วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ยิ่งใหญ่อลังการ! การแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม “ประทีปนาคา บูชาพระสัพพัญญู” บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของหนองคาย ตั้งแต่ตำนาน ประเพณี จนถึงปัจจุบันจากแสดงกว่า 150 ชีวิต

ช่วงค่ำวันที่ 8 ต.ค.2565 ที่เวทีการแสดง แสง สี เสียง สื่อผสม ลานวัฒนธรรมริมแม่น้ำโขง บริเวณชุมชนโพธิ์ศรี อ.เมือง จ.หนองคาย นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย /รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีออกพรรษาและเทศกาลบั้งไฟพญานาค ประจำปี 2565 โดยมีนายอุรุยศ เอียสกุล นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย เป็นผู้กล่าวรายงาน มีคณะผู้ลริหารเทศบาลฯ , หัวหน้าส่วนราชการ , ประชาชน และนักท่องเที่ยวร่วมพิธิเปิดจำนวนมาก



ภายหลังพิธีเปิดฯ ก็มีการแสดงของนักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย ก่อนจะมีการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม ที่มีชื่อว่า “ประทีปนาคา บูชาพระสัพพัญญู” ที่หมายถึงลูกไฟขององค์พญานาคที่พ่นขึ้นมาเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า มีฉากหลังเป็นจอแอลอีดีขนาดใหญ่ มีการนำภาพ 3D มาประกอบการแสดง เพื่อให้ฉากมีความสมจริง เคลื่อนที่ได้ ที่ถือเป็นกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ ของงานประเพณีออกพรรษาและเทศกาลบั้งไฟพญานาค ประจำปี 2565 การแสดงประกอบไปด้วย 4 องค์ เป็นการเล่าเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดของหนองคาย เริ่มตั้งแต่ตำนาน ประเพณี มาจนถึงปัจจุบัน องค์ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการเกิดแม่น้ำโขง , องค์ที่ 2 วิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขง ที่จะผูกวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงเข้ากับความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับพญานาคทั้ง 4 ตระกูล ผูกต่อรวมไปกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวหนองคาย คือพระสุก พระเสริม พระใส และพระธาตุหล้าหนอง ที่มีองค์พญานาครักษา , องค์ที่ 3 เป็นตำนานของ “บั้งไฟพญานาค” เป็นความเชื่อเรื่องของการเกิด “บั้งไฟพญานาค” และองค์ที่ 4 เป็นประเพณีออกพรรษาของจังหวัดหนองคาย การแสดงทั้ง 4 องค์จะมีเวลาแตกต่างกันออกไป แต่องค์ที่พิเศษคือองค์ที่ 2 และองค์ที่ 3 ที่เป็นเรื่องราวของพญานาคและบั้งไฟพญานาค รวมแล้วใช้เวลาในการแสดงประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้นักแสดงที่ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและบุคลกรจากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย โดยเฉพาะโรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา และโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง กว่า 150 คน



ทั้งนี้เทศบาลเมืองหนองคาย ร่วมกับ อบจ.หนองคาย ส่วนราชการต่าง ๆ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 7 – 13 ตุลาคม 2565 ณ บริเวณวัดหายโศก , ลานวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่หน้าวัดลำดวนถึงพระธาตุหล้าหนอง และภายในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย



กิจกรรมที่สำคัญภายในงานประกอบ พิธีบวงสรวงและรำบูชาพญานาค , การแสดง แสง สี เสียง จากนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย , พิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง , พิธีบวงสรวงพระธาตุกลางน้ำ , พิธียกฉัตรพระธาตุหล้าหนอง (พระธาตุกลางน้ำจำลอง) , กิจกรรมตักบาตรเทโวโรหนะ , กิจรรมถนนอาหาร , กิจกรรมถนนคนเดิน , กิจกรรมแข่งเรือประเพณี , กิจกรรมลอยกระโป๋ไฟบูชาพระแม่คงคา ,กิจกรรมชกมวยแมกไม้มวยไทย และกิจกรรมอื่น ๆ อีกหลากหลายกิจกรรม
















วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รองผู้ว่าฯหนองคาย เปิดงานประเพณีออกพรรษาและบั้งไฟพญานาคโลก อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2565 มีนางรำจากทุกตำบลกว่า 1,000 ชีวิตร่วมรำบวงสรวงบูชาพญานาค หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมปรากฏการบั้งไฟพญานาคในช่วงเทศกาลออกพรรษาเพิ่มมากขึ้น


วันที่ 8 ต.ค. 2565 ที่ลานวัฒนธรรมเทศบาลเมืองท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวงเครื่องสังเวยแก่พญานาค เทวดาฟ้าดิน พระภูมิเจ้าที่และพระแม่คงคา เพื่อเป็นสิริมงคลของการจัดงานฯ โดยมี นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงาน พ่อค้า ประชาชนร่วมในพิธีฯ จากนั้นนางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดงาน "เทศกาลออกพรรษาและบั้งไฟพญานาคโลก อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประจำปื 2565" และพิธีรำบวงสรวง โดยมีนางรำจากทุกตำบลของอำเภอท่าบ่อกว่า 1,000 คน ร่วมฟ้อนรำบูชาพญานาคย่างพร้อมเพียงและสวยงาม




นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ กล่าวว่า ด้วยจังหวัดหนองคาย ได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์จังหวัด คือการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเป้าหมายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดหนองคาย และกำหนดให้มีปฏิทินการท่องเที่ยวตลอดทั้งปีในแต่ละอำเภอ จากศักยภาพและความโดดเด่นของจังหวัดหนองคายด้านการท่องเที่ยว โดยมีปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาค ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทำให้นักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคที่จังหวัดหนองคายเป็นจำนวนมาก สามารถสร้างรายได้ประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี




เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างกิจกรรมการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยี่ยมชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคในช่วงเทศกาลออกพรรษา  ของจังหวัดหนองคายให้เพิ่มมากขึ้น อำเภอท่าบ่อจึงได้จัดงาน "เทศกาลออกพรรษาและบั้งไฟพญานาคโลก อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประจำปื 2565" ในวันที่ 8 ต.ค. 2565 ณ ลานวัฒนธรรมเทศบาลเมืองท่าบ่อ กิจกรรมประกอบด้วย รำบวงสรวงพญานาค, การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองพานพร้าวและบั้งไฟพญานาค และฟ้อนพุทธบูชาลีลานาคราช
















"นายกภุชงค์" จัดศึกชิงเจ้าสายน้ำแข่งเรือยาวใหญ่ 55 ฝีพาย มีทีมเรือจาก สปป.ลาว ร่วมประลองความเร็ว หวังชิงถ้วยและเงินรางวัล 100,000 บาท

วันที่ 8 ต.ค.2565 ที่ สนามลำแม่น้ำโขง หน้าวัดหาดปทุม หมู่ 2 เขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายภุชงค์ ชานันโท นายกเทศมนตรีตำบลศรีเชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันเรือยาว ได้จัดงานประเพณีแข่งขันเรือยาว ประจำปี 2565  โดยมี ท่านดวงตา สุริวง เจ้าเมืองจันทบุรี , ท่านธง หดทิลาด รองเจ้าเมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ร่วมชมการแข่งขัน




การจัดงานครั้งนี้ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมการแข่งขันเรือยาว เอกลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน รวมไปถึงส่งเสริมการแข่งขันกีฬาทางน้ำ สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างช่องทางการตลาดแก่ผู้ประกอบการที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว



ส่วนการแข่งขันเรือยาวประเพณีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เรือกาบ 5 ฝีพาย ภายในชุมชน 8 ชุมชน จัดแข่งขันเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา และวันนี้(8 ต.ค.) เป็นการแข่งขันเรือยาวใหญ่ 55 ฝีพาย ประเภททั่วไปไทย-ลาว มีทีมเรือเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 5 ทีม แบ่งเป็นทีมเรือจากประเทศไทย 3 ทีม เรือจากสปป.ลาว 2 ทีมร่วมชิงชัยระยะทาง 900 เมตร โดยทีมเรือที่ชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท , อันดับที่ 2 รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท , อันดับที่ 3 รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท, อันดับที่ 4 รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท และอันดับที่ 5 รับเงินรางวัล 5,000 บาท



สำหรับเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่าน เป็นแม่น้ำกั้นระหว่างอำเภอศรีเชียงใหม่กับนครหลวงเวียงจันทน์ และแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านยังมีความสำคัญทั้งในด้านการเดินทาง การเกษตร การค้าขาย การพาณิชย์ รวมไปถึงการทำกิจกรรมทางสายน้ำทั้งไทยและสปป.ลาว เช่น การแข่งขันเรือยาวที่ผ่านมาเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ มีการจัดแข่งขันเรือพื้นบ้านและเรือยาวเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ลาวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ได้เว้นการจัดงานไป 3 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19




จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...