วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

มท.2 เปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีเทศบาลตำบลโพนสา ครั้งที่ 12 ประจำปี 2565 ชิงถ้วยพระราชทานกรมสมเด็จพระเทพฯ มุ่งอนุรักษ์ประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง

วันที่ 7 ต.ค. 2565 ที่ บริเวณลานวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขงหน้าวัดกุมภประดิษฐ์ บ้านโพนสา หมู่ที่ 2 ต.โพนสา อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีเทศบาลตำบลโพนสา ครั้งที่ 12 ประจำปี 2565 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยมี นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย (รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย) เป็นผู้กล่าวต้อนรับ มีว่าที่ร้อยตรี วิทยา คำพวง นายกเทศบาลตำบลโพนสา เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีนายกฤศภณ หล้าวงศา ว่าที่ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย , หัวหน้าส่วนราชการ , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ทีมเรือยาว รวมทั้งประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียง นักท่องเที่ยวร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก




ก่อนพิธีเปิดคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้อัญเชิญถ้วยพระราชทาน ออกจากที่ว่าการอำเภอท่าบ่อ แห่แหนตามประเพณีโบราณ ลงเรือที่ท่าน้ำหลังเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท่าเสด็จ) แห่มาทางลำแม่น้ำโขง นำมาขึ้นที่บริเวณท่าน้ำศูนย์แข่งขันเรือยาวหน้าวัดกุมภประดิษฐ์ อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่บูชา บนเวทีปะรำพิธีเปิดการแข่งขัน ต่อด้วยการแสดงสมโภชถ้วยพระราชทานฯ จากนักแสดงวงสีโหน้อยเทศบาลเมืองท่าบ่อ และกลุ่มรำไม้พองตำบลโพนสา





สำหรับการจัดการแข่งขันเรือยาวในครั้งนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันเรือยาว ได้เชิญทีมเรือที่มีชื่อเสียงจากต่างจังหวัด ในจังหวัดหนองคาย พื้นที่ใกล้เคียง และทีมเรือจากประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 20 ทีม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เรือยาวเล็ก 20-30 ฝีพาย ประเภทภายในจังหวัด จำนวน 8 ทีม  ,  เรือยาวใหญ่ 50-55 ฝีพาย ประเภททั่วไป จำนวน 18 ทีม โดยใช้เวลาในการแข่งขัน 2 วัน ( 6-7 ต.ค.2565) โดยวันนี้ 7 ต.ค. เป็นการแข่งขันเรือยาวใหญ่ 50-55 ฝีพาย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่สืบทอดกันมายาวนาน ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี ความสมานฉันในท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง




ซึ่งหลังพิธีเปิด คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ได้ปล่อยเรือยาวลงสู่สนามในแม่น้ำโขงทันที ท่ามกลางทีมพากษ์ฝีปากเอก จากทีมงานนักพากย์ขนมหวานเพชรบุรี กระตุ้นเสียงเชียร์ของประชาชนที่ชื่นชอบในเกมการแข่งขันเรือยาว เฝ้ารอชมเต็มริมฝั่งแม่น้ำโขงนับพันคน







วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สุดคึกคักทั่วทุ่งนา!! ชาวบ้านพากันนำอุปกรณ์ดักจับปลาน้ำจืด หลังลำห้วยโมงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำบ่อปลาหลายแห่งพัง ปลาลอยตามน้ำลงทุ่งนาออกสู่ลำห้วย ชาวบ้านดักจับได้ปลาจำนวนมาก ทั้งนำไปปล่อยในบ่อของตัวเอง ขาย และนำไปบริโภค

วันที่ 6 ต.ค. 2565 ที่บริเวณริมทุ่งนา บ้านฝาง หมู่ 4 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย  ได้มีชาวบ้านในพื้นที่ต่างพากันนำอุปกรณ์ที่ใช้จับปลา มาดักจับปลาที่ลอยมากับสายน้ำในท้องทุ่งนาที่ถูกน้ำท่วม บริเวณเส้นทางไปยังห้วยน้ำลาน ซึ่งปลาที่ลอยมาทั้งหมด มีปลานิล ปลายี่สก ปลาตะเพียนขาว โดยอุปกรณ์ที่นำมาจับก็คือตึกสะดุ้ง(ยกยอ)




โดยชาวบ้าน บอกว่า ระดับน้ำในลำห้วยโมง ที่ไหลมาจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้บ่อปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้กว่า 50 บ่อ ในพื้นที่บ้านทุ่ม หมู่ 3 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ แตก ปลาที่เลี้ยงไว้ไหลตามน้ำที่หลากรุนแรง มาตามท้องทุ่งนาออกสู่ห้วยน้ำลาน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ทราบว่ามีปลาหลุดจากบ่อเลี้ยงปลา ต่างก็พาครอบครัวออกมาจับปลา ด้วยวิธีตึกสะดุ้ง(ยกยอ) โดยใช้เวลาในการจับไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ก็สามารถจับปลาได้เป็นจำนวนมาก โดยปลาที่ได้บางส่วนชาวบ้านจะนำไปเลี้ยงในบ่อปลาของตัวเอง บางส่วนก็ขายกิโลกรัมละ 20 บาท, 30 บาท และ 40 บาท บางคนจะนำไปบริโภคในครอบครัว รวมทั้งแจกจ่ายญาติพี่น้องด้วย











ชาวบ้านริมลำห้วยโมง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย กว่า 12 ครัวเรือน เร่งเก็บข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้าหนีน้ำ หลังน้ำป่าจาก จ.อุดรธานี และจ.หนองบัวลำภู ไหลมาตามลำห้วยโมงเพิ่มสูงขึ้น ชาวบ้านบางรายรีบนำเรือออกมาเตรียมไว้ใช้งาน

วันที่ 6 ต.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวได้ออกสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.หนองคาย พบว่าระดับน้ำในลำห้วยโมง ที่ไหลมาจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 20-40 ซ.ม.และน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตพื้นที่บ้านฝาง หมู่ 4 , บ้านอุ่มเย็น หมู่ 5 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ซึ่งบ้านเรือนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบเป็นบ้านที่อยู่ริมน้ำห้วยโมง กว่า 12 ครอบครัว ต้องเร่งเก็บข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งข้าวเปลือกขึ้นที่สูง เพราะเกรงน้ำจะท่วม และบ้านบางหลังมีการยกพื้นบ้านสูงขึ้นแล้ว แต่ไม่ทันได้เก็บข้าวของที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งระดับน้ำที่สูงขึ้นได้ไหลเข้าท่วมถนนที่ใช้สัญจรไปมาในหมู่บ้าน โดยมีระดับน้ำสูงกว่าผิวถนน 20 ซ.ม. ชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำ บางรายกลัวว่าน้ำจะท่วมสูงเหมือนปี 54 จึงรีบนำเรือออกมาเตรียมไว้ใช้งาน ส่วนผู้สูงอายุ กลัวน้ำจะท่วมสูงมากขึ้น และน้ำจะหลากมาในตอนกลางคืน กลัวจะหนีน้ำไม่ทัน จึงคอยเฝ้าระวังดูระดับน้ำไว้ตลอด




ซึ่งปริมาณน้ำในลำห่วยโมงที่สูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และบ่อปลา กว่า 100 ไร่ โดยชาวบ้านทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เมื่อรับรู้ว่าบ่อปลาน้ำท่วม ได้ออกมาจับปลาในบริเวณถนนเข้าบ้านอุ่มเย็น-บ้านทุ่ม จำนวนกว่า 10 คน โดยนำแห และอุปกรณ์จับปลา มาทอดแหและยกยอในพื้นที่ สามารถจับปลาที่หลุดออกจากบ่อได้จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่นำไปบริโภค 















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...