วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

ผู้ว่าฯหนองคาย พร้อมหัวหน้าสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี และนายกเหล่ากาชาดหนองคาย มอบบ้านตามโครงการก่อสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้อำเภอศรีเชียงใหม่ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 5 ม.ค. 2566 นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานมอบบ้านตามโครงการก่อสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้อำเภอศรีเชียงใหม่ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีนางเพ็ญ แก้วส่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี , นางนงลักษณ์ ซุ้นหั้ว นายกเหล่ากาชาดจังหวัดหนองคาย , นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี นครชัย แสงมณี นายอำเภอศรีเชียงใหม่ คณะสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดหนองคาย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน และภาคเอกชน ร่วมพิธิมอบบ้านจำนวน 7 หลัง ดังนี้



1. บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 6 บ้านไทยสามัคคี ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ ของนายสินสมุทร ผิวบาง , 2. บ้านเลขที่ 118 หมู่ที่ 5 บ้านขุมคำ ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ ของนายอานนท์ โยมะบุตร , 3. บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 2 บ้านสะพานพุทธ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ ของนายศุภกร จันทร์จรูญ , 4. บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 10 บ้านห้วยไฮ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ ของนายสุพรรณ อุ้ยอั้ง , 5. บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งสว่าง ต.บ้านหมัอ อ.ศรีเชียงใหม่ ของนางนัฏฐา จันทรประเทศ , 6. บ้านเลขที่ 148/1 หมู่ที่ 3 บ้านศรีเชียงใหม่ ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ ของนางบุญเต็ม ภูเงิน , 7. บ้านเลขที่ 6 หมู่ทึ่ 11 บ้านหัวทราย ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ ของนางเกศ เนินริมหนอง




ทั้งนี้ในการดำเนินการก่อสร้างบ้านผู้ยากไร้ทั้ง 7 หลังดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ ร่วมสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าวัสดุก่อสร้าง โดยใช้แรงงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นรข.เขตหนองคาย (สถานีเรือศรีเชียงใหม่) ตำรวจ กองร้อย อส.อำเภอศรีเชียงใหม่ และชาวบ้านจิตอาสาในพื้นที่ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือ แก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ยากจน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้มีที่อยู่อาศัยในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง มีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น













กองบัญชาการกองทัพไทย แจกจ่ายเครื่องกันหนาวช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่บ้านน้ำโมง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

วันที่ 5 ม.ค. 2566 ที่วัดดอนน้อย หมู่ที่ 1 บ้านน้ำโมง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พันเอก ณัฏฐาภูมิ  นิกร ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมกำลังพลนำผ้าห่มกันหนาวไปมอบให้กับพระภิษุสงฆ์ ประชาชน และนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโมง ที่ประสบภัยหนาว จำนวน 150 ผืน โดยมีผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ร่วมพิธีมอบผ้าห่มกันหนาวในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบภัยหนาว สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่




ตามที่กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มีนโยบายให้หน่วยขึ้นตรง นำผ้าห่มกันหนาวไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยหนาว และได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศในห้วงฤดูหนาว หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 จึงได้จัดผ้าห่มกันหนาวมอบให้กับประชาชนชาวบ้านน้ำโมง หมู่ที่ 1 เป็นหมู่บ้านชายแดน มีประชากร 69 ครัวเรือน สภาพอากาศในช่วงกลางวันอากาศจะหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 19 องศาฯ กลางคืนต่ำสุดอยู่ที่ 15 องศาฯ









วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

อบต.แก้งไก่ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย อำเภอสังคม และทุกภาคส่วนในพื้นที่ จัดงานเทศกาลเล่นโหวด ประจำปี 2565 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น

วันที่ 31 ธ.ค. 2565 ที่ ลานอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อ.สังคม จ.หนองคาย นายสมควร ใจซื่อ นายอำเภอสังคม เป็นประธานเปิดงานเทศกาลเล่นโหวด ประจำปี 2565 ขององค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด อำเภอสังคม ชุมชน หมู่บ้าน วัด โรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบจัดงานขึ้น เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นที่ดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักประเพณีของท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์การเล่นโหวด ให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป





นายคำพันธ์ เยาวเลิศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ กล่าวว่า งานเทศกาลเล่นโหวด เป็นการรักษาวัฒนธรรมของชาวตำบลแก้งไก่ และฟื้นฟูการเล่นโหวด ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวตำบลแก้งไก่ โดยเริ่มจัดกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา และในปี 2565 นี้ได้กำหนดให้มีการจัดงานเทศกาลเล่นโหวด ในวันที่ 30 - 31 ธันวาคม 2565 โดยมีการทำบุญตักบาตร การบวงสรวงพญาแถน การประกวดขบวนแห่ การแข่งขันขว้างโหวด การแข่งขันประดิษฐ์โหวด  การแข่งขันประดิษฐ์หุ่นฟางไก่ระดับเยาวชน การประกวดเทพีโหวด และการประกวดไก่พื้นเมือง ประเภทไก่ชนพ่อพันธุ์ ประเภทเสียงขันไก่ตั้งไก่ต่อ และประเภทไก่แม่พันธุ์ลูกดก





ด้าน นายเอกอมตะอุทรฑ์ เกฐสิทธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ได้บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของเทศกาลเล่นโหวด ว่า ประเพณีขว้างโหวด เป็นประเพณีหนึ่งเดียวของภาคอีสาน ชาวบ้าน ต.แก้งไก่ อ.สังคม จ.หนองคาย จัดงานเทศกาลเล่นโหวด ในลักษณะของการจัดประเพณีที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และงานเทศกาลเล่นโหวด ยังถือเป็นการแจ้งข่าว "พญาแถน" ให้หยุดฝนลงมา เนื่องจากได้น้ำฝนทำเกษตรเพียงพอแล้ว ซึ่งมนุษย์จะแกว่งโหวดขึ้นสู่ท้องฟ้าให้เกิดเสียงดัง เป็นสัญญาณให้พญาแถนทราบ เพื่อให้ลดปริมาณฝนลง หรือให้ฝนหยุด ชาวตำบลแก้งไก่ได้มีการละเล่นโหวด เป็นประเพณีสืบมาต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ เห็นความสำคัญของประเพณีพื้นบ้าน  จึงได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีการเล่นโหวดขึ้น โดยจัดเทศกาลเล่นโหวดในวันเสาร์สุดท้ายเดือนธันวาคมของทุกปี ประมาณว่า "แล้วข้าวแล้วนา มาเล่นโหวด"





















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...