วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

งประเพณีกำฟ้า เพื่อการเซ่นสรวง สักการะบูชาผีฟ้า ของชุมชนไทยพวนโพธิ์ตาก จ.หนองคาย

ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิรุกขาราม ร่วมกับวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย จัดกิจกรรมประเพณีกำฟ้า เผาข้าวลาม จี่ข้าวจี การละเล่นพื้นบ้านโบราณ เพื่อเป็นการขอบคุณต่อเจ้าชมพู เจ้าเมืองพวนประเทศลาวในอดีต และเทพยะดาแห่งท้องฟ้า หรือผีฟ้า ของชุมชนไทยพวนโพธิ์ตาก


วันที่ 12 ก.พ. 2567 เวลา 09.00 น. ที่ วัดโพธิรุกขาราม บ้านโพธิ์ตาก หมู่ 2  ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย นายกฤษฎา โพธิ์ชัย นายอำเภอโพธิ์ตาก เป็นประธานเปิดกิจกรรมประเพณีกำฟ้า ประจำปี 2567 ที่ ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิรุกขาราม ร่วมกับวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย จัดให้มีขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูให้ประเพณีนี้ยังคงอยู่ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป เพื่อเป็นการขอบคุณต่อเจ้าชมพู ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพวนประเทศลาวในอดีต และเทพยะดาแห่งท้องฟ้า หรือผีฟ้า รวมทั้งการสร้างสรรค์ความสมานสามัคคีของชุมชนไทยพวนโพธิ์ตาก ได้กำหนดประเพณีกำฟ้า ในวันขึ้น 3ื ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี  



ภายในงานมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรรอบพระอุโบสถวัดโพธิรุกขาราม, พิธีถวายบูชาเจ้าชมพู เจ้าเมืองพวน แขวงเชียงขวาง สปป.ลาว องค์ที่ 43 , เล่าเรื่องเกี่ยวกับบุญกำฟ้า โคยปราชญ์ชาวบ้าน, การแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาวแล โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลโพธิ์ตาก , ฐานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจึ่ข้าวจี่ การทำและเผาข้าวหลาม การตำข้าวเม่าแบบโบราณ การจูบหอย รวมทั้งการละเล่นพื้นบ้านโบราณ เช่น เดินโก่งโกะ เดินโก่งเกว หมากเก็บ ยิงสะบ้า โยนหลุม จูมบาน และม้าก้านกล้วย




นายจิรายุทธ บุญธรรม กำนันตำบลโพธิ์ตาก กล่าวว่า "กำฬา" เป็นประเพณีของชาวไทยพวนในจังหวัดต่างๆ ที่มีชาวพวนอาศัยอยู่ ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ "กำ" ในภาษาไทยพวน หมายถึง การนับถือและสักการะบูชา ดังนั้น กำฟ้าจึงหมายถึงประเพณีนับถือ สักการะบูชาฟ้า เนื่องจากชาวพวนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ในสมัยดั้งเดิมในการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ชาวนาสมัยนั้นมีการเกรงกลัวฟ้ามาก ไม่กล้าที่จะทำอะไรให้ฟ้าพิโรธ  ถ้าฟ้าพิโรธหมายถึงความแห้งแล้ง อคอยาก หรือฟ้าอาจผ่าคนตาย ประชาชนกลัวจะได้รับความทุกข์ยากอันเป็นภัยจากฟ้า จึงมีการเซ่นสรวง สักการะบูชาผีฟ้า เพื่อเป็นการเอาใจมิให้ฟ้าพิโรธ หรืออีกนัยหนึ่งชาวเกษตรรู้สึกสำนึกในบุญคุณของผีฟ้า ที่ได้ให้น้ำฝน อันหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ มีชีวิตของคน สัตว์ และพืชพรรณต่างๆ จึงได้เกิดประเพณีกำฬขึ้น เพื่อเป็นการประจบผีฟ้าไม่ให้พิโรธ และเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพยะคาแห่งท้องฟ้าหรือผีฟ้า 




กำนันตำบลโพธิ์ตาก กล่าวอีกว่า ประเพณีกำฬา ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในหมู่ชาวบ้านพวนทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ละท้องที่จะกำหนดวัน เวลา คาดเคลื่อนกันไปบ้างในห้วงเวลาของเดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ ขึ้น 13 ค่ำ และเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ทั้งนี้เป็นการตกลงของชาวพวนในแต่ละท้องที่ซึ่งมีกิจกรรม พิธีกรรมที่ชาวพวนถือปฏิบัติกันในระหว่างกำฬา มี 3 ประการ คือ 1. งดเว้นจากการงานที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำทั้งหมด , 2. ทำบุญใส่บาตร และ 3. ประกอบพิธิ ตั้งบายศรีบูชาฟ้าและประกาศขอพรจากเทพยะดาที่รักษาท้องฟ้า หรือผีฟ้า มีการละเล่นสนุกสนาน และด้วยชุมชนบ้านโพธิ์ดาก เป็นชุมชนไทยพวน ยึดถือประเพณีกำฬามาแต่บรรพบุรุษ จึงได้พร้อมใจกันจัดทำบุญกำฬาขึ้น โดยมีชมรมไทยพวนโพธิ์ตาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู นักเรียน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...