วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565

โรงเรียนบ้านท่าสำราญ นำรักเรียน อ.2-ป.3 ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ณ บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง

วันที่ 8 ก.ย.2565 นายปริญญา แก้วหาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าสำราญ พร้อมคณะครูของโรงเรียน ได้จัดโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน โดยการนำนักเรียนระดับอนุบาล 2 - ป.3 จำนวน 84 คน มาทัศนศึกษาบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ธรรมเรืองฤทธิ์ หรือครูแดงบ้านศิลป์ไทย เจ้าของสถานที่ เป็นผู้ต้อนรับ






ทั้งนี้ในการจัดการพัฒนาการเรียนในปัจจุบันนั้น มุ่งเนันที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมผู้เรียนเกิดทักษะ เกิดประสบการณ์ และเป็นการส่งเสริมพัฒนาด้านสติปัญญา  เจตคติ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ โรงเรียนบ้านท่าสำราญ จึงจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้จริงนอกโรงเรียน เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน และผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์จริง นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดความสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ แก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง เหมาะสม และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้และรับประสบการณ์ตรง


















อบต.ด่านศรีสุข ส่งเสริมอาชีพประชาชน เลี้ยง"หอยเชอรี่สีทอง "อาชีพทางเลือกต้นทุนต่ำ สร้างรายได้งาม

วันที่ 8 ก.ย. 2565 ที่ อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย นายยรรยง พรมศร นายอำเภอโพธิ์ตาก เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพและกลุ่มอาชีพการเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง) ประจำปี 2565 ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลด่านศรีสุข จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2565 โดยมี นายอชิรพัฒน์  สิงห์ทรายขาว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านศรีสุข เป็นผู้กล่าวรายงาน มี นายณัฐภพ จำปา พัฒนาการอำเภอโพธิ์ตาก , ว่าที่ร้อยตรีภูวเดช กุลรักษา ประมงอำเภอท่าบ่อ รักษาการประมงอำเภอโพธิ์ตาก , หัวหน้าส่วนราชการ , วิทยากร ผู้นำชุมชน , และผู้ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯจำนวน 45 คน






องค์การบริหารส่วนตำบลด่านศรีสุข ดำเนินโครงการฝึกอบรมเกษตรกรเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองเพื่อยังชีพขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มของเกษตรกรตำบลด่านศรีสุข มีการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่ม / องค์กร ผู้เข้าร่วมโครงการ ในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพ เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมอาชีพ สามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมรายได้หลักของชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบการทำงานเป็นกลุ่มเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่  เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกของกลุ่มองค์กรในพื้นที่ ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ฝึกประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรม ได้รับแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อนำความรู้จากกิจกรรมการฝึกอบรม มาพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มไว้ขายหรือบริโภคในครัวเรือน  ตลอดจนสามารถลดรายจ่ายให้กับครอบครัวและพัฒนาคุณภาพชีวิต








หลังจากฝึกอบรมเสร็จ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านศรีสุข ก็ได้นำผู้เจ้าร่วมโครงการฯทั้ง 45 คน ล่องแพบางกอกน้อย ไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง ณ สวนบุญจันทร์ ของนายบุญจันทร์ ศรีวรรณะ อายุ 64 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในกระชัง ที่ได้เพาะเลี้ยงทั้งหมด 21 กระชังมาได้ประมาณ 9 เดือน โดยนายบุญจันทร์ได้บอกเล่าถึงที่มาของการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง ว่า เดิมทีตนเป็นชาวสวนปลูกผลไม้อยู่บนเกาะบางกอกน้อย และมีแพให้นักท่องเที่ยวได้ล่องแพชมสวนในช่วงฤดูออกผลผลิต แต่เมื่อหมดฤดูกาลออกผลิตก็จะไม่มีรายได้เข้า จนได้ไปเห็นมีคนเพาะเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในยูทูป ก็เกิดความสนใจและมีความต้องการที่จะเลี้ยง จึงได้มีการสั่งซื่อตามเบอร์โทรในยูทูป ในขณะที่รอนั้น ได้ไปเยี่ยมพี่สาวในตัวอำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย พบว่าพี่สาวก็กำลังเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองอยู่เช่นกัน พี่สาวจึงแบ่งขายให้มา 1 ลัง เป็นเงิน 400 บาท





หลังจากที่ได้มา ก็เริ่มทำกระชังเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง ขนาด 2 × 4 เมตร จำนวน 2 กระชัง ปรากฏว่าโตเร็วมากประมาณ 45-50 วันก็สามารถนำมารับประทานได้เลย ซึ่งรสชาติของหอยเชอรี่สีทองนั้น เนื้อจะกรุบๆ นุ่ม หวานมัน ไม่เหนียว ไม่มีกลิ่นคาว รสชาติคล้ายปลาหมึก เมื่อนำมาประกอบอาหารจะมีรสชาติอร่อย อีกทั้งหอยเชอรี่สีทอง ยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่เลี้ยงง่ายกว่าหอยโข่งหรือหอยขม อัตราการตายน้อย หรือเลี้ยงได้ 4 เดือน หอยเชอรี่สีทองก็จะโตเต็มที่ สามารถจับคู่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกขายได้เลย ส่วนอาหารที่หอยเชอรี่สีทองกิน จะเป็นพืชที่อวบน้ำ เช่น ผักบุ้ง ใบหม่อน ตะไคร้น้ำ แหน ผักตบชวา ต้นข้าว รวมทั้งอาหารเสริมก็คือ"หัวอาหารปลาดุกเล็ก" และหอยเชอรี่สีทองชอบกินมากที่สุด คือ "ดอกแก้วมังกร"





นายบุญจันทร์ ได้เล่าเพิ่มเติมว่า เริ่มแรกที่เลี้ยงจนโตได้ขนาดรับประทาน ตนก็ยังไม่ได้ขาย เอามาทำอาหารทานเองในครอบครัว มีเยอะก็เอาไปแจกชาวบ้าน ซึ่งหอยเชอรี่สีทองสามารถนำไปทำส้มตำ ต้ม ผัด แกง ทอด หรือลวกจิ้มได้ ใช้เวลาปรุงสุกแค่ 1 นาที ก่อนใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มเนื้ออกมาได้ง่ายๆ แต่เมื่อหอยเชอรี่สีทองมีปริมาณเยอะขึ้น จึงได้ขยายกระชังในการเลี้ยง จนปัจจุบันมีทั้งหมด 21 กระชัง และมีบ่อซีเมนต์ไว้สำหรับอนุบาลไข่หอยเชอรี่สีทอง จำนวน 10 บ่อ น้ำที่ใช้เลี้ยงก็ผันน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยทอน ซึ่งลงทุนไปทั้งหมดประมาณ 20,000 บาท ทั้งกระชัง บ่อซีเมนต์และระบบน้ำ ส่วนในเรื่องการตลาดได้มีลูกสาวเข้ามาช่วยในการขาย ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ในเพจเฟสบุ๊กชื่อ "สวนบุญจันทร์" โดยทางสวนจะขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์คู่ละ 40 บาท ขายไข่หอยเชอรี่สีทอง รังละ 10 บาทไม่รวมค่าส่ง ซึ่งไข่ 1 รังท่านำไปเลี้ยงก็จะได้หอยเชอรี่สีทองประมาณ 200 ตัว ซึ่งตั้งแต่ลูกสาวลงขายออนไลน์ในเพจเฟสบุ๊ค ก็เรื่มมีลูกค้าสนใจมากขึ้น และได้ขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมทั้งไข่ไปแล้ว 3 ล็อต สร้างรายได้ให้กับครอบครัวไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อวัน และวันนี้ยังได้แจกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ให้กับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมคนละ 5 คู่ เหตุผลก็คือ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวบ้าน เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง เป็นอาชีพทางเลือกที่ต้นทุนต่ำ และนำไปใช้ต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ต่อไป















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...