วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

จิตอาสาพระราชทาน 904 อำเภอศรีเชียงใหม่ ร่วมอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ประชาสัมพันธ์และจัดระเบียบการเข้ารับการฉีดวัคซีน ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนศรีเชียงใหม่

วันที่ 24 ก.ย. 2564 ที่ หอประชุมเทสรังสี อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งเปิดให้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนศรีเชียงใหม่ นอกสถานที่ นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอศรีเชียงใหม่ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน 904 อำเภอศรีเชียงใหม่ นำจิตอาสาพระราชทาน 904 ในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำขั้นตอนในการเข้ารับฉีดวัคซีน อำนวยความสะดวก บริการน้ำดื่ม และให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่เข้ามารับการฉีดวัคซีน



สำหรับวันนี้เป็นการฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็ม 1 และแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 ให้กับกลุ่ม 608 ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป, กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ที่เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่ รวมทั้งให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้มีการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด










วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

อำเภอศรีเชียงใหม่ ร่วมกับ สสอ.ศรีเชียงใหม่ รพ.ศรีเชียงใหม่ ลงพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก แก่กลุ่มเปราะบางถึงที่พักอาศัยภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการฉีดวัคซีนที่ รพ.หรือหน่วยบริการฉีดวัคซีนได้

วันที่ 23 ก.ย. 2564 นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอศรีเชียงใหม่ มอบหมายให้นายจรัล กลางประดิษฐ ปลัด อาวุโสฯ, นายเอกพิสิฐ ธีรนันท์ภาคิน ปลัดอำเภองานป้องกัน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในตำบลพานพร้าว เพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคแก่กลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่ ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ ถึงที่พักอาศัยภายในบ้าน ซึ่งประชาชนกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถเดินทางมารับบริการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการฉีดวัคซีนได้ 



โดยร่วมกันลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน ฉีดวัคซีนให้แก่ ผู้สูงอายุในกลุ่ม 608 ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเดินทางออกมาจากบ้านได้ โดย หมอ พยาบาลจะเดินไปบริการถึงบันไดบ้าน เพื่อฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” เป็นเข็มแรก และมีผู้สูงอายุและกลุ่ม 608 กลุ่มโรคเสี่ยงต่างๆ ป้องกันโควิด -19 ในวันนี้จำนวน 12 คน พร้อมกันนี้อำเภอศรีเชียงใหม่ จะมีทีมฉีดวัคซีนเชิงรุกในตำบลอื่นๆในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หากพบผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุจะฉีดวัคซีนให้ทันที

















วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

'สิบล้อ'หักหลบจยย.ตัดหน้า พุ่งชนรถและศาลาริมทางพังยับ ส่วนคนขับสิบล้อได้รับบาดเจ็บศรีษะแตก

วันที่ 21 ก.ย.2564 เวลาประมาณ 18.45 น. เจ้าหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้รับแจ้งมีเหตุรถสิบล้อเสียหลักชนรถและศาลาริมถนนพังเสียหาย เหตุเกิดริมถนนหลวง 211 สายหนองสองห้อง – ท่าบ่อ ฝั่งขาเข้าเมืองท่าบ่อ ใกล้กับร้านราชาข้าวต้ม หมู่ 9 ต.ท่าบ่อ จึงเดินทางไปตรวจสอบ



เมื่อถึงที่เกิดเหตุพบรถบรรทุก 10 ล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว ทะเบียน 70-3128 หนองคาย สภาพชนศาลาที่พักผู้โดยสารพังทั้งหลัง  ส่วนคนขับรถบรรทุกสิบล้อได้รับบาดเจ็บศรีษะแตก เนื่องจากถูกโครงหลังคาของศาลาทะลุกระจกหน้ารถสิบล้อมากระแทก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้ารถสิบล้อยังพบรถกระบะตอนเดียว ยี่ฮ้อนิสสัน สีเขียวดำ ทะเบียน บก 2902 หนองคาย สภาพพังเสียหายหนัก และบริเวณกลางถนนยังพบรถหกล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว ทะเบียน บน 1924 หนองคาย สภาพพลิกตะแคงได้รับความเสียหายหนักเช่นกัน ล้อของรถกระเด็นไปตกที่ฟุตบาทหนึ่งเส้น โดยมีชาวบ้านได้ช่วยกันเก็บกวาดเศษกระจกที่แตกเกลื่อนพื้นออกจากถนน



นายศุภโชค  อาจเดช  อายุ 56 ปี คนขับรถบรรทุกสิบล้อ เปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุตนไปเปลี่ยนยางรถสิบล้อในพื้นที่ตำบลบ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ หลังจากนั้นได้ขับรถบรรทุกสิบล้อมาตามถนนสายดังกล่าวเพื่อที่จะกลับบ้าน ที่บ้านนาช้างน้ำ หมู่ 7 ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ พอถึงที่เกิดเหตุได้มีรถจักรยานยนต์คันหนึ่ง ที่ขี่อยู่หน้ารถของตนในช่องทางซ้าย ทันใดนั้นรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหักเลี้ยวมาตัดหน้ากลางถนนอย่างกระทันหัน ตนจึงหักพวงพามาลัย เพื่อให้รถหลบรัศมีที่รถจักรยานยนต์ที่ตัดหน้า เพื่อไม่ให้รถบรรทุกเหยียบคนขับรถจักรยานยนต์ กระทั้งรถบรรทุกสิบล้อของตนเสียหลักไปชนรถของชาวบ้านและศาลาริมทางพังเสียหาย และหลังคาของศาลาก็กระแทกกระจกหน้ารถของตนแตก แล้วมากระแทกศรีษะของตนจนได้รับบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามโชคดีที่ขณะเกิดเหตุไม่มีใครอยู่ในศาลาผู้โดยสาร จึงไม่มีใครได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว 











พุทธศาสนิกชนชาวหนองคาย สืบทอดประเพณีบุญห่อข้าวสาก"สลากภัต"ตามประเพณีฮิตสิบสองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ

วันที่ 21 ก.ย. 2564 ที่ ศาลาการเปรียญวัดแก้วพิจิตร หมู่ 9 ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พุทธศาสนิกชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนมาก ร่วมกันทำบุญประเพณีห่อข้าวสาก"สลากภัต" เพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์งานประเพณีเก่าแก่และเป็นการอุทิศส่วนกุศลทำบุญให้บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยถวายสลากภัตแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแก้วพิจิตร จำนวน 8 รูป



ประเพณีสลากภัต หรือที่ภาคอีสานเรียก ว่า“บุญข้าวสาก” โดยนิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปีของประเพณีสิบสองเดือน หรือ “ฮิตสิบสอง” ซึ่งชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน พร้อมด้วยปัจจัยหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกคือ"ใส่ยอด" ก็คือใส่ซองเงินเสียบยอดไม้ไผ่ลงไป เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปหาญาติสนิทมิตรสหายที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ตามความเชื่อเพื่อให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้มีของกินของใช้ในโลกหลังความตาย



จากนั้นก็จะนำเบอร์สลากไปติดที่หาบเพื่อให้พระสงฆ์ได้ทำการจับเบอร์ด้วยหลักอุปโลกกรรม คือ ของที่ถวายในหาบนั้นมีทั้งของมากและของน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจัดมา พระสงฆ์รูปใดจับได้เบอร์ไหนทางเจ้าภาพก็จะหาบๆนั้นไปถวาย โดยก่อนที่จะถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร จะกล่าวคำถวายข้าวสาก หรือสลากภัตพร้อมกัน เมื่อเสร็จพิธีถวายข้าวสากแล้ว ชาวบ้านที่ไปร่วมพิธีก็จะเอาชะลอมหรือห่อข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่างๆ รอบบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติ หรือเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่างๆ ที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศไปให้ด้วย ซึ่งการทำบุญข้าวสาก"สลากภัต"ในพระพุทธศาสนาเป็นประเพณีสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน


















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...