วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผู้ว่าฯหนองคาย นำเกษตรกรคนรุ่นใหม่ Young Smart Farmer สืบสานวัฒนธรรมลงแขกเกี่ยวข้าว เล่าประสบการณ์ Nongkhai BOS



วันที่ 19 พ.ย. 2564 ที่ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดหนองคาย เครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดหนองคาย บ้านไร่ตารงค์ เลขที่ 259 หมู่ 8 ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการเสวนาเล่าประสบการณ์ Nongkhai  BOS โดยมี นางสำเนียง ขันพิมล เกษตรจังหวัดหนองคาย, นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ, นายอดุลยวัต ดวงมาลา เจ้าของสถานที่ ผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรย์หนองคายขั้นพื้นฐาน (Nongkhai  BOS) รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ, เกษตรกรคนรุ่นใหม่ เครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดหนองคาย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเวทีเสวนาครั้งนี้



ทั้งนี้การขับเคลื่อนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หนองคายขั้นพื้นฐาน (Nong Khai BOS) เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรับรองมาตรฐานด้านการผลิต เช่น GAP, เกษตรอินทรีย์ และ PGS ด้วยข้อจำกัดด้านเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย ได้ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการฯ มีการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนระหว่างหน่วยงานภาครัฐในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภายใต้โครงการ "พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก" ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยได้บูรณาการขับเคลื่อนให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 750 ราย ได้รับองค์ความรู้ด้านการผลิตสินค้าเกษตรให้ปลอดภั และได้มาตรฐาน ภายใต้มาตรฐาน Nongkhai BOS เกษตรกรจะได้รับการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น เพื่อตรวจรับรองการเข้าสู่มาตรฐาน Nongkhai BOS ต่อไป







ภายหลังจากการจัดเวทีเสวนาฯ นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้นำเกษตรกรคนรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จังหวัดหนองคาย และหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน ลงแขกเกี่ยวข้าว ที่แปลงนาข้าวเกษตรอินทรีย์เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะคนรุ่นใหม่ของนายอดุลยวัต ดวงมาลา เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิแดง ทั้งนี้เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสังคมในอดีต สำหรับคนอีสาน และการลงแขกเกี่ยวข้าวหมายถึงน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน เพื่อช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ไม่มีค่าจ้าง ตอบแทนมีเพียงน้ำใจเลี้ยงข้าวปลาอาหารที่หาได้ในชุมชน หมุนเวียนกันไปจากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่ง  และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของพี่น้องชาวนาไทย ในการร่วมใจกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวที่มีมาแต่โบราณ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงาน  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องเกษตรกร รวมถึงประชาชนทั่วไป
















วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2564/65 จังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 1 เพื่อสร้างกลไกการแข่งขันในการรับซื้อข้าวเปลือก สร้างทางเลือกเกษตรกรในการจำหน่ายข้าวเปลือก

วันที่ 18 พ.ย. 2564 ที่ ตลาดกลางสหกรณ์การเกษตรท่าบ่อ ต. บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นางวรรณภรณ์ เกตุทัต ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2564/65 จังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหนองคาย จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2564 โดยมี นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, นายวิโรจน์ พิเภก พาณิชย์จังหวัดหนองคาย ,เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย, สำนักงานเกษตรอำเภอท่าบ่อ, ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย, สำนักงานชั่งตวงวัดอุดรธานี, สถานีตำรวจภูธธท่าบ่อ, ธกส.สาขาท่าบ่อ, สภาเกษตรกรจังหวัดหนองคาย และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.จังหวัดหนองคาย, สหกรณ์การเกษตรท่าบ่อ, โรงสีไฟชัยธนาสินเจริญ และท่าข้าวเทียมชัย ร่วมพิธีเปิด




นายวิโรจน์ พิเภก พาณิชย์จังหวัดหนองคาย การจัดตลาดนัดข้าวเปลือกครั้งนี้ เพื่อสร้างกลไกการแข่งขันในการรับซื้อข้าวเปลือก สร้างทางเลือกเกษตรกรในการจำหน่ายข้าวเปลือก และมีสถานที่ในการจำหน่ายข้าวเปลือกที่เป็นธรรมให้กับเกษตรกร ทั้งด้านราคา การชั่งน้ำหนัก และการตรวจสอบคุณภาพข้าว สร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการซื้อขายแบบตลาดกลางให้เกษตรกร รวมทั้งสร้างแรงกระตุ้นให้เกษตรกรสนใจการพัฒนาคุณภาพข้าว  ให้ตรงตามความต้องการของตลาดต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามหลักการผู้ซื้อมากราย  ผู้ขายมีทางเลือก ข้าวเปลือกราคาดี รับเงินสดทันที มีเจ้าหน้าที่รัฐดูแล 




สำหรับจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,026.53 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นประมาณ 1.9 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 0,59 ของพื้นที่รวมทั้งประเทศ  โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจร้อยละ 25 มาจากภาคเกษตร และที่เหลือร้อยละ 75 มาจากนอกภาคเกษตร



จากพื้นที่ 1.9 ล้านไร่โดยประมาณ จัดสรรใช้ในภาคเกษตรประมาณ 1.12 ล้านไร่โดยประมาณ มีพี่น้องเกษตรกร 57,300 ครัวเรือน แบ่งการใช้พื้นที่ปลูกพืช เป็นพืชที่มีโครงการประกันรายได้เกษตร 5 ชนิด ประกอบด้วย พื้นที่ปลูกข้าว ประมาณ 549,280 ไร่ โดยข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียว ประมาณ 494,849 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 82,  ข้าวหอมมะลิ 104,430 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18 โดยประมาณ, พื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 282,500 ไร่, พื้นที่ปลูกยางปาล์มน้ำมันประมาณ 17,620 ไร่, พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ประมาณ 18,686 ไร่











ผู้ว่าฯหนองคาย พาไปยามข้าวเด่น พืชดี อินทรีย์นำ ณ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลบ้านฝาง อ.สระใคร จ.หนองคาย

วันที่ 17 พ.ย.2564 ที่ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลบ้านฝาง หมู่ 8 บ้านโนนดู่ ต.บ้านฝาง อ.สระใคร จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดโครงการ “ผู้ว่าพาไปยาม” ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในจังหวัดหนองคาย ได้จัดขึ้น ภายใต้กิจกรรม “ข้าวเด่น พืชดี อินทรีย์นำ” โดยมีนายอำไพ ประเสริฐสังข์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการฯ  มีนายสำเร็จ สุนทรา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย กล่าวรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมเด่นด้านข้าว , นายพสุ สกุลอารีย์วัฒนา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย กล่าวรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมเด่นด้านพืชและเกษตรอินทรีย์ และนางสำเนียง ขันพิมล เกษตรจังหวัดหนองคาย กล่าวรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมแปลงใหญ่ข้าวอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย



กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้สื่อสารนโยบายสำคัญของกระทรวงฯ ให้กับทุกภาคส่วน เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้รับทราบอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และ ทันเหตุการณ์ จึงจัดทำโครงการ “ผู้ว่าพาไปยาม” โดยเชิญผู้บริหารระดับจังหวัด พาคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมโครงการ/กิจกรรมเด่นของหน่วยงานในสังกัด หรือแปลงเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านทางสื่อโทรทัศน์และสื่อต่างๆ ส่งผลให้กิจกรรมด้านการเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดหนองคายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น



ภายหลังเปิดโครงการฯ นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ยังได้มอบเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวอำเภอสระใคร และเยี่ยมชมนิทรรศการ “ข้าวเด่น พืชดี อินทรีย์นำ” อีกด้วย.








กองร้อยเฉพาะกิจทหารพราน ที่ 2105 กรมทหารพราน ที่ 21 กกล.สุรศักดิ์มนตรี ตรวจยึดยาบ้าที่ลักลอบนำข้ามมาจากประเทศเพื่อนบ้านได้กว่า 702,015 เม็ด

วันที่ 17 พ.ย.2564  ที่ กองร้อยเฉพาะกิจทหารพราน ที่ 2105 กรมทหารพราน ที่ 21  กองบังคับการควบคุมที่ 2 กกล.สุรศักดิ์มนตรี พล.ต.ณรงค์  สวนแก้ว ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี มอบให้ พ.อ.มงคล หอทอง รอง ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี พร้อมด้วย พ.อ.ปฎัวัติ ชื่นศรี รองผู้บังคับการกองบังคับการควบคุมที่ 2 กกล.สุรศักดิ์มนตรี(กรมทหารราบที่ 13)  ร่วมกับ น.อ.นิรุตต์ มาทอง หน.ยุทธการและการข่าว นรข.เขตหนองคาย ,พ.ต.พิมล  ประดิษฐ์ด้วง  หน.ชรต.กอ.รมน.จ.หนองคาย ,ตร.สภ.โพนพิสัย, ตร.สภ.รัตนวาปี, ฝ่ายปกครองรัตนวาปี, ตชด.245 แถลงผลการตรวจยึดยาบ้า ที่ลักลอบนำข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 702,015 เม็ด   หลังได้รับแจ้งจากสายว่า จะมีการลักลอบนำยาเสพติดข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย ในพื้นที่บ้านท่าม่วง อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย



โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนธิกำลัง เข้าดักซุ่ม พบเรือแล่นข้ามมาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมาถึงฝั่งไทยได้มีชายฉกรรจ์ 1 คน แบกกระสอบสีขาวขึ้นจากเรือมาวางไว้ที่ริมตลิ่ง เจ้าหน้าที่ได้แสดงตัวเข้าตรวจสอบ ชายดังกล่าวได้วิ่งลงเรือแล้วขับหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว จากการเข้าตรวจสอบพบภายในกระสอบบรรจุยาบ้าจำนวนดังกล่าว จึงได้นำมาที่  กองร้อยเฉพาะกิจทหารพราน ที่ 2105   ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ณรงค์  สวนแก้ว ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี,พ.อ.จักรพงษ์  โพธิ์นาแค ผบ.บก.ควบคุมที่ 2, พ.อ.อุทัย นิลเนตร ผบ.หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21,น.อ.ราฆพ  เทวประทีบ ผบ.นรข.เขตหนองคาย  ก่อนนำของกลางส่งพนักงานสอบสวน สภ.รัตนาปี ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ฤาษีลภ-ปวีณา//จ.หนองคาย


จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...