วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ผู้ตรวจฯสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดอนป่าเปือยบ้านหม้อ จ.หนองคาย

นายวิฑูร เอี่ยมโอภาส ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 10 พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของรัฐบาล เรื่องการท่องเที่ยว ณ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดอนป่าเปือยบ้านหม้อ จ.หนองคาย เผยดีใจที่ทางชุมชนไทพวนบ้านหม้อได้มีการสืบสานต่อยอดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี และชื่นชอบหวานหมอน้อย ชิมแล้วรู้สึกสดชื่น อยากให้ต่อยอดประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย


วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดอนป่าเปือยบ้านหม้อ หมู่ที่ 7 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย  นายวิฑูร เอี่ยมโอภาส ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 10 (บึงกาฬ  เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี) พร้อมด้วยนายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และคณะได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของรัฐบาล เรื่องการท่องเทึ่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดอนป่าเปือยบ้านหม้อ ซึ่งมีต้นเปือยขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยมี  หลวงปู่ฉลวย อชิโต เจ้าอาวาสวัดป่าโนนหินเสื่อ/ประธานอุปถัมป์พัฒนาดอนป่าเปือยบ้านหม้อ  ว่าที่ร้อยตรีนครชัย แสงมณี นายอำเภอศรีเชียงใหม่ นายพิทยา ชำนาญเนียม ปลัดอาวุโสฯ  นายอภินันท์ อุตตมะ นายก อบต.บ้านหม้อ  นายสนอง เข็มพรหมมา ประธานคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาดอนป่าเปือยบ้านหม้อ และคณะกรรมการฯ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ พร้อมจัดชุดการแสดงชองชาวไทพวน ชื่อชุด"มนต์เสน่ห์ไทพวนบ้านหม้อ" ให้แขกผู้มาเยือนได้รับชม และพาเยี่ยมชมป่าเปือยบนพื้นที่กว่า 36 ไร่ และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปของชุมชน






นายวิฑูร เอี่ยมโอภาส ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  การมาครั้งนี้เป็นการเดินทางมาตรวจราชการแบบบูรณาการซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ เรื่องการท่องเที่ยว และเรื่องการพัฒนาศักยภาพคน  สำหรับเรื่องการท่องเที่ยว ก็จะมาดูเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งลักษณะของการท่องเที่ยวในจังหวัดหนองคายนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ  จะเห็นได้ว่าจะมีวัดตามริมแม่น้ำโขงตั้งแต่อำเภอสังคมไปจนถึงอำเภอโพนพิสัย ซึ่งเมื่อก่อนมีไปจนถึงอำเภอบึงโขงหลงซะด้วยซ้ำ ตั้งแต่บึงกาฬยังไม่แยกเป็นจังหวัด การท่องเที่ยวนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณีค่อนข้างเยอะ  และก็ดีใจที่ทางชุมชนไทพวนบ้านหม้อได้มีการสืบสานต่อยอดวัฒนธรรม โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆรวมทั้งประเพณี และอีกอย่างที่มาวันนี้นั้น ยังไม่เคยชิมหวานหมอน้อย ซึ่งผี้งเคยเจอ แต่พอได้ชิมแล้วรู้สึกสดชื่น คล้ายๆกับเฉาก๋วยกำแพงเพชร  ซึ่งก็ไม่ต่างกัน เพียงแต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์เล่าเรื่องการต่อยอดในสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 






ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ในส่วนของการท่องเที่ยวของดอนป่าเปือยแห่งนี้หรือหลายๆที่ สิ่งสำคัญก็คือเรื่องของความสะอาด ความปลอดภัย ซึ่งความสะอาดนั้นคงต้องอาศัยความร่วมมือพี่น้องประชาชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต้องเข้ามาช่วย และที่สำคัญคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องเข้ามาข่วยกัน แล้วในส่วนของการท่องเที่ยวต้องช่วยกันอนุรักษ์และคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดีงาม รวมทั้งวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นให้คงไว้สืบไป




สำหรับดอนป่าเปือยแห่งนี้ ถือเป็นป่าช้าเก่าแก่นับร้อยปีของชาวไทพวนบ้านหม้อ และมีต้นเป็อย หรือต้นตะแบกขนาดใหญ่จำนวนมากกว่า 92 ต้น แต่ละต้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 300-400 ปี และมีต้นเปือยขนาดใหญ่ทึ่สุดในประเทศไทย โดยมีเส้นรอบวงของลำต้นขนาด 5.30 เมตร และยังเป็นป่าเปือยผืนสุดท้ายที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพานพร้าว-ป่าแก้งไก่ ที่สำคัญป่่าเปือยแห่งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 เมื่อปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย




โดยในพื้นที่ยังมีต้นไม้หวงห้ามขนาดใหญ่ อาทิเช่น ต้นตะเคียนทอง ต้นพะยูงหิน ต้นพะยอม ต้นอ้อยช้าง ต้นมะดูกใหญ่ และไม้สมุนไพรหลากหลายชนิด  ชาวบ้านในพื้นที่ได้เร็งเห็นความสำคัญ จึงได้ร่วมกันพัฒนาเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมธรรมชาติของป่าเปือย  โดยเมื่อวันที่ 21 มี.ค.65 ได้ทำการสร้างสะพานชื่อว่า "สะพานทางไปสู่สวรรค์" เพื่อเดินเข้าไปชมป่าเปือยทุกต้นในป่าธรรมชาติแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันได้สร้างสะพานไปแล้ว 312 เมตร และจะสร้างไปเลื่อยๆไปจนครบต้นเปือยทุกต้น ตามกำลังทรัพย์ของชาวบ้านที่มีความเชื่อและศรัทธา




พร้อมทั้งสร้างสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างอนุสรณ์สถานใหับรรพบุรุษ เช่น ศาลตา-ยาย สถูปเจดีย์พระทองคำ และมูลเจดีย์ (มู-ละ-เจดีย์) หรือเจดีย์รากเหง้า โดยวันที่ 9 เมษายนของทุกๆปี ได้จัดงานประเพณีไทพวนบ้านหม้อ "บุญจ้างหนังให้ผีเบิ่ง" (บุญจ้างหนังให้ผีดู) เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษ และในวันออกพรรษา จะมีการจุดเทียนบนสะพานเดินชมต้นเปือย 1,511 เล่ม ตามชื่อหนังเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเฉลิมฉลองวาระที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดหนองคาย อีกด้วย













วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566

อ.ศรีเขียงใหม่ จ.หนองคาย จัดพิธียกเสาเอก - เสาโท โครงการ "บ้านกาชาดสร้างสุข จังหวัดหนองคาย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย จัดพิธียกเสาเอก - เสาโท โครงการ "บ้านกาชาดสร้างสุข จังหวัดหนองคาย" จำนวน 3 ราย เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา ประจำปี 2566


วันทึ่ 18 ส.ค. 2566 ว่าที่ร้อยตรี นครชัย แสงมณี นายอำเภอศรีเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายพิทยา ชำนาญเนียม ปลัดอาวุโสฯ นายแฉล้ม โยคิน นายก อบต.พานพร้าว นายวิลัย จันทร์ศรี นายกเทศมนตรีตำบลหนองปลาปาก รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสาเราทำความ ดี ด้วยหัวใจ ประชาชนจิตอาสา คณะกรรมการหมู่บ้าน แกนนำชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ร่วมพิธียกเสาเอก-เสาโท โครงการ "บ้านกาชาดสร้างสุข จังหวัดหนองคาย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา ประจำปี 2566 จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ครอบครัวนางสาคร บุตรสี อายุ 77 ปี ที่อยู่ 40/2  บ้านพานพร้าว หมู่ที่ 10 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย , ครอบครัวนางประยูร เทพธิดา อายุ 76 ปี ที่อยู่ 35  บ้านโนนสง่า หมู่ที่ 15 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และครอบครัวนายทองสุข  เบ้านำโฮง อายุ 64 ปี ที่อยู่ 28 บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 2 ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



ทั้งนี้อำเภอศรีเชียงใหม่ ได้ออกสำรวจผู้ยากไร้ ไร้บ้าน ตามโครงการ"บ้านกาชาดสร้างสุข จังหวัดหนองคาย" เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนยากจนตามแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และศูนย์ปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานจังหวัดหนองคาย เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ครอบครัวผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ที่มีฐานะยากจน แต่เป็นคนดีของสังคมที่เดือดร้อนในด้านที่อยู่อาศัย ให้มีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 



โดยพิจารณาผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน ตำบล และระดับอำเภอ เสนอเข้ารับการช่วยเหลือ โดยคัดเลือกผู้ที่มีฐานะยากจน เป็นคนขยัน รู้จักช่วยเหลือตนเอง มีความซื่อสัตย์ และเป็นผู้เทิดทูนสถาบัน งบประมาณค่าวัสดุก่อสร้างจากสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดหนองคาย หลังละ 120,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับงบสมทบในการซ่อมแซมต่อเติมจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย (พมจ.หนองคาย) หลังละ 40,000 บาท รวมทั้งส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันบริจาคเพิ่มเติม ในส่วนด้านแรงงานได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันตำบล ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และจิตอาสาในพื้นที่ร่วมกันก่อสร้างไม่เกิน 20 วัน ให้แล้วเสร็จทั้ง 3 หลัง









วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

อบต.โพนสา นำเรือท้องแบนแล่นฝ่าน้ำโขง ช่วยเหลือชาวบ้านน้ำท่วมบนเกาะกลางแม่น้ำโขง


 อบต.โพนสา จ.หนองคาย นำเรือท้องแบนแล่นฝ่าน้ำโขงที่ไหลหลาก เข้าช่วยเหลือชาวบ้านขนย้ายสิ่งของหนีน้ำท่วมบนเกาะดอนต่ำ-ดอนแตงกลางน้ำโขง  พร้อมจัดเวรยามเฝ้าระวังน้ำท่วม 24 ชั่วโมง


เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2566 นายอภิสิทธิ์ วงศรีแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสา  ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่งานป้องกัน นำเรือท้องแบน 2 ลำ แล่นฝ่าแม่น้ำโขงที่ไหลหลาก ไปช่วยเหลือชาวบ้านที่อาศัยและทำการเกษตรอยู่บนเกาะดอนต่ำ-ดอนแดง ที่เป็นเกาะดอนขนาดใหญ่ของไทย พื้นที่กว่า 3 พันไร่ ถูกน้ำโขงไหลเข้าท่วมทั้วบริเวณทั้งเกาะไม่สามารถอาศัยหรือทำการเกษตรบนเกาะได้



นายอภิสิทธิ์ วงศรีแก้ว นายก อบต.โพนสา กล่าวว่า อบต.โพนสาได้ออกช่วยเหลือพี่น้องประชาชนจากเหตุน้ำโขงไหลท่วมเกาะดอนต่ำ-ดอนแตงอย่างรวดเร็ว โดยได้เข้าให้การช่วยเหลือมาตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.66 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประชาชนหลายรายที่อยู่บนเกาะได้ขอความช่วยเหลือมา จึงได้นำเรือ ปภ.จำนวน 2 ลำพร้อมเจ้าหน้าที่งานป้องกัน ทำการยกสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในการทำการเกษตร ที่ถูกน้ำโขงไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมเกาะกลางแม่น้ำโขง เพื่อย้ายขึ้นสู่ที่สูงและขนย้ายเครื่องมือการเกษตรกลับมายังฝั่งบ้านท่ามะเฟืองทั้งหมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 รวมไปถึงการช่วยเหลือประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงบ้านท่ามะเฟือง และยังมีการจัดเวรยามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเตรียมกำลังคนเฝ้าระวังและอุปกรณ์ไว้เบื้องต้นแล้ว สำหรับในการรับมือน้ำท่วมฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป 













จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...