วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

จังหวัดหนองคาย ลงพื้นที่คัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2565 พื้นที่ตำบลโพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย

วันที่ 20 มิ.ย. 2565 ที่ ศาลา SML บ้านโพนทอง หมู่ที่ 10 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2565 พร้อมคณะกรรมการฯสรรหาและคัดเลือกกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ลงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลให้มีความเข้มแข็ง และมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน โดยมีนายยรรยง พรมศร นายอำเภอโพธิ์ตาก พร้อมด้วยนายณัฐภพ จำปา พัฒนาการอำเภอโพธิ์ตาก, นายธีรวัฒน์ วันวาสี นายก อบต.โพนทอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน , คณะกรรมการชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับและร่วมรับการคัดสรร ได้แก่ 1.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" , 2. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.ชาย/หญิง), 3. กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน และ 4.ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง





พร้อมเยี่ยมชมจุดดำเนินการของชุมชน เยี่ยมชมบูธกิจกรรมเสริมสร้างชุมชนแข็งแรงจากภาคีเครือข่ายพัฒนาต่างๆ ของตำบลโพนทอง เช่น สวนมะนาวเกษตรตามอำเภอใจ, กลุ่มสตรีบ้านไร่ , กลุ่มทอเสื่อบ้านนาฝาก ,กลุ่มทอผ้าบ้านโคกบุญสนอง, คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) บ้านม่วง, ศูนย์การเรียนรู้ , กลุ่มอาชีพต่างๆ , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2565 และเยี่ยมชมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของนายทุญส่ง นามโคตร และเยี่ยมชมสถาบันการเงินชุมชนบ้านโพนทอง หมู่ที่ 10 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เพื่อให้กิจกรรมพัฒนาชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกิจกรรมดีเด่นในการเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโล่รางวัลสิงห์ทอง ต่อไป




















วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565

อาชีพรับจ้างดำนารายได้ดี กว่า 10,000 บาทต่อเดือน เป็นการแก้ปัญหาข้าวดีดข้าวเด้ง ทำให้ข้าวของชาวนาโตเร็ว และยังเป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตการดำนาให้คงอยู่สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

 

วันที่ 19 มิ.ย. 2565 ที่ แปลงนา "บ้านไร่ตารงค์" ของนายดำรงค์ ดวงมาลา อายุ 66 ปี เกษตรกร บ้านดอนขม ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย โดยมีแปลงนา 32 ไร่ ได้มีแรงงานชาวบ้านมารับจ้างดำนากว่า 20 คน สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของเกษตรกรไทยที่มีมานาน และยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวนาไทย ให้คงอยู่สืบไป นอกจากนี้การดำนาด้วยคน ยังเป็นการแก้ปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง และยังทำให้ข้าวโตไวกว่าวัชพืชในแปลงนา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ทำให้ข้าวห่างและข้าวดีด เป็นการป้องกันวัชพืชสูงข่มข้าวปลูกในระยะแตกกอ  ทำให้ข้าวจะห่างและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถเกี่ยวข้าวได้ เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งการดำนาด้วยแรงคน เป็นการแก้ปัญหาที่ดีของชาวนาผู้ปลูกข้าว




โดยเกษตรกรที่มารับจ้างดำนา เล่าว่า อาชีพรับจ้างดำนาปัจจุบันมีน้อยมาก แทบหายไปจากสังคมชาวนา เพราะคนรุ่นหลังหันไปทำงานงานกันในเมืองใหญ่ๆ หรือไปทำงานที่ต่างประเทศกันหมด เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อีกทั้งชาวนาส่วนใหญ่จะใช้การหว่านและใช้เครื่องยนต์ดำนาแทน ซึ่งตอนนี้ยังมีกลุ่มของตนเองประมาณกว่า 20 คน ที่ยังออกตระเวนรับจ้างดำนาสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยคิดค่าแรงดำนาครึ่งวัน หรือคิดงายละ 200 บาท ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 11 นาฬิกา ส่วนช่วงบ่ายจะไม่ลงมือดำนา เพราะอากาศร้อน ทนสู้แดดไม่ไหว ซึ่งขั้นต่ำแต่ละคนจะมีรายได้ 1,400 บาทขึ้นไปต่อสัปดาห์  หากดำนาเก่งๆ ก็ได้ 10,000 - 15,000 บาทต่อเดือน และยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการดำนา สืบสานวัฒนธรรมเก่าแก่ของปู่ย่าตายาย ให้คงอยู่สู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป



ทั้งนี้ "บ้านไร่ตารงค์" มีเนื้อที่ทั้งหมด 42 ไร่ เป็นแปลงนาข้าว 32 ไร่ ทำการปลูกข้าวมะลิแดง ข้าว 6 สายพันธุ์ ข้าวระดับน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวมะลิแดง 1 ไร่, ข้าวมะลิหนองคาย กข 83, ข้าวมะลิ 105 และข้าวกล้องพิษณุโลก 80 ทำการปลูกข้าวด้วยระบบอินทรีย์ มีการดูแลทั้งกระบวนการผลิตให้ได้ข้าวที่เจริญงอกงาม ข้าวมีกลิ่นหอม เมล็ดข้าวเต็มเมล็ด และยังมีการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และเป็นพันธุ์เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป  นอกจากนี้ในพื้นที่อีก 10 ไร่ ยังได้ปลูกเลม่อน ผักปลอดสารพิษ และสลัดเพื่อสุขภาพอีกด้วย








จังหวัดหนองคาย จัดงาน “เทศกาลกินสับปะรด GGI หนองคาย” ช้อป ฟิน กิน บักนัด IG หนองคาย เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสับปะรดของจังหวัด

วันที่ 18 มิ.ย. 2565 ที่ บริเวณลานกิจกรรมตลาดแคมของ อ..เมือง จ.หนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เทศกาลกินสับปะรด GGI หนองคาย” ช้อป ฟิน กิน บักนัด IG หนองคาย ซึ่งจังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหนองคาย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดหนองคาย ได้จัดงานขึ้น






นายวิโรจน์ พิเภก พาณิชย์จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ปลูกสับปะรดใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีเชียงใหม่ , อำเภอรัตนวาปี , อำเภอโพธิ์ตาก และอำเภอสังคม มีพื้นที่เก็บเกี่ยวรวม 3,444 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,500 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตรวม 12,057 ตัน ผลผลิตส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 87 ของผลผลิตทั้งหมด จำนวน 10,543 ตัน ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดได้ตามปกติ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พ่อค้าเร่เข้ามารับซื้อน้อย โรงงานก็รับซื้อน้อย ส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ รวมมีผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดพร้อมกัน ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย คาดการณ์ว่าผลผลิตสับปะรดจะล้นตลาดประมาณ 2,270 ตัน ซึ่งนอกจากผู้ประกอบการขายในช่องทางปกติแล้ว ส่วนราชการต่างๆ ก็ได้ร่วมกันบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดไปแล้วในหลายช่องทาง ซึ่งการจัดงาน “เทศกาลกินสับปะรด GGI หนองคาย” ช้อป ฟิน กิน บักนัด IG หนองคาย ครั้งนี้ก็เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสับปะรด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรด รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ของจังหวัดหนองคาย



























จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...