วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2566

ครูแดงบ้านศิลป์ไทย พาเด็กๆ เรียนรู้วิถีอีสาน "การแหย่ไข่มดแดง"

เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2566 ที่ บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง เลขที่ 124 หมู่ 3 บ้านทุ่ม ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายนวนโทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ เป็นประธานเปิดกิจกรรม "ค่ายศิลปะแหย่ไข่มดแดง" ซึ่งเป็นค่ายลำดับที่ 76  ที่นายเฉลิมศักดิ์ ธรรมเรืองฤทธิ์ หรือครูแดง ประธานชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย จัดให้มีขึ้น  โดยครูแดงได้ไดัพาเด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม นำอุปกรณ์ในการแย่ไข่มดแดง คือ 1. ไม้ไผ่ลำยาว (ยาวพอจะแหย่รังที่อยู่สูงได้) ส่วนปลายไม้ไผ่เป็นตะกร้าสาน เพื่อรองเวลาไข่มดแดงตกลงมาจากรัง





2. ถังใส่น้ำ ปริมาณน้ำพอเหมาะไม่หนักจนเกินไป ไว้ใส่ไข่มดแดงตอนที่เทออกจากตะกร้าสาน เมื่อโดนน้ำตัวมดแดงก็จะไต่ออกไปทิ้งไว้แต่ไข่ โดยพาเด็กๆ ลุยหาไข่มดแดง อาหารชั้นสูงที่คนทั่วไปกล่าวขาน ตามบนต้นไม้ภายในบริเวณบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง ก่อนให้ทุกคนมาทำกิจกรรมวาดภาพระบายสี



ครูแดงบ้านศิลป์ไทย กล่าวว่า มดแดงหรือบางท้องถิ่นก็เรียกว่ามดส้ม ชอบทำรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่นลำห้วย ลำธาร หนองน้ำ ต้นไม้ที่มดแดงชอบทำรัง ได้แก่ต้นไม้ที่มีใบอ่อนนุ่ม หนา ไม่พลัดใบง่ายเช่นต้นหว้า ต้นมะม่วง ชมพู่ ลำใย ต้นจิก ต้นรังจะออกวางไข่ในฤดูร้อนช่วงประมาณเดือนก.พ.-มิ.ย.



ไข่มดแดงมีคุณค่าทางอาหารมีโปรตีนสูงทำอาหารได้หลายอย่างที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมามีหลายเมนู ก่อนประกอบอาหารควรทำให้สุกก่อนปรุง เมนูที่นิยมทำคือไข่เจียวใส่ไข่มดแดง ลาบก้อยไข่มดแดง แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง ยำไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนใส่ไข่มดแดง แกงเห็ดใส่ไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง



การแหย่ไข่มดแดงอุปกรณ์ศิลปะการแหย่ไข่มดแดงใช้ไม้ไผ่ขนาดเหมาะมือยาวพอประมาณให้แหย่ถึงรังมดแดงใช้ตะกร้าหรือหวดผูกมัดติดกับปลายไม้ไผ่โดยให้ปลายไม้ไผ่แหลมนิดหนึ่งเพื่อแหย่เข้าไปในรังไข่มดแดง ไข่มดแดงจะร่วงตกลงมาในหวดหรือในตะกร้าขณะเดียวกันต้องเขย่าไม้ไผ่ไปด้วย เพื่อป้องกันมดแดงไต่ลงมากัดเราจากนั้นนำ ตะกร้าหรือหวดลงมาเทไข่มดแดงลงถังน้ำที่ได้เตรียมไว้ไข่มดแดงจะจมน้ำมดแดงจะลอยอยู่ข้างบนจากนั้นแยกมดแดงกับไข่ออกจากกันเป็นอันเสร็จขั้นตอนการแหย่ไข่มดแดง


ครูแดงก ล่าวเพิ่มเติมว่า "กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่สร้างความอบอุ่น เป็นความสุขเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีของสถาบันครอบครัว ถึงจะเป็นค่ายศิลปะเล็กๆ แต่ก็อบอุ่นและยิ่งใหญ่สำหรับเด็กๆ เดือนหน้าก็จะจัดค่ายศิลปะอีกครั้ง แต่เป็นศิลปะหัวข้อใหม่เรื่องใหม่ที่เล่าให้เด็กและผู้ปกครองฟังแล้วสนใจและสมัครไว้ล่วงหน้าหลายคน" ซึ่งผู้ปกครองที่สนใจส่งบุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปสอบถามรายละเอียดได้ที่ครูแดงบ้านศิลป์ไท โทร.,086-2289508


สำหรับด้านศิลปะเด็กๆ ได้เรียนรู้การวาดภาพและการระบายสีขั้นพื้นฐานแบบง่ายๆ การวาดภาพมดแดงและความประดับใจในระหว่างการแหย่ไข่มดแดง และดูมดแดงจากของจริงตัวเป็นๆ และเพิ่มเติมจินตนาการ เรื่องการใช้สี และเทคนิคการลงสีแบบต่างๆ (ครูแดงกล่าว)




วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566

เทศบาลตำบลกองนาง จ.หนองคาย จัดการแข่งขันกีฬาชุมชนต้านยาเสพติด ตำบลกองนาง ประจำปี 2566

วันที่ 1 เม.ย. 2566 ที่ สนามกีฬาโรงเรียนบ้านกองนาง ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ ประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาชุมชนต้านยาเสพติด ตำบลกองนาง ประจำปี 2566 ของเทศบาลตำบลกองนาง จัดใหัมีขึ้น โดยมี นายชิงชัย ทิพย์สมบัติ นายกเทศมนตรีตำบลกองนาง เป็นผู้กล่าวรายงาน มีคณะผู้บริหาร, สมาชิกสภา , หัวหน้าส่วนราชการ , กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้าง ประชาชน และเยาวชนในตำบลกองนาง ร่วมพิธีเปิดจำนวนมาก





สำหรับการจัดแข่งขันกีฬาชุมชนต้านยาเสพติด ตำบลกองนาง ครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด ส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนมีโอกาสได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬา อีกทั้งสร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้เกิดขึ้นในชุมชน และเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิน กับชุมชน ใด้เชื่อมความสัมพันธไมตรี มีกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งสร้างนักกีฬาและผลงานทางการกีฬาระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับประเทศต่อไป




ในการแข่งขันกีฬาฯ ครั้งนี้ มีการแข่งขันกีฬา 4 ประเภทประกอบด้วย การแข่งขันกีฬาฟุตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ และเปตอง รวมทั้งการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านอีกด้วย มีทีมที่ส่งนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 4 ทีม 4 สี ไดัแก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีส้ม


























จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...