วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เทศบาลตำบลเวียงคุก จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565 หลังงดจัดเลี่ยงโควิดนาน 2 ปี

วันที่ 14 มิ.ย. 2565 ที่ กองอำนวยการหน้าวัดสาวสุวรรณนาราม หมู่ที่ 7 ต.เวียงคุก อ.เมือง จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565 โดยเทศบาลตำบลเวียงคุกจัดขึ้น โดยมี นายเทิดพงษ์ มั่นคง นายกเทศมนตรีตำบลเวียงคุก กล่าวรายงาน มีนายประทีป อุยเจริญ นายอำเภอเมืองหนองคาย, คณะผู้บริหารเทศบาลฯ, สมาชิกสภาเทศบาลฯ, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน , พนักงาน/ลูกจ้างเทศบาลฯ, คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน และประชาชนชาวตำบลเวียงคุกและนักท่องเที่ยว เข้าร่วมชมงาน เป็นจำนวนมาก






การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ กำหนดจัดระหว่างวันที่ 14–15 มิถุนายน 2565 โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การประกวดขบวนแห่บั้งไฟ 6 ขบวน , การประกวดรำเซิ้ง , การประกวดขนวนบั้งไฟโบราณ , การประกวดความคิดสร้างสรรค์วิถีชีวิตท้องถื่น และขบวนชาวเทพ(นางเทียม) ในชุดเสื้อผ้าและผ้าโพกหัวหลากสี มือถือสองข้างถือดาบ ที่เปรียบสมือนมือของเหล่าบรรดานางเทียม (ร่างทรง) ร่ายลำไปตามจังหวะเสียงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ด้วยท่วงท่าสวยงาม และยังแห่บั้งไฟเสี่ยงทายเป็นขบวนปิดท้าย โดยในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 จะเป็นการจุดบั้งไฟปฐมฤกษ์ บั้งไฟเสี่ยงทาย และการแข่งขันบั้งไฟขึ้นสูง ที่ฐานจุดบั้งไฟหลังวัดสาวสุวรรณนาราม ซึ่งชาวตำบลเวียงคุก ได้จัดงานบุญบั้งไฟจนเป็นประเพณีถือปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานตั้งแต่โบราณกาล โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปีเป็นวันจัดงาน มีความเชื่อที่ว่าการแห่มั้งไฟและการจุดบั้งไฟ คือการบูชาพญาแถน เพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล เพื่อทำการเกษตรกรรม และมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ซึ่งการจัดประเพณีบุญบั้งไฟครั้งนี้สร้างความคึกคักและสนใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมามีสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถจัดงานได้




สำหรับการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรบขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนภูมิปัญญาของท้องถิ่นไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลังได้สืบต่อไป  เป็นการรักษาประเพณีฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวอีสาน  เป็นการส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน  ให้ประชาชนชาวตำบลเวียงคุก ได้มีกิจกรรมร่วมกัน อันก่อให้เกิดความผูกพัน ความรัก และความสามัคคีภายในตำบล  และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของตำบลเวียงคุก อีกด้วย































วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เทศบาลตำบลโพนสาร่วมกับชุมชน จุดบั้งไฟบูชาพญาแถน เพื่อดลบันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ในงานประเพณีบุญเบิกบ้านและบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565

วันที่ 12 มิ.ย. 2565 ที่ บริเวณหนองกะซะ ต.โพนสา อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เทศบาลตำบลโพนสา โดยว่าที่ร้อยตรี วิทยา คำพวง นายกเทศมนตรีตำบลโพนสา พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง ร่วมกับชุมชนทั้ง 6 ชุมชนในเขตเทศบาลฯ ทำการจุดบั้งไฟในงานประเพณีบุญเบิกบ้านและบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565 โดยมีประชาชนในชุมชน ร่วมใจกันจุดบั้งไฟปฐมฤกษ์ บั้งไฟเสี่ยงทาย 15 บั้ง และการจุดบั้งไฟขึ้นสูง จำนวนกว่า 30 บั้ง ท่ามกลางความตื่นตาตื่นใจ ความสนุกสนานของประชาชนที่ไปชมการจุดบั้งไฟ ที่ไม่มีการแข่งขัน มีแต่ถ้วยรางวัลมอบให้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่จุดบั้งไฟได้สูงที่สุด




สำหรับการจุดบั้งไฟ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลทำนา จะต้องทำพิธีจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถน  ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งประชาชนชาวตำบลโพนสา ได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน จนถึงปัจจุบัน และเป็นวันสุดท้ายในการจัดงานประเพณีบุญเบิกบ้านและบุญบั้งไฟ ประจำปี 2565 อีกทั้งยังเป็นประเพณีเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอีสาน อีกด้วย











สวนเงาะไร่โคตรสมบัติ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี เปิดสวนให้ประชาซนชมสวน พร้อมมีบุฟเฟต์เงาะ 100 บาท ให้กินแบบจุกๆ ไม่อั่น แถมยังมีเงาะฝากกลับบ้านอีก 1 กิโลกรัม

ที่สวนเงาะไร่โคตรสมบัติ บ้านน้ำปด หมู่ที่ 3 ต.น้ำโสม อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ของนายฎำริ หงษาพันธ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลน้ำโสม ได้จัดโปรโมชั่นแบบบุปเฟต์เงาะโรงเรียน เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าไปเที่ยวชมสวน ถ่ายรูป นั่งพักผ่อนและสามารถเก็บเงาะสดใหม่จากต้นรับประทานได้เลยแบบไม่อั้น เพียงแค่จ่ายค่าเข้าชมสวนคนละ 100 บาท พร้อมแถมเงาะฝากกลับบ้านอีก 1 กิโลกรัม เรียกได้ว่าทั้งกินจากต้นสดๆ และมีถุงให้เก็บเงาะห่อกลับบ้าน 1 กิโลกรัม หรือท่าใครจะซื้อไปฝากญาติพี่น้อง คิดกิโลกรัมละ 35 บาท หรือ 3 กิโลกรัม 100 บาท




นายฎำริ หงษาพันธ์ กล่าวว่า ไร่โคตรสมบัติเป็นของคุณตา คุณยาย ที่ได้ผันตัวเองจากการปลูกมันสำปะหลัง มาทดลองปลูกเงาะโรงเรียนเมื่อปี 2542 จำนวน 150 ต้น บนเนื้อที่ 9 ไร่ โดยคุณตาและคุณยายได้ดูแลสวนเงาะเป็นอย่างดี โดยจะตื่นแต่เช้าหาบน้ำจากบ่อขึ้นมารด ซึ่งคุณตาคุณยายทำอยู่อย่างนี้จนเข้าสู่ปีที่ 3 จึงเปลี่ยนวิธีเป็นสูบน้ำจากบ่อขึ้นมารดต้นเงาะด้วยปั้มน้ำโซล่าเซลล์ จนเงาะสามารถเติบโตให้ผลผลิตได้จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลา 23 ปีแล้ว ซึ่งเงาะที่ปลูกเป็นเงาะพันธุ์ดี หรือที่เรียกว่าเงาะนาสาร ผนวกกับดินที่ดีของน้ำโสม ทำให้เงาะที่ได้รสชาติดี สรหวานอะหร่อย เม็ดร่อน เนื้อแน่น ไม่เยิ้มมือ เปลือกบาง เป็นที่ต้องการของตลาด และเงาะในสวนเริ่มทะยอนสุกบ้างแล้ว




นายฎำริ กล่าวต่อว่า ปีที่ผ่านมาตนและคุณตาคุณยาย รวมทั้งญาติพี่น้อง ได้ร่วมกันทำกิจกรรมสำหรับประชาชน ที่เดินทางมาเที่ยวสวน คือให้ประชาชนสามารถเก็บเงาะในสวนรับประทานกันแบบบุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น แถมได้เงาะห่อกลับบ้านไปคนละ 1 กิโลกรัม ในราคาเข้าชมสวนเพียง 100 บาท ปรากฏว่าผลตอบลับออกมาเป็นอย่างดี   มาปีนี้จึงจัดกิจกรรมเปิดสวนให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปเที่ยวชมสวนและได้ชิมเงาะสดใหม่จากต้นแบบบุฟเฟต์เป็นปีที่ 2 เพียงจ่ายค่าเข้าชมสวนเพียงคนละ 100 บาท แถมห่อกลับบ้าน 1 กิโลกรัม ซึ่งตนคิดว่าไม่แพงจนเกินไป เพื่อให้ทุกคนได้มาชิมผลไม้จากสวนในราคาย่อมเยา  เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และภายในสวนยังได้จัดทำบ้านกกตูม บ้านต้นไม้มุมสูง ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวขึ้นไปชมวิวมุมสูงของสวนเงาะ ชมวิวภูหลวง บ้านนาเมืองไทย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอน้ำโสมและภาพมุมสูงอำเภอน้ำโสม และปัจจุบันได้ปลูกเงาะเพิ่มอีก 100 ต้น รวม 250 ต้น บนเนื้อที่กว่า 9 ไร่ อีกทั้งยังมีผลไม้อื่นๆ เช่น มังคุด ลำไย น้อยหน่า มะไฟ ทุเรียน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าและผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี ตนจึงขอเชิญชวนผู้สนใจมาเที่ยวชมสวนเงาะไร่โคตรสมบัติ สอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 091-3744026












วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565

อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ประกอบพิธีตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ บริเวณต้นโพธิ์หลังกองร้อยอาสารักษาดินแดน ที่ 3 เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการ สมาชิกกองร้อยอาสารักษาดินแดน

วันที่ 11 มิ.ย. 2565 ที่ บริเวณต้นโพธิ์หลังกองร้อยอาสารักษาดินแดน ที่ 3 อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ว่าที่ร้อยตรีนครชัย แสงมณี นายอำเภอศรีเชียงใหม่ เป็นประธานประกอบพิธีตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ โดยมี นายพิทยา ชำนาญเนียม ปลัดอาวุโสฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และสมาชิกอาสารักษาดินแดน ร่วมประกอบพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการ และสมาชิกกองร้อยอาสารักษาดินแดน






โดยพิธีได้มีการอัญเชิญปู่เสมาขึ้นสิงสถิต ณ ศาลพระภูมิหลังใหม่ พร้อมของไหว้บูชา ทั้งของคาว ของหวาน ผลไม้และดอกไม้ ครบครัน เพื่อให้พระภูมิเจ้าที่ช่วยปกป้องคุ้มครองและให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ และถือว่าพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำหรับศาลวิญญาณหรือศาลเจ้าที่ เป็นความเชื่อที่ว่า ที่ดินทุกแห่งจะมีดวงวิญญาณเจ้าของที่ ประจำอยู่ ดังนั้นการตั้งศาลเจ้าที่ก็เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อวิญญาณเจ้าของที่ดินเดิมและมีการอัญเชิญมาสิงสถิตเพื่อปกปักษ์รักษา คุ้มครองผู้อยู่อาศัยให้ร่มเย็น แคล้วคลาดจากภัยทั้งปวง การเลือกศาลพระพรหมที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักพิธีจึงเป็นอีกสิ่งหนึงที่ใส่ใจเลือกสรรเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกด้านในชีวิตเจริญรุ่งเรืองอย่างที่ต้องการ











จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...