วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

ลาววุ่นโควิดลาม! คลัสเตอร์ 2 หนุ่มไทยลอบข้ามโขงไปเที่ยว ทำแพร่เชื้อ ก่อนลักลอบกลับไทยผ่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

วันที่ 20 เม.ย. 64 สำนักข่าวสารประเทศลาว รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศลาวว่า พบผู้ติดเชื้อใหม่ 2 คน โดยรายแรกเป็นผู้หญิงอายุ 25 ปี เป็นนักศึกษาอยู่นครหลวงเวียงจัน และอีกรายเป็นผู้หญิงเช่นกันอายุ 28 ปี อยู่นครหลวงเวียงจัน โดยทั้ง 2 คนมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ลักลอบเข้าประเทศลาวอย่างผิดกฎหมาย


โดย คณะเฉพาะกิจเพื่อป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด สปป.ลาว รายงานผลสอบโรคผู้ป่วยนักศึกษาหญิงอายุ 25 ปี เริ่มจากผู้ชายไทย 2 คน นั่งเรือลักลอบข้ามแม่น้ำโขงเข้าประเทศลาวอย่างผิดกฎหมายมายังแขวงสะหวันนะเขด เมื่อวันที่ 6 เม.ย. จากนั้นมาพบกับพี่สาวของนักศึกษา

ต่อมาวันที่ 7 เม.ย. ทั้ง 3 คนเดินทางจากแขวงสะหวันนะเขด มานครหลวงเวียงจัน นักศึกษาจึงพาทั้ง 3 คนไปเข้าพักโรงแรม โดยระหว่างพักอยู่นครหลวงเวียงจัน ก็พากันไปเที่ยวร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ ร้านนวด และสถานบริการบันเทิงอีกหลายแห่ง จนกระทั่งวันที่ 12 เม.ย. ชายไทย 2 คนเริ่มมีอาการป่วย






จากนั้นวันที่ 16 เม.ย. ก็เดินทางลักลอบกลับประเทศไทยผ่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ก่อนที่นักศึกษาได้รับแจ้งจากพี่สาวว่าทั้ง 3 คนติดเชื้อโควิด นักศึกษาจึงไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาล ผลออกมาเป็นลบ ติดเชื้อโควิดเช่นกัน และยังมีผู้สัมผัสใกล้ชิดอีกจำนวนมาก

ที่มาข่าวสดออนไลน์ Khaosod Online

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

ผู้ว่าฯ หนองคาย พร้อมคณะบริหารลงพื้นที่ตรวจความพร้อม รพ.สนามหอประชุม อบจ.หนองคาย จำนวน 60 เตียงสนาม คาดว่าเพียงพอกับผู้ติดเชื้อโควิด-19

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 20 เม.ย. 64 ที่ หอประชุม อบจ.หนองคาย ข้างที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย , นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายก อบจ.หนองคาย , ดร.สมเกียรติ ตระกูลฟ่าร์มธวัช รองนายก อบจ.หนองคาย,  นพ.ชัชวาลย์ ฤทธิ์ฐิติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย , นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย , นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย , นางรณิดา เหลืองฐิติสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และ นายแพทย์วิเชียร รุ่งธิติธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นสำรวจความพร้อมโรงพยาบาลสนามหอประชุมองค์การบริการส่วนจังหวัดหนองคาย เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยโควิด




นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาดูความเรียบร้อยโรงพยาบาลสนามที่ทาง อบจ.หนองคาย ได้จัดเตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยโควิดเอาไว้ ซึ่งหอประชุม อบจ.หนองคาย นี้ถือว่าเป็นโรงพยาบาลสนามแห่งแรกของจังหวัดหนองคาย สามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ 60 เตียง อีกอย่างพื้นที่ที่ อบจ.จัดให้เป็นโรงพยาบาลสนาม นั้นมีความเหมาะสม เพราะอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลหนองคาย ที่ง่ายต่อการบริหารจัดการและให้การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลสนาม คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 2 วันนี้ ก็สามารถส่งมอบให้กับโรงพยาบาลหนองคาย สามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยโควิดได้ทันที ยังคาดรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ทั้งการตกแต่งห้อง การอำนวยความสะดวกเรื่องอื่นๆ เช่น สัญญาณ Wifi  รวมไปถึงการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อสะดวกในการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่



ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เปิดเผยอีกว่า จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกเดือนเมษายนนี้ ได้วางแผนจัดตั้งโรงพยาบาลสนามตามสมมติฐานที่วางไว้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ในห้วงการปฏิบัติจริงอาจมีปัจจัยและตัวแปรต่างๆ เพิ่มเติม คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหนองคาย ได้ประชุมและปรับปรุงการปฏิบัติงานให้รองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวัน โดยโรงพยาบาลสนามที่วางไว้จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้ คาดว่าจะเพียงพอกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจังหวัดหนองคายพร้อมดูแลประชาชนอย่างเต็มที่











"ประกาศ" คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจ.หนองคาย ที่ 11/2564

คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจ.หนองคาย ที่ 11/2564  เรื่อง ข้อกำหนดการปฏิบัติตามมาตรการสำคัญเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ใน จ.หนองคาย (เพิ่มเติม) โดยมีสาระที่สำคัญ คือ

1.ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่น (75 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ) ต้องกักกันตัวที่บ้าน และปฏิบัติตามแนวทางข้อกำหนดเพื่อควบคุมโรคอย่างเคร่งครัดและเข้มงวด

2. ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลยพินิจพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด ที่มีประวัติการเดินทางเข้าไปและกลับจากพื้นที่เสี่ยงและมีการระบาดของโรค สามารถปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง (Work from Home) อย่างเต็มขีดความสามารถโดยไม่กระทบและเกิดผลเสียหายต่อหน่วยงานและประชาชน (มีผลบังคับใช้ระหว่าง 20-30 เมษายน 2564 นี้ )

ขอความร่วมมือ หน่วยงาน องค์กร ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้อาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพะราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศคำสั่ง ณ วันที่ 20 เมษายน 2564

ตามรายละเอียดดังนี้




หนองคายติดเชื้อโควิดระลอกเดือนเมษายนอีก 3 ราย สะสมรวม 14 ราย เป็นผู้ป่วยสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 และเพื่อนร่วมงานที่ กทม.

วันที่ 19 เม.ย.64 เวลา 14.30 น.  ที่ ห้องประชุมสวัสดิ์ สัมพาหะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, นพ.ชัชวาลย์ ฤทธิ์ฐิติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย , นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย , นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และนางรณิดา เหลืองฐิติสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ร่วมกันแถลงข่าวสื่อมวลชน กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิค- 19 ระลอกใหม่ เดือนเมษายน 2564 อีก 3 ราย รวมมีผู้ป่วยในเดือนนี้ 14 ราย (เป็นรายที่ 12-14) ดังนี้




รายที่ 12 เป็นชายไทยอายุ 30 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว (ออนไลน์) ภูมิลำเนาอยู่ ต.พนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 จังหวัดหนองคาย รายที่ 10 (เป็นเพื่อน)

รายที่ 13 เป็นหญิงชาวลาว อายุ 26 ปี ภูมิลำเนาเมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 จังหวัดหนองคาย รายที่ 12 ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ของจังหวัดหนองคาย

รายที่ 14 เป็นชายไทย อายุ 24 ปี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทในกรุงเทพฯ ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.ปะโค อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯ ช่วงวันหยุดยาว ทราบว่าเพื่อนร่วมงานที่กรุงเทพฯตรวจพบเชื้อโควิด-19 เมื่อมีอาการจึงได้เข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลหนองคาย ผลการตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลหนองคาย

นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้ฝากถึงประชาชนชาวหนองคาย ว่า ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ลดลง จึงขอฝากให้ประชาชนได้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่ทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรตติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. กำหนด โดยเฉพาะมาตรการ D-M-H-T-T ได้แก่ D=Distancing : การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล1-2เมตร, M=Mask Wearing : การใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย, H=Hand Washing : การล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้สะอาดอยู่เสมอ, T=Testing : การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าไปในสถานที่ และ T=Thai Chana : การลงทะเบียนเข้าไปในสถานที่ด้วยการใช้แอพลิเคชั่นไทยชนะ ขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามอย่างจริงจัง และหากไม่มีความจำเป็นก็ขอให้อยู่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยยืนยันที่ตรวจพบส่วนใหญ่ทำงาน ไปศึกษาอยู่ในจังหวัดอื่น และได้เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงแล้วเดินทางกลับมาในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ต่อจากนี้ไปก็อาจจะมีผู้ป่วยยืนยันฯ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพิ่มขึ้นอีก และอาจจะเพิ่มมาก หากทุกคนไม่ช่วยกัน


ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวต่อไปอีกว่า การฉีดวัคซีนนั้น ในช่วงนี้ก็จะฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนประชาชนทั่วไปก็จะเริ่มฉีดให้ในเดือนมิถุนายน 2546 และในส่วนของการเตรียมการเรื่องของโรงพยาบาลสนามนั้น ขณะนี้มีความพร้อมเกือบร้อยเปอร์เซนต์แล้ว


วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564

ศบค.มท. อัพเดท 47 จังหวัด เดินทางไปต้อง "กักตัว" ป้องกัน "โควิด" เพิ่มชื่อ "พัทลุง-นครนายก"


วันที่ 19 เม.ย. 64 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) รายงานรายชื่อจังหวัดที่มีคำสั่งหรือประกาศให้มีการกักกันตัวผู้ที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่เพิ่มเติมล่าสุดรวม 47 จังหวัด จากข้อมูล ณ เวลา 21.00 น. ของวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย

ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ ลำพูน อุทัยธานี นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกพิจิตร และสุโขทัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร สกลนคร หนองคายหนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี  ขอนแก่น อุบลราชธานี และสุรินทร์


ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี และนครนายก

ภาคใต้ 12 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พังงา สงขลา สตูล ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง

ทั้งนี้ การกักกันตัวเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละจังหวัดสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564

กองพันพัฒนาที่ 2 จัดคณะกรรมการตรวจคัดเลือกทหารกองเกินเข้าประจำการ ประจำปี 2564 ของอำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19 อย่างเคร่งครัด

วันที่ 16 เม.ย. 64 กองพันพัฒนาที่ 2 นำโดย พันโท อภิวัฒน์ แสงสูง ผู้บังคับกองพันพัฒนาที่ 2 จัดคณะกรรมการตรวจคัดเลือกทหารกองเกินเข้าประจำการใหม่ ประจำปี 2564 สำหรับชายไทยที่เกิด พ.ศ. 2543 ซึ่งมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ และคนที่เกิด พ.ศ. 2535 - 2542 ซึ่งมีอายุ 22 - 29 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1-20 เมษายน (เว้นวันที่ 6 เมษายน 64 (วันจักรี) และวันที่ 12-15 เมษายน 64 (วันสงกรานต์) 



สำหรับการคัดเลือกทหารกองเกินในครั้งนี้ เป็นการค้ดเลือกในพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย โดยได้ทำการแบ่งการคัดเลือกออกเป็น 3 วัน คือวันที่ 11, 16 และ 17 เมษายน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย โดยวันนี้เป็นวันที่ 2 ของการคัดเลือกชายไทยเข้าเป็นทหารกองประจำการ ประกอบด้วย ตำบลค่ายบกหวาน, ตำบลเมืองหมี, ตำบลมีชัย, ตำบลโพนสว่าง และตำบลหนองกอมเกาะ 




โดยมีการเน้นย้ำคณะกรรมการตรวจเลือกปฏิบัติไปด้วยคาวมโปร่งใส ตามนโยบายของกองทัพบกและกองทัพภาคที่ 2 ภายใต้สถานการณ์การป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งก่อนการตรวจเลือก เจ้าหน้าที่จะทำการวัดอุณภูมิร่างกายกับบุคคลที่เดินทางมายังบริเวณจุดตรวจเลือกทุกคน พร้อมกับเน้นย้ำให้ยืนหรือนั่ง ต้องทำการเว้นระยะห่าง รวมถึงทุกขั้นตอน โดยจะให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือก รวมทั้งญาตสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ต้องมีการสแกนคิวอาร์โค้ดไทยชนะ และปฏิบัติตามมาตรการนิวนอมอล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 

สำหรับการคัดเลือกทหารกองเกินอำเภอเมืองหนองคาย ในวันนี้ มีผู้เข้ารับการคัดเลือก 364 คน ต้องการทหารกองเกินเข้าประจำการ จำนวน 90 คน












จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...