วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรือมิดเดิ้ลฟิลต์ รีสอร์ท 1 คว้าชัย งานประเพณีแข่งเรือพายพื้นบ้าน 5 ฝีพายของชาวบ้านน้ำโมง ประจำปี 2563


บรรยากาศช่วงเย็นวันนี้ 18 ส.ค. 63 ที่บริเวณท่าน้ำวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนเดินทางมาร่วมชมการแข่งขันเรือพายพื้นบ้าน(เรือประมง) 5 ฝีพาย ในวันบุญเดือนเก้าห่อข้าวประดับดิน ประจำปี 2563 ของชาวบ้านน้ำโมง ทั้ง 4 ชุมชนร่วมกันจัดขึ้น เพื่ออนุรักษ์การแข่งขันเรือให้คงอยู่คู่กับอำเภอท่าบ่อสืบไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ




โดยผลการแข่งขัน เรือผู้ชนะประเภท ก. คือเรือ มิดเดิ้ลฟิลต์ รีสอร์ท 1, รองชนะเลิศอันดับ 1 คือเรือ ลำน้ำโมง, รองชนะเลิศอันดับ 2 คือเรือ ธิดาคำแก้ว และรองชนะเลิศอันดับ 3 คือเรือ แมนมอเตอร์ รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 4,000, 3,000, 2,000 และ 1,000 บาทตามลำดับ จากนายปราการ อินทร์รอด ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย

ส่วนผลการแข่งขันผู้ชนะประเภท ข. คือเรือ มิดเดิ้ลฟิลต์ รีสอร์ท 3, รองชนะเลิศอันดับ 1 คือเรือ พรหลวงพ่อทองแสน รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 800, และ 600 บาทตามลำดับ รองชนะเลิศอันดับ 2 คือเรือ  มิดเดิ้ลฟิลต์ รีสอร์ท 2 และรองชนะเลิศอันดับ 3 คือเรือ ธิดาดอนลาน รับเงิลรางวัล 500 และ 400 บาทตามลำดับ








ชาวบ้านน้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ร่วมกันสืบสานงานประเพณีแข่งขันเรือพายพื้นบ้าน 5 ฝีพาย ในวันบุญเดือนเก้าห่อข้าวประดับดิน ประจำปี 2563


วันที่ 18 ส.ค. 63 ที่บริเวณท่าน้ำวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายอมรวิทย์ เปียผ่อง อดีตรองนายกเมืองท่าบ่อ เป็นประธานเปิดงานประเพณีแข่งขันเรือพื้นบ้าน 5 ฝีพาย ของชาวชุมชนศรีบุญเรือง, ชุมชนศรีมงคล, ชุมชนศรีชมภู และชุมชนโรงเรียนเก่า ตลอดจนห้างร้านต่างๆ ในพื้นที่ ได้ร่วมกันจัดการแข่งขันขึ้นในวันบุญเดือนเก้าห่อข้าวประดับดิน ประจำปี 2563





นางพวง โคตรชมภู ประธานชุมชนศรีมงคล กล่าวว่า การแข่งขันเรือเป็นกีฬาพื้นบ้านที่นิยมเล่นสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านที่อยู่ริมน้ำจะใช้เรือเป็นพาหนะ บางแห่งจัดการแข่งขันเรือเพื่อบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ สำหรับชาวบ้านน้ำโมงทั้ง 4 ชุมชน จะจัดงานประเพณีแข่งขันเรือพายในวันบุญเดือนเก้าห่อข้าวประดับดิน เป็นประจำทุกๆ ปี เพื่ออนุรักษ์การแข่งขันเรือให้คงอยู่คู่กับอำเภอท่าบ่อสืบไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ






สำหรับในปีนี้ได้จัดการแข่งขันตามมาตรการของ ศบค. ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยทำการแข่งขันเรือพายพื้นบ้าน(เรือประมง) ไม่เกิน 5 ฝีพายเฉพาะภายในอำเภอท่าบ่อ แยกเป็น 2 ประเภท คือประเภททั่วไปและประเภทอายุ 50 ปีขึ้นไป ชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัลรวมกว่า 10,000 บาท.
















วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผู้ว่าฯหนองคาย ลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ


วันที่ 17 ส.ค. 63 ที่อาคารอุทุมพร องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (โครงการพัฒนากลุ่มอาชีพจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย) โดยมี นายนวน โทบุตร นายอำเภอทำบ่อ, นายโสภณ สรรพศิลป์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเดื่อ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ, ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน,  กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหนองคาย, เจ้าหน้าที่ที่เกี้ยวข้องและประชาชนตำบลบ้านเดือ ร่วมให้ต้อนรับ





ทั้งนี้ อำเภอทำบ่อ จังหวัดหนองคาย มีกลุ่มอาชีพจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่สำคัญในพื้นที่ตำบลบ้านเดื่อ มีการรวมกลุ่มกันนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตเป็นเครื่องจักสานจำหน่ายในพื้นที่ แต่ปัจจุบันทางกลุ่มมีความต้องการขยายจำนวนสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้สามารถผลิตเครื่องจักสานจำหน่ายออกสู่ตลาดได้มากขึ้น  ซึ่งเป็นการขยายผลตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ของประชาชนตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยโครงการที่เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอท่าบ่อ มีอาชีพทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ซึ่งสามารถจำหน่ายได้และตลาดรองรับ เป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่อย่างยังยืน






อำเภอท่าบ่อ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากลุ่มอาชีพจักสานผลิตภัณฑ์จากไผ่ขึ้น โดยเป็นลักษณะของการจัดอบรมให้ความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ซึ่งเป็นการส่งเสริมอาชีพของราษฎรในพื้นที่ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีผู้เข้ารับการอบรมตามโครงการจำนวน 50 คน.

















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...