วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่ลุ่มน้ำทอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดหนองคาย สบอ.10 (อุดรธานี) ร่วมกับเครือข่ายการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ทำแนวกันไฟป่าบริเวณป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว และบ้านภูพนังม่วง

วันที่ 20 ก.พ.2565 เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่ลุ่มน้ำทอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดหนองคาย สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) ร่วมกับเครือข่ายการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันบ้านห้วยหินขาว หมู่ที่ 6 และบ้านภูพนังม่วง หมู่ที่ 8 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย โดยดำเนินการตามโครงการวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์ ประจำปี 2565 โดยการชิงเก็บเชื้อเพลิง ตามนโยบาย "ชิงเก็บ ลดเผา " และจัดทำแนวกันไฟแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ป่าชุมชนกว่า 968 ไร่ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันของเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าฯ และชาวบ้านในการช่วยกันยับยั้งและป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เกี่ยวกับการงดเผาและป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า และไม่ให้เกิดควันและฝุ่น PM 2.5

.

นายบุญศรี ชาติมูลตรี  ประธานเครือข่ายไฟป่าจังหวัดหนองคาย รายงาน




















วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

รพร.ท่าบ่อ จัดอบรมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์บูรณสภาพสัญจร ในการใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

วันที่ 18 ก.พ.2565 เวลา 08.30 น. ที่ ห้องประชุมอิสานฮอลล์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พญ.ฤดีมน สกุลคู ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ  เป็นประธานเปิดการบรรยายวิชาการในโครงการออร์โธปิดิกส์บูรณภาพสัญจร โดยมีศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ผู้ทรงคุณวุฒิ มาเยี่ยมเยียนและเป็นวิทยากรพิเศษ ได้แก่ ศ.นพ.กีรติ  เจริญชลวานิช และ รศ.นพ.ระพีพัฒน์  นาคบุญนำ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ,  นพ.ยิ่งยง สุขเสถียร จากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และ นพ.สิริพงศ์ รัตนไชย จากโรงพยาบาล Med park  ในการประชุมครั้งนี้จะจะเป็นการนำเสนอทิศทางของการผ่าตัดกระดูกและข้อไทย  ที่จะได้พัฒนาก้าวหน้าไปในอนาคต รวมทั้งการใช้นวัตกรรมช่วยผ่าตัด ได้แก่หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า (Robotic Assisted Knee Replacement Surgery)  ที่โรพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน




หลังจากจบการบรรยายได้มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการผ่าตัดด้านออร์โธปิดิกส์ และการทำงานในโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเมืองหลวง  เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล







วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

จังหวัดหนองคาย ออกตรวจประเมินผลงานศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ 2565

วันที่ 17 ก.พ. 2565 ที่ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจแม่บ้านเกษตรบ้านกองนาง หมู่ 11 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้ นายกิตติคุณ บุตรคุณ ปลัดจังหวัดหนองคาย ประธานคณะกรรมการตรวจประเมินผลงานศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ 2565  และคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ออกตรวจประเมินผลงานศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบฯ  โดยมี นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ มีนางถนอม สมศรี ประธานศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจแม่บ้านเกษตรบ้านกองนาง, ส่วนราชการ, สมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ




สำหรับการลงพื้นที่ของคณะกรรมการฯครั้งนี้ เพื่อพิจารณาศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ระดับอำเภอ เพื่อให้ใด้รับรางวัลระดับจังหวัดหนองคาย รางวัสชนะเลิศเงินรางวัล 60,000 บาทและโล่เกียรติคุณ เพื่อขยายผลศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในลำดับถัดไป






ทั้งนี้อำเภอท่าบ่อ ได้พิจารณาให้ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจแม่บ้านเกษตรบ้านกองนาง รับการประเมินให้เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ระดับจังหวัด เนื่องจากจัดตั้งขึ้นด้วยการรวมตัวของสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน โดยในปี 2540 นายสมชาย เชื้อจีน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง เพื่อทำให้เกษตรกร ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมซน เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับท้องถิ่นท้องที่ ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนางทั้งหมด 37 คน มีคณะกรรมการบริหารกลุ่ม 15 คน มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่โดดเด่น เช่น ปลานิลแดดเดียว ปลาส้ม เป็นต้น 












วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ช่างรับเหมาทำสีรถยนต์ชาวศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ทำเมนูเด็ด"หนูนาอบโอ่ง" เลี้ยงเองชำแหละเอง ขายพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ สร้างรายได้งามยุคโควิด

ที่ฟาร์มหนูพุก หรือหนูนา ของนายนรากร ใจหาญ (หรือช่างนุ) อายุ 39 ปี บ้านเลขที่ 67 บ้านป่าสักเหนือ หมู่ที่ 3 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ได้ใช้เวลาว่างจากงานรับเหมาทำสีรถยนต์ในช่วงอาทิตย์ เปิดฟาร์มเลี้ยงหนูพุก หรือหนูนา โดยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ จำนวน 30 บ่อ หนูพุกประมาณกว่า 100 ตัว ขายพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ และต่อยอดด้วย"หนูนาอบโอ่ง" ขายให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อ ควบคู่ชำแหละเนื้อสดขาย สร้างรายได้นอกเหนือจากการทำงานรับเหมาทำสีรถยนต์เพียงอย่างเดียว  





ช่างนุ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนและภรรยา ทำงานโรงงานมะเขือเทศในพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่ แต่รายได้ไม่พอค่าใช้จ่ายในครอบครัว ตนและภรรยาจึงจัดสินใจลาออก แล้วไปทำงานโรงงานทำสีรถยนต์ที่กรุงเทพฯ ทำงานได้ปีเดียวก็มาเจอวิฤกติโควิด-19  และงานก็เริ่มน้อยลง จึงตัดสินใจพาภรรยากลับมาอยู่บ้าน เมื่อมาอยู่ที่บ้านตนก็ไปหารับเหมาทำสีรถยนต์ตามอู่รถยนต์ในพื้นที่ และตนก็ได้ศึกษาวิธีเลี้ยงหนูนาทางสื่อออนไลน์ เห็นมีคนเลี้ยงกันเยอะ ก็เลยปรึกษาภรรยาว่ามาทดลองเลี้ยงหนูนาดีมั้ย ภรรยาก็เห็นด้วย จึงได้ผันตัวเองมาทำอาชีพเลี้ยงหนูนาขาย เสริมรายได้ช่วงโควิด-19 โดยลงทุนซื้อพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่ฟาร์มในพื้นที่อำเภอโพธิ์ตาก จ.หนองคาย ราคา 800 บาท ได้พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว ทำการเลี้ยงโดยใช้พื้นที่หลังบ้านพักเลี้ยงหนูไว้ 1 บ่อซีเมนต์ ทั้งผสมพันธุ์เอง ให้อาหารเพียงวันละ 1 ครั้ง เป็นอาหารหมูอ่อน, ข้าวเปลือก และอาหารเสริม เช่น ข้าวโพด, แตงกวา และหญ้าหวานอิสลาเอล ซึ่งเลี้ยงได้ประมาณ 45 วันก็ต้องทำการแยกแม่พันธุ์ออกจากลูก เพื่อผสมพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีบ่อเลี้ยงหนูนาทั้งหมด 30 บ่อ เพื่อทำการขายพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ โดยขายในราคาเท่ากับที่ซื้อมา 800 บาท มีพ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว แต่ท่าแม่พันธุ์ตัวไหนที่ทำลังตั้งท้องอยู่ ก็จะขายเป็นคู่กับพ่อพันธุ์ ราคาคู่ละ 1,200 บาท ขายดีจนโตไม่ทัน มีรายได้เสริมให้กับครอบครัว 3,000 - 4,000 บาทต่อเดือน



โดยในฟาร์มเลี้ยงหนูนาของตน จะมีหนูพระเอกประจำฟาร์มอยู่ 3 ตัว ชื่อว่าไอ้ไข่ดำและไอ้ไข่ขาว ทั้งสองตัวอายุ 8 เดือน ส่วนอีกตัวชื่อไอ้ทอง อายุ 6 เดือน ทั้งสามตัวจะมีนิสัยสนิทกับคน ไม่ดุร้าย เนื่องจากตนเอามาจับมาอุ้มตั้งแต่ตัวเล็กๆ โดยเฉพาะไอ้ไข่ดำ จะมีความผูกพันธ์เป็นพิเศษ สามารภอุ้มได้มือเปล่า ไม่กัดคน เวลาปล่อยออกมาจากบ่อก็ไม่หนีไปไหน  เมื่อตนจะเดินไปไหนก็จะเดินตามตลอด แต่ทั้งสามตัวเสียอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมผสมพันธุ์ เพราะมีนิสัยกลัวตัวเมีย จึงต้องแยกทั้งสามตัวออกจากแม่พันธุ์  




ช่างนุ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังจำหน่ายหนูอบโอ่งตามขนาดเล็กใหญ่ เริ่มต้นที่ตัวละ 120-140 และ 180 บาท ตามลำดับ แล้วแต่ขนาด และหนูนาชำแหละที่ขนาดโตพอขาย ประมาณ 4 เดือน จะขายตัวละ 120 บาท ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยลูกค้าสวนใหญ่เป็นขาประจำและประชาชนทั่วไป ด้วยหนูอบโอ่งของตน มีรสชาติสูตรเฉพาะกับหนังที่อบจนกรอบเหมือนกระจก บวกกับน้ำจิ้มสุดแซ่บ จึงทำให้ลูกค้าติดใจ  ทำให้มีรายได้ 2,000 -3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรายได้เลี้ยงหนูพุก หรือหนูนา นำมาชำแหละ โดยอบโอ่ง ถือว่าเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี และหากใครสนใจซื้อหนูสด พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ หรือสนใจจะเลี้ยง ยินดีให้คำปรึกษา   หรือใครที่อยากชิมเมนหนูอบโอ่งฝีมือช่างนุ ที่แสนอร่อยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ เบอร์ 098-6208969 หรือเบอร์ 065-0505857







จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...