วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

กองบัญชาการกองทัพไทย โดย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ตั้งจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ณ ทางหลวงหมายเลข 211 บริเวณสี่แยกบ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย

วันที่ 29 ธ.ค.2565 ที่ จุดบริการประชาชน ริมทางหลวงหมายเลข 211 บริเวณสี่แยกบ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย กองบัญชาการกองทัพไทย โดยพันเอกณัฏฐาภูมิ  นิกร ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลจิตอาสา และเจ้าหน้าที่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของหน่วยฯ ร่วมบูรณาการกับฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ตั้งจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ภายใต้แนวคิด " เติมความสุขให้กับคนไทย ตามแนวทางวิถีใหม่ จากใจทหาร " โดยได้ให้แนวทางในการปฏิบัติงานกับกำลังพลและเจ้าหน้าที่ประจำจุดบริการฯ พร้อมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวพระราชทานของ  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการทหารพันธุ์ดี นพค.25  มอบพันธุ์ไม้วันละ 40 ตัน  ในโครงการ"กิ่งพันธุ์ ปันสุข" เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน และให้บริการน้ำดื่ม, มอบยาสามัญประจำบ้าน มอบเครื่องดื่มชูกำลัง มอบน้ำดี่มวิตามินซี มอบลูกอม และเติมลมยางให้กับประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ทั้งนี้ได้เน้นย้ำและรณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ในห้วงวันที่ 29 ธ.ค.65 ถึง 4 ม.ค.66













วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

จังหวัดหนองคาย จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วันที่ 28 ธ.ค.2565 ที่ วัดหนองอุ้มบาตร บ้านม่วง หมู่ที่ 6 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธิเปิดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยมีจิตอาสาพระราชทาน และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ เข้าร่วมทำกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง




กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทย ด้วยการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการ "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" ช่วยกันพัฒนาทำความสะอาด ตัดหญ้า เก็บกวาดใบไม้ เก็บขยะ ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในบริเวณวัดหนองอุ้มบาตร  รวมทั้งปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และปลูกต้นไม้ริมหนองอุ้มบาตร














วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

อำเภอสังคม จ.หนองคาย ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ จัดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้า ประจำปี 2565 เพื่อรักษาสัญลักษณ์ อัตลักษณ์ "กล้วย" ของอำเภอสังคมให้คงอยู่

วันที่ 27 ธ.ค.2565 ที่ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม จ.หนองคาย  นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้า ประจำปี 2565 ของอำเภอสังคมที่ได้กำหนดให้มีกิจกรรมขึ้น ประกอบด้วย การจัดขบวนแห่ประดับตกแต่งจากล้วยและผลิตผลทางการเกษตรทุกตำบล จำนวน 5 ขบวน , การแข่งขันเซียนกล้วยอำเภอสังคม , การประกวดตำกล้วยลีลา , การประกวดการประดิษฐ์ตกแต่งจากกล้วย , การจัดซุ้มนิทรรศการแสดงผลผลิตจากกล้วย ผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากกล้วย ตลอดจนพืชผลทางการเกษตร และการเดินแบบผ้าไทยพื้นเมือง





โดยเฉพาะการแข่งขันที่สร้างสีสันความสนุกสนาน ก็คือการแข่งขันเซียนกล้วยอำเภอสังคม ซึ่งแต่ละท้องถิ่นในพื้นที่ ได้ส่งทีมเข้าแข่งรวมทั้งสิ้น 5 ทีมๆ ละ 4 คน โดยคนแรกจะเป็นเซียนเตะต้นกล้วย  คนที่ 2 เซียนตัดเครือกล้วย คนที่ 3 เซียนตัดใบตอง และคนที่ 4 เซียนปลอกกล้วย ซึ่งแต่ละทีมต่างส่งผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ร่วมแข่งขัน โดยเฉพาะเซียนเตะต้นกล้วย ยังไม่ได้แข่งก็เสียงหัวเราะให้กับกองเชืยร์และประชาชนที่มาร่วมชมการแข่งขันเป็นอย่างมาก ก่อนเริ่มการแข่งก็ได้ให้ผู้เข้าแข่งขันโชว์ลีลาร่ายรำไหว้ครูมวยไทย พอเริ่มการแข่งขัน แต่ละคนต่างก็ใช้ทักษะแม่ไม้มวยไทย ทั้งเข่า ทั้งเตะต้นกล้วยอย่างไม่ยั้ง สร้างความครื้นเครงสนุกสนานให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก







นอกจากนี้ยังมีการแข่งขัน“ตำกล้วยลีลา” ที่สุดสนุก เต้นกันกระจาย ทั้ง 5 ทีม ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่  ที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ละทีมจะส่งคนได้ไม่เกิน 5 คน โดยต้องตำไปด้วยและเต้นไปด้วย  ซึ่งแต่ละทีมต่างก็จะพกความมั่นใจกันมาเกินร้อยทุกทีม พาสาก ครกใหญ่ นำมาจากที่บ้าน เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และมีเคล็ดลับการตำกล้วยให้อร่อยเด็ดสุด และรสชาติ 3 รส จะต้องมีความกลมกลืนกัน พอเริ่มแข่งขันพร้อมเพลงประกอบ"สาวเต่างอย" เรียกเสียงปรบมือ ฮากันลั่น ทั้งชาวบ้านที่มามุงดูการแข่งขัน คณะกรรมการ รวมไปถึงหัวส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นที่มานั่งชมให้กำลังใจผู้เข้าแข่งขันในครั้งนี้  โดยมีชาวบ้านที่มาให้กำลังใจส่งเสียงเชียร์ และเสียงหัวเราะกันดังลั่น อย่างสนุกสนาน ซึ่งผู้แข่งขันแกว่งสากแต่ละครั้ง น้ำปลาร้ากระจาย จนทำให้ผู้ชมต้องถอยห่าง เต้นไปกว่า 5 นาที การแข่งขันก็สิ้นสุดลง พร้อมกับหน้าตาที่สวยงามของตำกล้วยลีลา




นายสมควร ใจซื่อ นายอำเภอสังคม กล่าวว่า อำเภอสังคมเป็นพื้นที่ ที่มีการปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดของจังหวัดหนองคาย กล้วยน้ำว้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาส่งเสริมและให้ความรู้ทางด้านวิชาการ โดยการส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้า GI เพื่อให้ได้รับผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยให้มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการเพิ่มมูลค่ารายได้ และคุณค่าทางด้านโภชนาการ ต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จนกลายเป็น "สัญลักษณ์" และ "อัตลักษณ์" ของอำเภอสังคมมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกล้วยตากสังคม GI เป็นสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่เป็นสินค้าที่มี"อัตลักษณ์" และมีคุณภาพสูงตามเกณฑ์ประเมินการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ที่มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ







สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม ทั้งด้านงบประมาณและแรงกายแรงใจ เพื่อรักษาสัญลักษณ์ อัตลักษณ์ "กล้วย" ของอำเภอสังคมให้คงอยู่ต่อไป



















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...