนรำถวายหลวงปู่ใหญ่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในตำบล มีนางรำทุกช่วงวัยทั้ง 7 หมู่บ้านในตำบลโคกคอน ร่วมใจกันมาฟ้อนถวายบูชา จำนวน 120 คน เพื่อแสดงออกถึงความศรัทธาที่ต่อองค์หลวงปู่ใหญ่ และเป็นหนึ่งในกิจกรรมของงานบุญปีนี้ หลังจากหลังว่างเว้นไป 2 ปี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19










จากนั่นได้จัดขบวนแห่พระเวสและนางมัทรีเข้าเมือง ขบวนแห่บั้งไฟ เพื่อสืบสานและแสดงออกถึงประเพณีพื้นบ้านของคนในท้องถิ่น โดยสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานและอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุด โดยได้จัดขบวนแห่จากปากทางเข้าบ้านโคกคอนไปสิ้นสุดที่วัดศรีสะอาด สำหรับวันรุ่งขึ้นถือเป็นวันที่สำคัญที่สุดในงานบุญผะเหวด คือมีการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ มีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ ตลอดทั้งวัน รวมทั้งนำบั้งไฟเสี่ยงไปจุดขอฝน ณ บริเวณทุ่งนาปากทางเข้าหมู่บ้าน ถือเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของคนในพื้นถิ่น ที่ทำกันในเดือน 6 ช่วงเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทำนา จะมีการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือที่เรียกกันว่า "พญาแถน" ซึ่งมีความเชื่อว่า "พระยาแถน" มีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเอง





















วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อบจ.หนองคาย ร่วมกับเทศบาลเมืองหนองคาย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดหนองคาย จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยจังหวัดหนองคาย เพื่อเตรียมความในการสถานการณ์อุทกภัยได้ทัน สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วหากเกิดน้ำท่วมขังและอุทกภัย

วันที่ 20 พ.ค. 2565 ที่ศูนย์จักรกล องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ถนนหนองคาย -โพนพิสัย ต.หาดคำ อ.เมือง จ.หนองคาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ร่วมกับเทศบาลเมืองหนองคาย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดหนองคาย จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยจังหวัดหนองคาย โดยมีนายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยจังหวัดหนองคาย มีนายสังวาลย์ ริมเขาใหญ่ รองนายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย, เทศบาลเมืองหนองคาย, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดหนองคาย , ข้าราชการ ,พนักงานและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมกิจกรรม




นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า สำหรับการเปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยจังหวัดหนองคาย ในครั้งนี้ เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาอุทุกภัยที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม 2565 เป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนและลดความสูญเสียทรัพย์สินให้แก่ประชาชน  อีกทั้งเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการบัญชาการ และการเตรียมความพร้อมของสรรพกำลังในการรับสถานการณ์อุทกภัยอย่างทันท่วงที ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ทั้งยังมีการติดตามสถานการณ์ภูมิอากาศ ปริมาณฝน   ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน เฝ้าระวัง ติดต่อสื่อสาร พร้อมทั้งสนับสนุนกำลังพล และอุปกรณ์ต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือ โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานคอยประจำการ และพร้อมลงพื้นที่อย่างทันท่วงที




ซึ่งศูนย์อำนวยการป้องกันฯ มีหน้าที่หลักในปฏิบัติงาน ระงับ และบรรเทาอุทกภัย และวาตภัยในเขตท้องที่เมื่อเกิดภัยขึ้น  สนับสนุนกำลังพล เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และเครื่องอุปโภคทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารการประสานงานกับหน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในและนอกพื้นที่ ประสานขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ในกรณีเกินขีดความสามารถในการปฏิบัติ การระงับและบรรเทาภัย 











สว.ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพื้นที่ตำบลน้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

วันที่ 20 พ.ค.2565 ที่ ศาลาการเปรียญวัดโคกสว่าง บ้านหนองแวง หมู่ 7 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) นำโดย พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ สมาชิกสภาฯ รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย พลเอก สนธยา ศรีเจริญ สมาชิกวุฒิสภาฯ, นายเชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ สมาชิกวุฒิสภาฯ,  นางสาวปภัสมน อัมราลิขิต ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และนายมนต์สิทดิ์  ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ลงพื้นพบปะเยี่ยมเยียนพร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลน้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย โดยมีนายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ กล่าวต้อนรับพร้อมนำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนร่วมให้การต้อนรับ 




สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ของคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) เพื่อติดตามการแก้ปัญหาที่พี่น้องประชาชน ที่ได้ร้องขอความช่วยเหลือไปเมื่อครั้งลงพื้นที่ครั้งที่ผ่านมา ทั้งเรื่องชลประทานส่งน้ำระบบท่อเพื่อการเกษตร , เรื่องระบบประปาพลังงานแสงอาทิตย์ , เรื่องของบประมาณขุดลอกแหล่งน้ำสาธาณะประโยชน์หนองหวายและห้วยลาน เป็นต้น  โดยบางเรื่องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้ว ส่วนบางเรื่องยังไม่ได้ดำเนินการ  โดยจะเร่งรัดทำการช่วยเหลือต่อไป





นอกจากนี้ยังได้รับฟังประชาชนในพื้นที่ประเด็นปัญหาความต้องการต่างๆ เช่น ให้สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและสะพานข้ามลำห้วยโมงบ้านฝาง หมู่ 4 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ, ให้ช่วยเร่งรัดติดตามการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งลำห่วยโมง, ให้มีการขยายไฟฟ้าให้ครอบคลุมไปยังพื้นที่การเกษตรที่ประชาชนได้เข้าไปอยู่อาศัย, ให้ก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยหินไหล, ให้มีแหล่งผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน และอยากให้มีจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน ทั้งนี้ประเด็นที่ประชาชนเสนอนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัด ได้มีการชี้แจงและรับเรื่องเพื่อดำเนินการต่อไป สำหรับประเด็นใดที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของจังหวัด ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับไปติดตามความก้าวหน้า ทั้งนี้คณะกรรมการฯ จะนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ ต่อไป







สมาชิกวุฒิสภาลงพื้นที่พบประชาชน รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

วันที่ 19 พ.ค.2565 ที่ โรงเรียนวรลาโภนุสรณ์ บ้านเสียว ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย พลโทจเรศักณิ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมพลเอก สนธยา ศรีเจริญ สมาชิกวุฒิสภา , นางสาวปภัสมน  อัมราลิขิต ผู้ตรวจสำนักงานนายกรัฐมนตรี และนายบดินทร์  เกษมศานติ์ ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง เขต 10 ลงพื้นที่ พบประชาชน รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน โดยมี นายมนต์สิทธิ์  ไพศาลธนวัฒน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนประชาชนชาวตำบลหนองปลาปาก ให้การต้อนรับ



การลงพื้นที่ตามโครงการสมาชิกวุฒสภาพบประชาชนครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่ประกาศบังคับแล้วให้สอดคล้องกับหลักตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 77 มาตรา 270 บัญญัติไว้ให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจในการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ และเร่งรัดให้บรรลุเป้าหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  การปฏิรูปประเทศตามข้อกำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ



พลโท จเรศักณิ์  อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวว่า การเดินทางมาพบปะประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ  ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย  2 ครั้ง คือที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภอท่าบ่อ ได้รับทราบปัญหาหลายเรื่อง  บางเรื่องได้รับการแก้ไข ด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงพื้นที่  ปัญหาที่พบในการเดินทางมาครั้งนี้ส่วนใหญ่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ภายในจังหวัด เช่นการระบายน้ำ การเปิดจุดผ่านแดน การขอขยายไฟฟ้าเพื่อการเกษตรเพื่อการอยู่อาศัย และการแก้ปัญหาถนนของทางหลวงชนบทที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง  ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลอยู่แล้ว ทุกปัญหาที่เสนอมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับฟังและได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมถึงแนวทางในการแก้ไข ปัญหาเกือบทุกเรื่องที่ประชาชนเสนอแนะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สามารถ บูรณาการแก้ไขได้   ส่วนปัญหาเรื่องของ โรงเรียนขนาดเล็ก ที่เป็นปัญหาในภาพรวมของประเทศ ทางคณะวุฒิสภา จะรับไปแจ้งให้กับหน่วยงานส่วนกลางได้รับทราบ เพื่อหาแนวทางแก้ไขในระดับประเทศต่อไป

พันธลภ  แสงทอง(ฤาษีลภ)-ปวีณา-ภาพ-ข่าว  จังหวัดหนองคาย





จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...