วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

โควิดฯหนองคาย พุ่งอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเพิ่มอีก 4 ราย สะสม 11 ราย


 วันที่ 16 เม.ย.64 เวลา 17.00 น.  ที่ ห้องประชุมสวัสดิ์ สัมพาหะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 8/2564 ถึงสถานการณ์และมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และแถลงข่าวสื่อมวลชน กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิค- 19 ระลอกใหม่ เดือนเมษายน 2564 อีก 4 ราย รวมมีผู้ป่วยในเดือนนี้ 11ราย (เป็นรายที่ 8-11) ดังนี้




รายที่ 8 เป็นหญิง อายุ 37 ปี อาชีพพนักงานบริษัท ชาว ต.ในเมือง อ.เมืองหนองคาย ภรรยาของผู้ป่วยรายที่ 6

รายที่ 9 เป็นชาย อายุ 83 ปี ชาว ต.ในเมือง อ.เมืองหนองคาย บิดาของผู้ป่วยรายที่ 6

รายที่ 10 เป็นชาย อายุ 30 ปี ชาว ต.ท่าขอนยาง อ.เมือง จ.มหาสารคาม อาชีพธุรกิจส่วนตัว เชื่อมโยงสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เดินทางมาที่ อ.เมืองหนองคาย 

รายที่ 11 เป็นหญิง อายุ 48 ปี ชาว ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ กลับจากเดินทางไปเยี่ยมลูกสาวที่กรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าติดจากลูกสาวที่ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยทั้งหมดเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย



ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า การระบาดของโรคโควิด-19 รอบนี้ จะเป็นกลุ่มที่มีการเดินทาง มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีการระบาด และความสัมพันในครอบครัวที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง จึงฝากขอความร่วมมือสื่อมวลชน ประชาชน และทุกภาคส่วนให้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตามมาตรการ D-M-H-T-T ได้แก่ D=Distancing : การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล1-2เมตร, M=Mask Wearing : การใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย, H=Hand Washing : การล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้สะอาดอยู่เสมอ, T=Testing : การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าไปในสถานที่ และ T=Thai Chana : การลงทะเบียนเข้าไปในสถานที่ด้วยการใช้แอพลิเคชั่นไทยชนะ


ณ วันนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคน ดังนี้ 1.กลุ่มคนที่มีญาติเดินทางเข้ามาเยี่ยม, 2.กลุ่มคนที่เดินทางไปท่องเที่ยวหรือกลับไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด  เมื่อญาติเดินทางกลับไปแล้ว หรือเดินทางกลับเข้าสู่จังหวัดหนองคาย ก็ขอความร่วมมือให้พักดูแลตนเองที่บ้าน หรือพิจารณาทำงานที่บ้าน เป็นเวลา 14 วัน หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น หรือหายใจลำบาก ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน ที่สำคัญจะต้อง "สวมแมส อยู่ห่าง ล้างมือ" ให้เป็นนิสัยปกติ ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2564

ชาวบ้านโพนตาล ร่วมใจรำถวายบูชานาคปรก หลังร่วมใจกันสร้างขึ้นมาจากนิมิตของพระธุดงค์

วันที่ 15 เม.ย. 64 ที่ วัดบ้านโพลตาล หมู่ 3 ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้มีนางรำซึ่งเป็นหญิงชาวบ้าน ร่วมกันรำถวายบูชานาคปรก เพื่อแสดงออกถึงความเคารพนบน้อมความศรัทธาแด่นาคปรก เป็นการส่งเสริมและสนับสนุน ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาวบ้าน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการวัด และชาวบ้านในพื้นที่ร่วมชมและให้กำลังใจนางรำในครั้งนี้ด้วย



สำหรับองค์นาคปรก ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันสร่างขึ้นมานั้น ได้รับการเปิดเผยจากคณะกรรมการวัดว่า ก่อนหน้านี้ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ได้มาจำวัดที่วัดบ้านโพนตาลแห่งนี้เป็นเวลา 2 วัน 2 คืน ก่อนที่พระรูปนั้นจะไป ได้บอกกล่าวกับพระในวัดและชาวบ้านว่า ได้นิมิตเห็นพญานาค ตนหนึ่งอยากขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ และพระรูปนั้นอยากให้สร้างพญานาคขึ้นมา แต่ต้องเป็นนาคปรก 7 เศียร ชาวบ้านจึงร่วมใจกันบริจาคเงินสร้างขึ้นด้วยจิตศรัทธา โดยให้ช่างในพื่นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ออกแบบ ประจวบเหมาะกับทางวัดมีพระพระพุทธรูปปางสมาธิ เนื้อทองเหลือง หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว อยู่แล้ว จึงสร้างเฉพาะตัวนาคปรก 7 เศียร ด้วยราคา 19,000 บาท เมื้อสร้างแล้วเสร็จ ทางวัดและชาวบ้านจึงได้ประกอบพิธีรำบูชานาคปก เพื่อความเป็นสิริมงคล และให้ถือเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เพื่อให้ประชาชนเดินทางมากราบไหว้ ต่อไป

















วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2564

ชาวหนองคาย นักท่องเที่ยว ร่วมสรงน้ำหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ เทศกาลสงกรานต์ ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ โดยทางวัดให้สรงน้ำเฉพาะองค์จำลอง เพื่อลดความแออัด เว้นระยะห่างป้องกันโควิด-19

วันที่ 14 เม.ย. 64 บรรยากาศที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ตลอดทั้งวันมีชาวจังหวัดหนองคาย และนักท่องเที่ยว เดินทางมากราบไหว้สักการะขอพรหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวันสงกรานต์ หรือเทศกาลปีใหม่ไทย ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ โดยทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิที่จุดคัดกรองทางเข้าด้านหน้าวิหาร พร้อมกับลงทะเบียน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนที่จะเข้ามาด้านใน




โดยทางวัดฯได้จัดทำน้ำอบ น้ำหอม เพื่อบริการประชาชนไปสรงน้ำเสริมความเป็นสิริมงคล และได้กำหนดให้สรงน้ำหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ องค์จำลองที่ด้านล้างและด้านหน้าวิหารเท่านั้น ส่วนองค์หลวงพ่อฯให้เฉพาะเข้าไปกราบไหว้ขอพร ปิดทอง เพื่อลดความแออัด อีกทั้งเพื่อลดปริมาณความชื้นภายในองค์พระ ซึ่งอาจเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการแยก แตกร้าวของพื้นผิวขององค์พระ และขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตาม ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์กรมศิลปากร



ภายหลังกราบไหว้หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อแล้ว ผู้คนที่มาต่างก็เข้าคิวทำกิจกรรมอื่นๆ ของทางวัดฯ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทั้งปล่อยปลา, ตักบาตร 108, ถวายสังฆทาน และสะเดาะเคราะห์ ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ เพื่อสืบสานประเพณีสงกรานต์และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อความปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19

















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...