วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รองผู้ว่าฯ หนองคาย เปิดประชุมสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ครั้งแรก เพื่อคัดเลือกประธานสภา รองประธานสภา และเลขานุการ


วันที่ 3 พ.ค. 64 เวลา 14.00 น. ที่ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ชั้น 2 อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้นายณัฐวัสส์ วิริยาณภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการประชุมสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ครั้งแรก ตามที่เทศบาลเมืองท่าบ่อ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 จากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ จำนวน 18 คน ซึ่งครบกำหนดตามจำนวน เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 ตามมาตรา 24 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้กำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาล มีการประชุมสภาเทศบาล ครั้งแรก ภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล โดยมี นายกิตติศักดิ์  วรรณวิเขษฐ์ นายกเทศมนตรีเมืองท่าบ่อ, นายเฉลิมศักดิ์ จรัสจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายและเรื่องร้องทุกข์ และนางรุ่งจิตร อรรถสาร ท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ร่วมเป็นเกียรติในการประชุมสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ในครั้งนี้




ทั้งนี้ ก่อนการประชุมสภาฯ นายมานะชาย เจริญสุข ซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ผู้อาวุโสสูงสุด ได้ปฎิบัติหน้าที่ประธานสภาชั่วคราว นำสมาชิกสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ทั้ง 18 คน กล่าวคำปฏิญาณตน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496



จากนั้น มีการเลือกประธานสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ รองประธานสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ และเลขานุการสภาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติเลือก นายมนูญ อิสิ สมาชิกสภาเทศบาลฯ เขต 1 กลุ่มรักท่าบ่อน้ำโมงก้าวหน้า เป็นประธานสภาฯ, นายไพฑูรย์ ทับภูตา สมาชิกสภาเทศบาลฯ เขต 3 ผู้สมัครอิสระ  เป็นรองประธานสภาฯ และนายประดับ สังฆมณี  ปลัดเทศบาลเมืองท่าบ่อ เป็นเลขานุการสภาฯ และได้มีการกำหนดวันเริ่มประชุมสมัยสามัญประจำปี สมัยแรก ของปี 2564 ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2464 - 2 มีนาคม 2564 มีกำหนด 30 วัน และเสนอให้มีการประชุมสมัยประชุมสามัญประจำปี สมัยที่สอง ของปี 2554 ระหว่างวันที่ 1-30 พฤษภาคม 2564 นี้










วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พฤศจิกายนนี้ โควิดก็จบ! ย้อนคำทำนาย นักพยากรณ์ เด็กชาวอินเดีย วัย 14 ปี ที่ได้พยากรณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งก่อนหน้านี้ คนนี้เคยพยากรณ์เรื่องราคาทอง และเงินของอินเดีย ได้อย่างแม่นยำ

เรียกได้ว่าเรื่องราวความเชื่อศาสตร์การพยากรณ์ ทุกประเทศต่างก็มีความเชื่อที่ต่างกันออกไป อย่างเช่นเรื่องราวต่อไปนี้ ที่ใครๆก็ต่างอยากให้หมดไป นั่นก็คือ โควิด 19  ที่ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ออกมาโพสต์ภาพของ นักพยากรณ์ชาวอินเดีย วัย 14 ปี ที่ได้พยากรณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งก่อนหน้านี้ คนนี้เคยพยากรณ์เรื่องราคาทอง และเงินของอินเดีย ได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งเรื่องของไวรัสโควิด 19 ด้วยเช่นกัน

ซึ่งในโพสต์ของเขาได้ระบุว่า เด็กอินเดียที่ทำนายดวงดาว ได้แม่นยำมาก เรื่องไวรัส จะแย่ที่สุดวันที่ 31 มีค และ1 เมย และจะค่อยคลี่คลาย และหายไปในเดือน พค วันนี้และพรุ่งนี้ระวังอย่าออกไปไหน รุนแรงที่สุด เพราะดาวต่างๆ มารวมตัวกัน

การระบาดของโคโรน่าไวรัส จะปิดฉากลงวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ ตามคำทำนายของ เด็กชายชาวอินเดีย ที่ได้ทำนายระยะเวลาเวลาของการเกิดการระบาดไว้ถูกต้อง เมื่อ 8 เดือนที่แล้ว Abighya Anand ชาวอินเดีย อายุ 14 ได้กล่าวไว้ว่า ชาวโลกจะต้องประสบกับช่วงเวลาที่แสนสาหัส ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2019


เขากล่าวว่า coronavirus เป็นสงครามของชาวโลก สงครามระหว่างไวรัสกับมนุษยชาติ และเหตุผลที่ Anand ชื่อว่า วันที 31 มีนาคม จะเป็นวันที่เลวร้ายที่สุด เพราะเป็นเรื่องของดวงดาว ดาวอังคารจะโคจรมาพบกับดาวเสาร์ และดาวพฤหัส โคจรพบกับดวงจันทร์ และดาวราหู ซึ่งดาวราหูเป็นส่วนหนึ่งทีอยู่ทางทิศเหนือของดวงจันทร์

และนอกจากนั้นนอกยังทำนายไว้อีกว่ามันจะมีความรุนแรงขึ้นในช่วง 29 มีนาคม – 1 เมษายน ซึ่งก็ถือว่าตรงกับช่วงที่มีผู้เสียชีวิตในทวีปอเมริกาและยุโรปมาก โดยสาเหตุของโรคระบาดนี้ถือว่าเป็นกรรมของมนุษย์ โดยมันเกิดมาจากที่มนุษย์เราทำลายโลกและทิ้งขว้างอาหาร และในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ มันจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น

แต่หลังจากนั้นมันจะตกหนักกลับมาเหมือนเดิม และในเดือนมิถุนายนนี้ทั่วโลกจะไม่มีข่าวดีเลย และนับ 5 เดือนจากมิถุนายนสิ่งต่างๆ จะดีขึ้น แต่จะกลับมาระบาดหนักอีกครั้งในวันที่ 21 ธันวาคม และในส่วนที่โรคนี้จะสิ้นสุดลงในช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2021




จนท.สาธารณสุข จ.หนองคาย ออกค้นหาผู้ติดเชื้อโควิดเชิงรุก พนักงานบิ๊กซีโพนพิสัย ผลตรวจไม่พบเชื้อ

วันที่ 2 พ.ค. 64 เจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนพิสัย และโรงพยาบาลโพนพิสัย ได้ร่วมดำเนินการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก กลุ่มพนักงานห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาโพนพิสัย จำนวน 60 คน ผลตรวจไม่พบเชื้อ 

ได้เน้นย้ำมาตรการคัดกรองตามแนวทางของสาธารณสุข มีการทำ Big Cleaning ทั่วทั้งบริเวณห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากทางห้างเป็นอย่างดี และดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่อง


#สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย







ลาวผู้ป่วยเชื้อโควิดพุ่ง 112 คน ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 933 คน ผู้ติดเชื้อมากสุดแขวงบ่อแก้ว

ในกลุ่ม"ข่าวในลาว" ได้รายงานว่า วันนี้ 2 .05.2021 (2 พ.ค. 64) กระทรวงสาธารณสุขของ สปป.ลาว ได้รายงานสถิติผู้ติดเชื้อโควืด-19 ใหม่จำนวน 112 คน  ยอดผู้ป่วยสะสม จำนวน 933 คน  ซึ่งผู้ป่วย 112 คน ถือเป็นสถิติสูงสุดอันอับ 2  ที่มีผู้ป่วยรายวันมากกว่า 100 คน โดยสถิติอันดับ 1 จำนวน 113 คน เมื่อวันที่ 27 เม.ย.64  ปัจจุบันเหลือเพียงแขวงบอลิคำไซ แขวงหัวพัน และแขวงไซสมบูน ที่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยจากโรคโควิด-19  แต่อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์เป็นที่เรียบร้อย เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง

ทั้งนี้ ลาวยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว และยังเหลือผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอีก 882 คน ขณะที่ผลการจำแนกผู้ป่วยกลุ่มล่าสุดปรากฏว่า  พบที่แขวงบ่อแก้วมากที่สุด 60 คน ตามด้วยนครหลวงเวียงจันทน์ 34 คน แขวงจำปาสัก 11 คน แขวงสะหวันนะเขต 3 คน แขวงเวียงจันทน์ 3 คน และแขวงบอลิคำไซ 1 คน 


ด้าน พญ.สมมะนา รัดตะนา รองผู้อำนวยการสำนักงานบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขลาว กล่าวว่า นครหลวงเวียงจันทน์มีจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลมากที่สุด คืออย่างน้อย 452 คน หนึ่งในนั้นมีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ปัจจุบันลาวกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกที่สอง ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์บี 117 จากสหราชอาณาจักร ซึ่งแพร่กระจายได้รวดเร็วมาก โดยผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในลาวเพิ่มขึ้นแบบกู้าวกระโดดมากกว่า 700 คน ตั้งแต่ดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และยังไม่มีแนวโน้มลดลง จึงขอให้ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่งของทางการ "อย่างเคร่งครัด"

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

คณะกรรมการเฉพาะกิจแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของลาว แจ้งให้หน่วยงานระดับแขวงเร่งดำเนินการเพิ่มมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทม์สรายงานในวันนี้ว่า ทางการได้ดำเนินมาตรการล็อกดาวน์ทุกแขวง แม้ว่าแขวงอัตตะปือ, ไชยสมบูรณ์ และหัวพัน ยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็ตาม ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการเฉพาะกิจแห่งชาติได้จัดการประชุมทางวิดีโอร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยขอให้หน่วยงานท้องถิ่นเพิ่มความพยายามในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

นายกิแก้ว ไขคำพิทูน หัวหน้าคณะกรรมการเฉพาะกิจแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 กล่าวกับผู้เข้าร่วมการประชุมให้เร่งติดตามตัวผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้ออย่างเร่งด่วนเพื่อนำมาตรวจหาเชื้อโควิด-19

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ระดับแขวงได้รับคำสั่งให้ทำการลาดตระเวนบริเวณชายแดนต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เดินทางเข้าประเทศลาวอย่างผิดกฎหมาย

นายกิแก้วได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการตรวจสอบสถานที่ต่างๆ ที่ถูกสั่งให้ปิดทำการ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่ง

ทั้งนี้ ข้อมูลระบุว่า ลาวมียอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศ 672 ราย และได้รับการรักษาจนหายดีแล้วอยู่ที่ 51 ราย

ด่วน! ผู้ว่าฯหนองคาย ขอความร่วมมือประชาชนงดออกจากบ้านตั้งแต่เวลา 5 ทุ่ม ถึงตี 4 และขอความร่วมมือประชาชนงด หรือชะลอการเดินทางไปในจังหวัดพื้นที่เสี่ยงโควิด-19

วันที่ 30 เม.ย. 64 นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้ลงนามคำสั่ง ฉบับที่ 5 /2564 เรื่อง การปฏิบัติเพื่อควบคุมป้องกันและสกัดกั้นการติดและแพรเชื้อโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19) จังหวัดหนองคาย ระบุว่า ตามที่ได้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ขณะนี้ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในหลายพื้นที่และหลายจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งมีข้อมูลว่าเป็นเชื้อโรคสายพันธุ์ที่สามารถแพร่ระบาดได้รวดเรีวกว่าสายพันธุ์ปกติ โดยผู้ติดเชื้อบางรายมิได้แสดงอาการของโรค แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้สัมผัสใกลัชิตอื่นได้ หากไม่มีการป้องกันโรคที่ดีและเข้มงวด นั้น

เพื่อให้การฝ้าระวังสกัดกั้นยับยั้งป้องกันควบคุมและแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในพื้นที่ จังหวัดหนองดาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตาใมาตรการควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้น จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 (7) แห่งพระราชบัญญัติโรคติตต่อ พ.ศ.2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ท.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ข้อ 7 (1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเงิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 และ ข้อกำหนดออกหามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ถุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย และประธานคณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัดหนองคาย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองตาย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 จึงประกาศ ให้ปฏิบัติตังนี้

1.ขอความร่วมมือประชาชนงด หรือชะลอการเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะกานหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในเขตจังหวัดหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคหรือพื้นที่เฝ้าระวังโรค

2.ให้ผู้บังคับบัญชามีดุลยพินิจและพิจารณาอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด ที่มีประวัติการเดินทางเข้าไปในและกลับจากพื้นที่จัดให้เป็นพื้นที่เสี่ยงและมีการระบาดของโรค ให้ปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง (Work From Home) ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ ไม่ส่งผลเสียต่อภารกิจของหน่วยงานและประชาชน

3. ขอความร่วมมือประชาชนงดออกนอกเคหสถานหรือที่ทำนัก ภายหลังเวลา 23.00 น. จนถึงเวลา 04.00 น. ของวันถัดไป เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจหลีกเสี่ยงได้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่จะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

อนึ่ง ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำที่อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ตามมาตรา 16 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คู่กรณีไม่อาจใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งนี้ได้




ผู้ว่าฯหนองคาย ออกคำสั่งปิดสถานที่ สถานบันเทิง ห้ามรวมกลุ่มสังสรรค์ ต้องสวมหน้ากากออกจากบ้าน ส่วนร้านอาหาร เปิดไม่เกิน 5 ทุ่ม ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าเปิดไม่เกิน 3 ทุ่ม พร้อมให้คัดกรองเข้มผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง และคุมเข้มตามแนวชายแดนตลอด 24 ชม.

.

วันที่ 30 เม.ย. 64 นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้ลงนามคำสั่งที่ 14 /2564 เรื่อง ข้อกำหนดการปฏิบัติตามมาตรการสำคัญเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในจังหวัดหนองคาย ระบุว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ขณะนี้ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยมีการกระจายไปในทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้พบว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีความสัมพันธ์ต่อการแพร่กระจายของโรค ได้แก่ ในสถานบันเทิง กิจกรรมเสี่ยงที่มีการรวมกันของคนจำนวนมาก งานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น จากนั้นได้มีการแพร่ระบาดไปยังบุคคลในครอบครัวเดียวกัน สถานที่ทำงาน สถานบริการ และอาจเป็นเหตุของการลุกลาม แพร่กระจายอย่างรุนแรงขึ้น จนเกินศักยภาพของระบบบริการทางแพทย์และสาธารณสุขได้ หากไม่มีมาตรการและวิธีการเพื่อการป้องกันยับยั้งควบคุมและสกัดกั้นที่เข้มงวดและเหมาะสม


เพื่อให้การเฝ้าระวังสกัดกั้นยับยั้งป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต -19) ในพื้นที่จังหวัดหนองตาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามมาตรการควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22(7) มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติโรค พ.ศ.2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9  แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ข้อ 7 (1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 15) ข้อ 3  ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 29 มกราคม 2564 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 และ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 29 เมษายน 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์กรณีฉุกเฉินใน้ขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย และประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย โดยคามเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ลงมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 9/2564 ลงวันที่ 28 เมษายน 2564  จึงมีคำสั่งดังนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิก คำสั่งคณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัดหนองคายที่ 8/2564 ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 และคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคายที่ 12/2564 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564


ข้อ 2 การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่

2.1 การปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ขายแดน ให้หน่วยงานความมั่นคงในจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย กอ.รมน.นค. , หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโซง เขตหนองลาย (นรข.) , กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 245 ให้เข้มงวดควบคุมการลักลอบเข้าประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างตัาว เพิ่มการลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังและสกัดกั้นป้องกันมีให้มีการลักลอบเดินทางเช้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย หากพบการลักลอบเข้าประเทศ ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

2.2 การปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดหนองตาย ให้ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย, ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย, เจ้าหน้าที่ฝ้ายปกครอง , เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

-  จัดตั้งจุดคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดหนองคาย ณ ด่านตรวจหนองสองห้อง ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองตาย โดยให้มีการบูรณาการร่วมระหว่างตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกลรอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีมาตรการคัตกรองให้เป็นไปตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

- คัดกรองบุคคลและรถขนส่งสินต้าตามแนวชายแตน กำหนดจุดรับส่งสินค้าให้อยู่ในพื้นที่ และระยะเวลาที่กำหนด โดยถืปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเศร่งครัด


ข้อ 3 การสกัดกั้นการแพร่กระจายขยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(ควิต-19) ในพื้นที่

3.1 ประซาชนที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดหนองศายจากพื้นที่กรุุงเทพมหานคร และอีก 35 จังหวัดต้องรายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ในพื้นที่ โดยต้องกักกันตัวที่บ้านหรือที่พักอาศัย (Home Quarantine) อย่างเคร่งครัดและเข้มข้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน โดยการแยกห้องพัก ห้องสุขา อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว ฯลฯ เว้นแต่เป็นบุคคล ได้แก่ 1.ผู้ใด้รับการฉีดวัครีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบ 2 เข็มมาแล้วระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และมีใบรับรองการฉีควัคซีน (Vaccine Certifcate : VC) ฉบับจริงแสดงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ 2.มีผลการตรวจหาเชื้อโควิต-19 ที่แสดงว่าไม่พบเชื้อด้วยวิธี RT-PCR หรือ Rapid test ในเวลาภายใน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด (Self-Quarantine) อีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน

3.2 หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบบุคคลที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ที่มีซอบตัวยกฎหมาย อันเป็นพื้นที่เขตติตโรคติตต่ออันตรายและพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผู้สัมผัสและผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่พบผู้ป่วยยืนยันและผู้สงสัยติดเชื้อ ต้องเข้ารับการตรวจคัตกรองและคุมไว้ลังเกตตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน


ข้อ 4 การห้ามดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพรโรคใบพื้นที่จังหวัดหนองคาย

4.1 ทุกกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก ให้ระงับหรือเลื่อนออกไป เช่น การอบรมสัมมนา งานเลี้ยงสังสรรค์ การจัดงานคอนเสิร์ต งานกิจกรรมกีฬา สภากาแฟ เป็นต้น ยกเว้นกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณีท้องถิ่น ที่ใด้กำหนดและดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันควบคุมโรค ไว้อย่างเข้มงวดแล้ว

4.2 ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อการจัตการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจการใต ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพรโรค เว้นแต่ 1. เป็นการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกล (On Line) หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ,2. เป็นการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรือให้การอุปการะแก่บุคคล , 3. เป็นการจัดกิจกรรมทางราชการเพื่อประโยชน์สาธารณะ และได้รับอนุญาตจากผู้ว่ราชการจังหวัดแล้ว และ 4. เป็นโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่มีขนาดเล็ก ที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบคน

4.3 ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมมากกว่าห้าสิบคน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ต้องตำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเหมาะสมเคร่งครัดและเข้มข้น เช่น มาตรการ D-M-H-T.T.A ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ D-Distancing การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1-2 เมตร M - Mask Wearing การสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เมื่อออกจากที่พักอาศัยหรือเข้าไปในที่ชุมชน H.Hand Washing การล้างมือต้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ให้สะอาดอยู่เสมอ T-Temperature Checked การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าไปในสถานที่ T-Testing การตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิต-19 และ A- Application การมีและใช้แอพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรคโควิต-19 เป็นต้น

4.4 ห้ามมีให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการติตและแพร่เชื้อโรคได้ เช่น การรวมตัวเล่นการพนันทุกชนิด เป็นตัน


ข้อ 5 การควบคุมการแพร่กระจายโรคจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์

5.1 ให้ร้านอาหาร สามารถบริการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยสามารถบริโภคในร้านไต้แต่ไม่เกินเวลา 23.00 นาฬิกา

5.2 ให้ร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา สามารถให้บริการจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไต้ แต่ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

5.3 ให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถเปิดตำเนินการไต้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกินเวลา 21.00 นาฬิกา โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ต้องงดการให้บริการ


ข้อ 6 การปิดสถานที่ที่มีโอกาสลุ่มเสี่ยงต่อการติดและแพร่เชื้อโรค ดังนี้

6.1 สนามมวย สนามชนไก่ สนามซ้อมไก่ สนามกัดปลา

6.2 ฟิตเนส สนามฝึกซ้อมมวย

6.3 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ร้านนวดแผนไทย/แผนโบราณ/ร้านนวดเพื่อสุขภาพ

6.4 สถานที่บริการสักหรือเจาะผิวหนัง หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

6.5 สนามกีฬาที่อยู่ในความรับผิดชอบของทั้งภาครัฐและเอกซน ซึ่งมีผู้ชมเป็นจำนวนมากและที่ผู้เล่นที่มีโอกาสสัมผัสตัวกัน เช่น ชกมวย ทุ่ตบอล บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น สำหรับสนามกีฬาที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ให้มีใด้เฉพาะกิจกรรมการออกกำลังกายเล่นกีฬาประเภทนั้นืๆ เท่านั้น ห้ามมีให้มีการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือกระทำกิจกรรมอื่นใดในลักษณะเข้าข่ายการรวมกลุ่มหรือการสังสรรค์อย่างเต็ดขาด

6.6 ให้ปิตสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน


ข้อ 7 การป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายโรคส่วนบุคคล ให้ประชาชนทุกคน ต้องสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี เมื่อจำเป็นต้องออกจากเคหสถานหรือสถานที่ทำงาน เพื่อติตต่อธุระหรือกระทำการอื่นใด รวมทั้งเมื่อมีเหตุอันควรต้องสวมใส่ เช่น เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานการอยู่ในสถานที่สุ่มเสี่ยงจะแพร่ หรือได้รับเชื้อโรค การอยู่รวมกันกับคนหมู่มาก เป็นตัน อันเป็นการปฏิบัติตามสุขอนามัยในการป้องกันโรคต่อตัวบุคคล และประชาชนทั่วไป


ข้อ 8 การปฏิบัติสำหรับผู้ยนส่งที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย

8.1 มาตรการก่อนการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ให้ผู้ขนส่งสินค้าแสดงเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ได้แก่ หนังสือแสดงการขนส่งสินค้า ซึ่งระบุเวลาที่จะเข้ามาและออกจากราชอาณาจักรไทย ระบุชนิดและจำนวนสินค้า ชื่อสกุลและสถานที่ที่สามารถติดต่อของผู้ขนส่งสินค้า ผู้ส่งสินค้าและผู้รับสินค้า

6.2 มาตรการเมื่อเดินทางถึป/ระหว่างอยู่ในราซอาณาจักรไทย 1.ให้ผู้ขนส่งสินค้าปฏิบัติภารกิจในการขนส่งสินค้า ในราชอาณาจักรไทยเท่าที่จำเป็น เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับไปโดยเร็ว, 2.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจตัดกรองอาการทางเดินหายใจ และวัดไข้ผู้ขนส่งสินค้า ณ ด่านควบคุมโรคติตต่อระหว่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (Entry Screening) , 3. ให้ผู้ขนส่งสินค้านำยานพาหนะไปจอดและขนส่งสินค้า ณ จุดที่กำหนด คือ ศูนย์ควบคุมทางศุลกากร ด่านศุลกากรหนองคาย เท่านั้น เว้นแต่ ผู้ขนส่งสินค้าจะมีหนังสือรับรองการตรวจหาเชื้อโควิต-19 ว่ามีผลเป็นลบ (Covid-Free) ซึ่งตรวจมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ได้ภายใน 7 วัน แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยผู้ขนส่งสินค้าสามารถเข้ามาขนถ่ายสินค้า ได้ในเขตพื้นที่เขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย รวมทั้งให้ใช้ระบบติตตามหรือแอปพลิเคชันเพื่อการติดตามป้องกันโรคโควิต-19 ตามที่ทางราชการกำหนด

อนึ่ง ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำที่อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ตามมาตรา 16 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คู่กรณีไม่อาจใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งนี้ได้


หากผู้ใดฝ้าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ อาจมีความผิดตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง







จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...