วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

รองผู้ว่าฯหนองคาย ตรวจความพร้อมจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนบ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ รองรับการเปิดจุดผ่อนปรนฯหลังโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น คาดมูลค่าการส่งออกกว่า 200 ล้านบาท/ปี

วันที่ 22 มิ.ย. 2565 ที่ อาคารบริการประชาชนจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนบ้านหม้อ หมู่ที่ 8 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายณัฐวัสส์  วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการประชุมตรวจติดตามเพื่อบริหารจัดการจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนบ้านหม้อ โดยมี นายพิชัยยา ตุระซอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดหนองคาย , ว่าที่ร้อยตรีนครชัย แสงมณี นายอำเภอศรีเชียงใหม่ , น.อ.ราฆพ เทวะประทีป ผบ.นรข.เขตหนองคาย , นายพิทยา ชำนาญเนียม ปลัดอาวุโสอำเภอศรีเชียงใหม่, พ.ต.ท.ธียามพัตท์ รังสิพราหมณกุล รอง ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย , นายพิทูร ศรีอินทร์งาม ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากรที่ 1, เภสัชแพทย์ไพรัตน์ ประทุมทอง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดจุดผ่อนปรนฯ หากกระทรวงสาธารณสุขมีการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นี้ ซึ่งทางอำเภอศรีเชียงใหม่ ได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดจุดผ่อนปรนฯในทุกๆด้าน ทั้งสถานที่ เจ้าหน้าที่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ และมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 โดยที่ผ่านมาจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้าน สปป.ลาว ได้มีคำสั่งระงับการเดินทางเข้าออกชั่วคราว ทั้งบุคคลและสินค้าส่งออก เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่มีการผ่อนผันเฉพาะการขนถ่ายสินค้านำเข้าส่งออก ณ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมืองหนองคาย เท่านั้น







ทั้งนี้จุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนบ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย กับ ด่านประเพณีหนองดา (เก้าเลี้ยว) เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เปิดทำการครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 เปิดทำการเพียง 2 วัน ต่อสัปดาห์ เมื่อปี 2556 ได้เปิดเพิ่มเป็น 3 วัน ต่อสัปดาห์ มีราษฎรทั้งสองฝั่งเดินทางเข้า-ออก เฉลี่ยวันละ 120 คน ซึ่งอำเภอศรีเชียงใหม่ได้มีมาตรการควบคุมตรวจตราบุคคลที่เดินทางเข้า-ออกอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการหลบหนีเข้าเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย






ส่วนด้านการค้าชายแดน ณ จุดผ่อนปรนฯบ้านหม้อ มีมูลค่าการค้าปรับตัวขึ้นสูงทุกปี สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภค และสินค้าทางการเกษตร ที่ส่วนใหญ่จะเป็นพืช ผัก ผลไม้ ส่งออกไปยัง สปป.ลาว มีมูลค่า 700,000 บาท - 1,200,000 บาท/วัน หรือกว่า 4,000 ตัน/ปี ซึ่งมีแต่สินค้าส่งออก ไม่มีสินค้านำเข้า



โดยก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ได้ร่วมกับ เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ เปิดจุดผ่อนปรนทางการค้าฯและด่านประเพณี จาก 3 วัน เพิ่มเป็น 6 วันต่อสัปดาห์  เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าขึ้นเท่าตัว อีกทั้งช่วยลดการจราจรจากที่บริเวณด่านพรมแดนมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ในการระบายสินค้าออกได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหากมีการประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น และมีการเปิดจุดผ่อนปรนการค้าฯแล้ว จะทำให้เศรษฐกิจการค้าชายแดนเติบโตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเครื่องอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะผลไม้ส่งออกจากไทย ที่มีความต้องการสูงจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกสินค้าผ่านจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านหม้อ นับกว่า 200 ล้านบาท/ปี 




วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

จังหวัดหนองคาย คัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2565 พื้นที่ตำบลพระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

วันที่ 21 มิ.ย. 2565 ที่ ศาลาอเนกประสงค์วัดพระพุทธบาทเวินกุ่ม บ้านพระบาท หมู่ที่ 1 ต. พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2565 พร้อมคณะกรรมการฯสรรหาและคัดเลือกกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ลงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลให้มีความเข้มแข็ง และมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน สำหรับเข้ารับโล่รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโล่รางวัลสิงห์ทอง เพื่อสร้างขวัญและเป็นกำลังใจให้แก่ผู้นำ ตลอดจนพัฒนาและยกระดับผู้นำชุมชน  กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน ต่อไป โดยมี ว่าที่ร้อยตรีนครชัย แสงมณี นายอำเภอศรีเชียงใหม่ , นายพิทยา ชำนาญเนียม ปลัดอาวุโสฯ , นายจักรวรรดิ วิทาโน พัฒนาการอำเภอศรีเชียงใหม่ , พ.จ.อ.พิเชษฐ์ ไพรพยอม นายก อบต.พระพุทธบาท , หัวหน้าส่วนราชการ, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน , สาธารณสุขตำบล , ผู้บริหารสถานศึกษา , คณะครู , นักเรียน , ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ









ทั้งนี้อำเภอศรีเชียงใหม่ ได้คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าคัดสรรในครั้งนี้ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีเชียงใหม่ ครบทุกกิจกรรม รวม 4 ประเภท ได้แก่ 1.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" , 2. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.ชาย/หญิง), 3. กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน และ 4.ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง






พร้อมเยี่ยมชมจุดดำเนินการของชุมชน เยี่ยมชมบูธกิจกรรมเสริมสร้างชุมชนแข็งแรงจากภาคีเครือข่ายพัฒนาต่างๆ ของตำบลพระพุทธบาท เช่น สหกรณ์เลี้ยงผึ้งโพลงตำบลพระพุทธบาท , กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านลุมพินี , กลุ่มไม้กวาดดอกแขมบ้านไทยเจริญ  ,ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน(ศดปช.) บ้านวังน้ำมอก และกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2565 และเยี่ยมชมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า , กลุ่มปลูกข้าวโพดหวาน , กลุ่มปลูกพริก , กลุ่มปลูกสับปะรดหวาน และกลุ่มทำขนมไทย บ้านพระบาท หมู่ที่ 1 ต.พระพระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



























จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...