วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พิษโควิด-19 กระทบเกษตรกรชาวอำเภอศรีเชียงใหม่ ราคาผักตกต่ำ เกษตรกรจำใจลดราคา เพื่อลดปัญหาการขาดทุนให้น้อยที่สุดในช่วงการเพาะปลูก

ที่ แปลงปลูกผักสวนครัว บ้านหัวทราย หมู่ที่ 12 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของนายทำ ยืนยาว อายุ 77 ปี ซึ่งมีพื้นที่ดินจำนวน 1 ไร่ ลงมือปลูกผักสวนครัว ทั้งผักกาดหอม, ผักชี, ผักชีลาว, ผักชีฝรั่ง และผักกาดขาว เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัวในแต่ละปี แต่พอเกิดโควิด-19 ทำผิษ ทำให้ขายผักไม่ได้ จากที่เคยได้ไร่ละ 25,000-30,000 บาท พอโควิดระบาด ไม่มีตลาดส่ง ทำให้ต้องจำใจขายออกไร่ละ 15,000 บาท




นายทำ ยืนยาว กล่าวว่า ในช่วงฤดูหนาวแต่ละปี จะลงมือปลูกผักเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งท่าไม่มีโควิดตนจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท เมื่อก่อนเกิดโควิด ผักแต่ละแปลงราคาตกที่แปลงละ 1,000 กว่าบาท โดยเฉพาะผักกาดหอม จะตกแปลงละ 500-1,000 บาท มาช่วงนี้แหละที่ขายไม่ได้ อีกทั้งตลาดก็ต้องมาปิด ท่าตลาดไม่ปิดก็พอจะขายได้ราคาอยู่ จำใจต้องขายเพื่อมีรายได้ มีเงินให้หลานไปเรียนหนังสือ ที่ดินที่ทำอยู่มี 1 ไร่ ท่าจะปลูกผักจริงๆ ก็สามารถปลูกได้เยอะกว่านี้ แต่ท่าจะส่งขายให้ห้างสรรพสินค้า เขาจะต้องรับซื้อ 1-2 ตัน และต้องมี 4-5 ราย เพื่อรับซื้อพร้อมกัน ที่สำคัญผักต้องปลอดสารพิษ ห้างสรรพสินค้าถึงจะรับซื้อ มาช่วงนี้ทางห้างฯรับซื้อไป ก็ไม่ค่อยได้ขาย เขาก็ต้องหยุดซื้อผัก 



นายทำ ยืนยาว กล่าวอีกว่า ปรกติผักที่ปลูกจะมีพ่อค้าแม่ค้ามาขอซื้อเหมาทั้งไร่ อยู่ที่ไร่ละ 25,000-30,000 บาท ยิ่งผักกาดหอมเมื่อก่อนตกแปลงละ 1,000 บาท ปัจจุบันแปลงละ 200-300 บาท ท่าเป็นช่วงปกติแปลงผักกาดหอม ราคาต่ำสุดไม่หลุด 500-800 บาท จำใจต้องยอมขายราคาถูก ท่าไม่ยอมขาย ผักก็ไม่มีที่จะออก แต่กลับกันที่กรุงเทพฯ ผักราคาแพง เช่นผักชีกิโลกรัมละ 600 บาท แต่อยู่ที่นี่ราคากิโลกรัมละ 200 บาท ต่างกันเยอะ คงเพราะเหตุน้ำท่วมและตลาดปิด ทำให้ผักในกรุงเทพฯมีราคาแพง อีกทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ตอนนี้การค้าขายสินค้าทางการเกษตรลดต่ำลง เพราะคนซื้อมีน้อยแต่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก จนทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ราคาจึงปรับลดลง ซึ่งก็ถือเป็นกลไกทางการตลาดที่เกษตรกรต้องยอมรับ อย่างไรก็ดี ก็ถือว่ายังเป็นเรื่องดีที่ยังสามารถสร้างรายได้กลับคืนมาบ้างในช่วงนี้ 






นศ.คณะสิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลต้นไม้ป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เพื่อทำการประเมินมูลค่าการให้บริการระบบนิเวศของป่าไม้ในการเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 ที่ ป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว หมู่ที่ 6 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย นักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย  ดร.กิตติชัย ดวงมาลย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะจำนวน 6 คน ได้ลงพื้นที่ดำเนินการเก็บข้อมูลต้นไม้ภายในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว โดยการสร้างแปลงชั่วคราวขนาด 40x40 เมตร และทำการวัดขนาดความโตที่ระดับความสูง 1.30 เมตร และวัดความสูงของต้นไม้ กำหนดตำแหน่งต้นไม้ และวัดขนาดทรงพุ่มเพื่อหาพื้นที่ปกคลุมดิน รวมทั้งสำรวจประเภทและความลึกของดิน ความชันของพื้นที่ และนำข้อมูลไปคำนวณ เพื่อทำการประเมินมูลค่าการให้บริการระบบนิเวศของป่าไม้ในการเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร โดยมีนายบุญศรี ชาติมูลตรี ประธานอาสาพิทักษ์ป่าชุมชนอำเภอโพธิ์ตาก และอาสาพิทักษ์ป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว ร่วมอำนวยความสะดวกเข้าพื้นที่และตรวจสอบพื้นที่ป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว



ในการลงพื้นที่ศึกษาป่าชุมชนฯของนักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะในครั้งนี้ จะสามารถประเมินมูลค่าของป่าไม้ในฐานะการเป็นป่าต้นน้ำที่ชุมชนช่วยกันดูแล และเป็นการสร้างความตระหนักให้ประชาชนได้รู้จักหวงแหนและช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้เพื่อและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป




สำหรับป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้หรือกฏหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และยังมีอายุโครงการอยู่ในวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.ป่าไม้ชุมชน พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ซึ่งถือว่าได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นป่าชุมชน ตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มาตรา 89  มีเนื้อที่  891 ไร่ 3 ตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และยังเป็นป่าต้นน้ำของหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบอีกด้วย







วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สาวโรงงานคืนถิ่นเพราะโควิดถูกเลิกจ้าง ผันตัวเองเช่าพื้นดินหน้าบ้านปลูกผักสวนครัว สร้างรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 บาท เผย ไม่หวนคืนกลับไปเป็นสาวโรงงานอีกแล้ว

น.ส.สายธร จอมคำสิงห์ อายุ 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 บ้านหงษ์ทอง หมู่ที่ 5 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เป็นอีกหนึ่งในผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ตกงานจากโรงงานในพื้นที่ จ.ระยอง กระทั่งต้องหอบข้าวของพร้อมแฝนหนุ่มกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ที่บ้านเกิดตำบลกองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย



โดย น.ส.สายธร กล่าวว่า ทำอาชีพเป็นสาวโรงงานในพื้นที่จังหวัดระยองมานานกว่า 7 ปี จนโรงงานโดนพิษโควิด-19 ต้องปิดโรงงาน และเลิกจ้างพนักงาน คุณยายที่ทำเกษตรที่บ้านเกิดบอกว่า ท่าไม่ไหวก็กลับมาบ้าน ตนและแฝนหนุ่มจึงตัดสินใจกลับมาที่บ้านเกิด พอมาอยู่บ้านก็ทำอาชีพเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่หน้าบ้าน แต่ก็ไปไม่รอด เพราะโควิดเช่นกัน คุณยายซึ่งทำเกษตรอยู่แล้ว ก็ชวนตนมาทำเกษตรด้วยกัน พอคุณยายขายผักได้ก็แบ่งเงินให้ใช้ จนมีเงินเก็บได้จำนวนหนึ่ง และแม่ก็ให้มาอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อมาลงทุนเช่าที่ดินที่อยู่หน้าบ้านประมาณ 1 ไร่ เช่าปีละ 2,000 บาท ทำเกษตรปลูกผักสวนครัว เช่น ปลูกผักกาดหอม ผักคะน้า ผักชี หอมต้น กระเทียม สาระแหน่ กะหล่ำดอก ผักแมงลัก ผักบุ้งจีน ฯลฯ อีกอย่างพื้นดินที่ทำเกษตรก็อยู่ติดกับลำห้วยอิน ทำให้มีน้ำเพียงพอ สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี




น.ส.สายธาร ยังกล่าวอีกว่า ตนเก็บผลผลิตได้วันละ 50-60 กิโลกรัม ส่งผักขายตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาท คิดเป็นรายได้ต่อวัน เฉลี่ยวันละ 1,000 บาท ทำงานโรงงานรับค่าจ้างเป็นรายวัน 340 บาท วันไหนมีโอที ทำ 8 ชั่วโมง ได้เพิ่มอีก 500 บาท รวมแล้วจะตกอยู่ที่ประมาณ 900 บาทต่อวัน แต่รายได้ไม่มีทุกวัน วันไหนทำงานถึงจะมีเงินใช้จ่าย ยิ่งมาเจอโควิดอีก โรงงานก็มาปิด งานก็ไม่มีให้ทำ รายได้ก็ไม่มี ทั่งค่าเช่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าผ่อนรถยนต์ ค่าอยู่ค่ากินอีก ต้องใช้จ่ายทุกวัน ไม่เหมือนมาทำเกษตร เก็บผลผลิตขายได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะผักบุ้งเก็บขายทุกวัน มีรายได้ทุกวัน และยังมีเงินเก็บอีกด้วย ท่าจะให้กลับไปทำงานที่โรงงานอีก ตนขอไม่ไปอีกแล้ว ทำการเกษตรดีกว่า เพราะรู้แนวทางในการทำอาชีพแล้ว








วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เร่งควบคุมการระบาดโรคโควิด ส่งทีมปฏิบัติการลงพื้นที่ตรวจคัดกรอง ATK เชิงรุกในหมู่บ้าน/ชุมชน

วันที่ 11 พ.ย. 2564 นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอศรีเชียงใหม่ พร้อมนายแพทย์แหลมทอง แก้วตระกูลพงษ์ ผอ.โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จัดหน่วยปฏิบัติการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพื่อหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ฟรี ให้กับประชาชนในพื้นที่ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 7 และหมู่ 8 บ้านโนนสง่า ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ทั้งกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังใน 7 กลุ่มโรคเสี่ยงติดเชื้อ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป และกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งประชาชนทั่วไป เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่รับผิดชอบทั้งในหมู่บ้าน/ชุมชน หลังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในพื้นที่ และพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์ใหม่อย่างต่อเนื่อง




โดยวันนี้เป็นการเน้นการตรวจเชิงรุกด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) ค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่และกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสโรคได้อย่างรวดเร็ว นำเข้าสู่ระบบการดูแลตามมาตรการ เพื่อยุติการแพร่ระบาดให้ได้โดยเร็ว ซึ่งได้ทำการตรวจทั้งหมด 119 ราย  ผลพบติดเชื้อ 2 ราย จึงทำการแยกกักตัวทั้ง 2 ราย แล้วจะนำสารคัดหลั่งส่งตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธีอาร์ทีพีซีอาร์ ( RT-PCR) ต่อไป











จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...