วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สุดคึกคักทั่วทุ่งนา!! ชาวบ้านพากันนำอุปกรณ์ดักจับปลาน้ำจืด หลังลำห้วยโมงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำบ่อปลาหลายแห่งพัง ปลาลอยตามน้ำลงทุ่งนาออกสู่ลำห้วย ชาวบ้านดักจับได้ปลาจำนวนมาก ทั้งนำไปปล่อยในบ่อของตัวเอง ขาย และนำไปบริโภค

วันที่ 6 ต.ค. 2565 ที่บริเวณริมทุ่งนา บ้านฝาง หมู่ 4 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย  ได้มีชาวบ้านในพื้นที่ต่างพากันนำอุปกรณ์ที่ใช้จับปลา มาดักจับปลาที่ลอยมากับสายน้ำในท้องทุ่งนาที่ถูกน้ำท่วม บริเวณเส้นทางไปยังห้วยน้ำลาน ซึ่งปลาที่ลอยมาทั้งหมด มีปลานิล ปลายี่สก ปลาตะเพียนขาว โดยอุปกรณ์ที่นำมาจับก็คือตึกสะดุ้ง(ยกยอ)




โดยชาวบ้าน บอกว่า ระดับน้ำในลำห้วยโมง ที่ไหลมาจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้บ่อปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้กว่า 50 บ่อ ในพื้นที่บ้านทุ่ม หมู่ 3 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ แตก ปลาที่เลี้ยงไว้ไหลตามน้ำที่หลากรุนแรง มาตามท้องทุ่งนาออกสู่ห้วยน้ำลาน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ทราบว่ามีปลาหลุดจากบ่อเลี้ยงปลา ต่างก็พาครอบครัวออกมาจับปลา ด้วยวิธีตึกสะดุ้ง(ยกยอ) โดยใช้เวลาในการจับไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ก็สามารถจับปลาได้เป็นจำนวนมาก โดยปลาที่ได้บางส่วนชาวบ้านจะนำไปเลี้ยงในบ่อปลาของตัวเอง บางส่วนก็ขายกิโลกรัมละ 20 บาท, 30 บาท และ 40 บาท บางคนจะนำไปบริโภคในครอบครัว รวมทั้งแจกจ่ายญาติพี่น้องด้วย











ชาวบ้านริมลำห้วยโมง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย กว่า 12 ครัวเรือน เร่งเก็บข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้าหนีน้ำ หลังน้ำป่าจาก จ.อุดรธานี และจ.หนองบัวลำภู ไหลมาตามลำห้วยโมงเพิ่มสูงขึ้น ชาวบ้านบางรายรีบนำเรือออกมาเตรียมไว้ใช้งาน

วันที่ 6 ต.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวได้ออกสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.หนองคาย พบว่าระดับน้ำในลำห้วยโมง ที่ไหลมาจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 20-40 ซ.ม.และน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตพื้นที่บ้านฝาง หมู่ 4 , บ้านอุ่มเย็น หมู่ 5 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ซึ่งบ้านเรือนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบเป็นบ้านที่อยู่ริมน้ำห้วยโมง กว่า 12 ครอบครัว ต้องเร่งเก็บข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งข้าวเปลือกขึ้นที่สูง เพราะเกรงน้ำจะท่วม และบ้านบางหลังมีการยกพื้นบ้านสูงขึ้นแล้ว แต่ไม่ทันได้เก็บข้าวของที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งระดับน้ำที่สูงขึ้นได้ไหลเข้าท่วมถนนที่ใช้สัญจรไปมาในหมู่บ้าน โดยมีระดับน้ำสูงกว่าผิวถนน 20 ซ.ม. ชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำ บางรายกลัวว่าน้ำจะท่วมสูงเหมือนปี 54 จึงรีบนำเรือออกมาเตรียมไว้ใช้งาน ส่วนผู้สูงอายุ กลัวน้ำจะท่วมสูงมากขึ้น และน้ำจะหลากมาในตอนกลางคืน กลัวจะหนีน้ำไม่ทัน จึงคอยเฝ้าระวังดูระดับน้ำไว้ตลอด




ซึ่งปริมาณน้ำในลำห่วยโมงที่สูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และบ่อปลา กว่า 100 ไร่ โดยชาวบ้านทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เมื่อรับรู้ว่าบ่อปลาน้ำท่วม ได้ออกมาจับปลาในบริเวณถนนเข้าบ้านอุ่มเย็น-บ้านทุ่ม จำนวนกว่า 10 คน โดยนำแห และอุปกรณ์จับปลา มาทอดแหและยกยอในพื้นที่ สามารถจับปลาที่หลุดออกจากบ่อได้จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่นำไปบริโภค 















วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

น้ำป่าจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ไหลตามลำห้วยโมงเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกว่า 10,000 ไร่ โรงผลิตน้ำดิบ 2 แห่ง ในเขตพื้นที่ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย ชาวบ้านนำกระสอบทรายต้านกระแสน้ำสำนักสงฆ์ยังเอาไม่อยู่ รถยนต์กระบะของชาวบ้านยังถูกน้ำซัดจม ทหารกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 13 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 ช่วยกู้ขึ้นบกสำเร็จ

วันที่ 5 ต.ค. 2565 พันโท พีรพัฒน์ พันสาง ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 13 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3  ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์ จ.อุดรธานี นำกำลังพลในสังกัด 20 นาย เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนกู้รถยนต์กระบะที่ถูกน้ำซัดจมข้างถนน ซึ่งเป็นถนนระหว่างหมู่บ้าน สองข้างทางเป็นนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมจนมิด ระดับน้ำสูงตั้งแต่ 30-100 เซนติเมตร หลังได้รับการประสานจาก อบต.นาข่า และหน่วยงานในพื้นที่ โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง สามารถกู้ขึ้นบกได้ 



นายจิรวัฒน์ ธรรมา เจ้าของรถ เล่าว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา รถยนต์กระบะคันดังกล่าว ได้มีชาวบ้านยืมไปช่วยขนกระสอบทรายทำพนังกันน้ำให้กับสำนักสงฆ์วังวารี ที่อยู่ริมลำห้วยซีด บ้านพฤษาหาร หมู่ 5 ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ซึ่งรถกระบะได้ฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวกรากถูกน้ำพัดจม อีกทั้งน้ำป่าจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ไหลตามลำห้วยโมงและลำห้วยซีดในปริมาณมาก มาบรรจบที่ลำห้วยโมงบ้านพฤกษาหาร ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ ส่งผลให้เอ่อล้นลำห้วยเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรกว่า 10,000 ไร่ 




นอกจากนี้ปริมาณน้ำจากลำห้วยซีดได้เพิ่มอย่างรวดเร็ว จนเป็นเหตุให้กระสอบทรายที่ทางชาวบ้านได้ดำเนินการทำเป็นพนังกั้นน้ำให้กับสำนักสงฆ์วังวารี พังทลาย ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมสำนักสงฆ์ฯ ที่มีพระจำพรรษาอยู่ 5 รูป ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ต้องใช้เรือท้องแบนนำยารักษาโรคและอาหารไปถวาย ซึ่งน้ำป่ายังไหลหลากท่วมถนนสายบ้านพฤกษาหาร ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย – บ้านโนนตาแสง ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี รถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้ รวมทั้งน้ำยังไหลหลากเข้าบ้านประชาชนอีก 1 หลัง ทำให้เครื่องมือการเกษตร รถยนต์กระบะที่หนีน้ำไม่ทัน ต้องจมอยู่ใต้น้ำ




ขณะเดียวกันนายชาญชัย บุญญานาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาข่า สังการให้เจ้าหน้าที่เร่งเคลื่อนย้ายมอเตอร์ปั้มน้ำในโรงผลิตน้ำดิบ 2 แห่ง ซึ่งเป็นสถานีผลิตน้ำประปาของอบต.นาข่า ที่ตอนนี้ได้ถูกน้ำท่วมขัง ไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้  อบต.นาข่าได้ประสานขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ค้างเคียง 3 แห่ง ได้แก่ อบต.น้ำโมง อบต.โคกคอน และอบต.บ้านว่าน ระดมรถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตรในพื้นที่ มาแจกจ่ายให้กับประชาชนถึงหน้าบ้านแห่งละ 4 เที่ยวต่อวัน ไปจนกว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติ













จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...