วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ไวน์ - สุรากลั่นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ สร้างมูลค่าทางการเกษตร จ.หนองคาย

ชาวสวนสับปะรดศรีเชียงใหม่ ผันตัวเองมาทำวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรด ผลิตไวน์สับปะรด - สุรากลั่นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ สร้างมูลค่าทางการเกษตรเดือนละ 7-8 หมื่นบาท สู่ MOU ตลาด สปป.ลาว - เกาหลีใต้


ที่ โรงสุราแช่พลไม้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านหม้อ หมู่ 1 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย กำลังนำสับปะรดของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นสินค้าการเกษตรที่ขึ้นชื่อของอำเภอศรีเชียงใหม่ เพราะสับปะรดที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  หรือ GI  เพราะมีเอกลักษณ์ในรสชาติที่หอมหวานฉ่ำ มีพื้นที่ปลูกรวม 1,400 ไร่ เป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้ชาวศรีเชียงใหม่กว่า 80 ครัวเรือน นำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นไวน์สับปะรด "ตำจอก" และสุรากลั่นสับปะรด "ซมเซย" เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรของจังหวัดหนองคาย



นายภูเบศ ใจขาน ผู้ใหญ่บ้านหมัอ หมู่ 1 ต.บ้านหม้อ ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านหม้อ  กล่าวว่า ก่อนที่จะมาแปรรูปสับปะรดก็เป็นชาวสวนทำไร่สับปะรดมาก่อน ตั้งแต่ปี 2555-2559 แต่ประสบปัญหาเรื่องราคาสับปะรตกต่ำ ก็เลยผันตัวเองมาทำเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรด โดยได้องค์ความรู้จากนักวิชาการต่างๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยราชภัฏ  แมักระทั้งอุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด พัฒนาการจังหวัด  และภาครัฐมาให้ความรู้ด้านการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทำขึ้นมาก็คือ "น้ำสับปะรดสกัด 100%" ซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือเป็นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ ได้ขึ้นทะเบียนพานิชย์ในลำดับทึ่ 156 ของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเด่นที่มีรสชาติหอมหวานฉ่ำ เป็นคุณลักษณะเฉพาะถิ่น ถือว่าเป็นจุดแข็งของสับปะรดที่นี่  กระทั้งเมื่อปี 2562 ก็ประสบปัญหาของโรคโควิด-19 ระบาดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการตลาด จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการแปรรูปสับปะรดให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น จากน้ำสับปะรด ก็เป็นสับปะรดอบแห้ง ไวน์สับปะรด"ตำจอก" ท้ายสุดที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิตก็คือ "สุรากลั่นชุมชน" ที่สกัดมาจากสับปะรดหมัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุด ส่วนเศษสับปะรดที่เหลือก็นำไปเป็นอาหารปศุสัตว์ของชาวบ้าน เป็นการคืนสู่ชุมชนที่ไดัเกื้อกูลกัน ซึ่งสามารถจะทำเป็นนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ตามนโยบายของภาครัฐ  ซึ่งเป็นวัตกรรมที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



ผู้ใหญ่ภูเบศ กล่าวอีกว่า ในด้านการตลาดเมื่อก่อนก็ได้อาศัยกับพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชน เกษตรจังหวัด และหน่วยงานภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนในช่องทางการตลาด ด้วยการออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมทั้งไปเปิดตลาดที่เมืองทองธานึ  อีกช่องทางหนึ่งก็คือตลาดออนไลน์  และทำ MOU กับไปรษณีย์ไทย ทำใหัมีสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาด สปป.ลาว ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งประเทศเกาหลีใต้ที่สนใจในเรื่องสุรากลั่นชุมชน ซึ่งจะมาทำ MOU ร่วมกัน ซึ่งได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกันแล้ว ส่วนรายได้ตอนนี้ท่ามองถึงมูลค่าก็ยังนัอยอยู่ ก็ประมาณ 70,000 - 80,000 บาท/เดือน  แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังสูง อย่างเช่นสับปะรดทุกวันนี้ราคาอยู่ทีกิโลกรัมละ 20 บาท ถือว่าเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสามารถลืมตาอ้าปากได้ในปีนี้  และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรในการนำผลผลิตรมาสู่กระบวนการแปรรูป  ซึ่งสามารถแปรรูปสับปะรดได้วันละประมาณ 1 ตันต่อครั้งต่อวัน ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเหลือชาวสวนสับปะรดในพื้นที่อีกด้วย











วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รอง ผบ.ทสส.ตรวจเยี่ยม นพค.25

 

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ นพค.25 อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย


วันทึ่ 17 พ ย. 2566 เวลา 13 00 น. ที่ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย บ้านศูนย์กลาง หมู่ 3 ต่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย โดยพันเอกณัฏฐาภูมิ นิกร ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25  ให้การต้อนรับ พลเอกโดมศักดิ์ คำใสแสง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ ในโอกาสเดินทางตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ นพค.25 สนภ.2 นทพ. โดยได้ถ่ายทอดนโยบายของนายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหมและเจตนารมณ์ พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้กับกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่สองห้า พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมบ้านพักและมอบสิ่งของให้แก่ครอบครัวของกำลังพลที่เจ็บป่วยเพื่อบำรุงขวัญและให้กำลังใจ จากนั้นตรวจความพร้อมของอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ด้านการบรรเทาสาธารณภัย   และเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายในหน่วย  

















วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วุ้นใบหมาน้อย ของหวานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หากินยาก

"ยายน้อย" นำใบหมาน้อยสมุนไพรในท้องถิ่นมาทำเป็นวุ้น ของหวานจากภูมิปัญญาที่หากินยาก สู่เมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟของลูกสาว ขายดิบขายดีจนผลิตไม่ทันขาย


วันที่ 5 พ.ย. 2566 ที่บ้านเลขที่ 151/2 บ้านสะพานทอง หมู่ 5 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของนางสมบูรณ์ ครองผา หรือยายน้อย อายุ 61 ปี ได้พาผู้สื่อข่าวไปชมต้นเคริอ "หมาน้อย" หรือ "หมอน้อย" เป็นสมุนไพรในท้องถิ่น ลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา สรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในที่ปลูกไว้หลังบ้าน ซึ่งยายน้อยได้นำมาทำเป็นวุ้นจำหน่ายชื่อว่า "หมอน้อยชื่นใจ" เป็นของหวานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หากินได้ยากในจังหวัดหนองคาย และยังเป็นเมนูเด็ดของร้านกาแฟชื่นใจคอฟฟี่เฮ้าส์ ของลูกสาวที่เปิดร้านกาแฟอยู่หน้าบ้าน นำหมอน้อยไปร้อยแก้วแทนไข่มุขในบรรดาจำพวกชานมหมอน้อย นมสดหมอน้อย ชาไทยหมอน้อย เป็นต้น ซึ่งมีที่แรกและที่เดียวในศรีเชียงใหม่




ยายน้อย กล่าวว่า  อำเภอศรีเชียงใหม่ จะมีพืชชนิดหนึ่งในตระกูลไม้เถาที่เป็นสมุนไพรธรรมชาติ ที่สามารถทำเมนูอาหารได้หลากหลายอย่าง เมื่อก่อนบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ รวมทั้งชาวบ้านทั่วไปจะนำใบหมอน้อยทำเป็นลาบกินกัน โดยมีส่วนผสมกับน้ำพริกปลาร้า ใส่พริกป่น หอม  มะเขือพวง มะเขือขม เป็นต้น โดยปัจจุบันได้ดัดแปลงใบหมอน้อยมาเป็นอาหารชนิดใหม่ ก็คือของหวาน โดยทำเป็นวุ้นผสมน้ำตาลเชื่อมและกะทิ เป็นของหวานหมอน้อยที่มีเฉพาะถิ่นและหากินยาก โดยตนเองได้ความรู้มาจากการไปเป็นลูกมือของเจ้าต้นตำหรับในพื้นทึ่ ซึ่งเจ้าต้นตำหรับหวงสูตรมาก แม้แต่วิธีการคั้นใบหมอน้อยก็ไม่ยอมบอกวิธีคั้น แต่ตนอาศัยครูพักลักจำแล้วมาต่อยอดก็คือ ทำเป็นกาแฟเย็นหมอน้อย ชาวเขียวหมอน้อย ชานมหมอน้อย นมสดหมอน้อย โดยนำวุ้นหมอน้อยร้อยแก้วแทนไข่มุขประมาณนี้  และยังสามารถทำได้หลากหลายเมนู คือนำวุ้นหมอน้อยมาต่อยอดเป็นเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟของลูกสาว ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกที่ทำและมีที่เดียวในอำเภอศรีเชียงใหม่ นอกจากจะนำหมอน้อยมาต่อยอดเป็นท็อปปิ้งใส่ชาเขียว ชานม หรือว่าใส่น้ำผลไม้ต่างๆ ยังเป็นการเพิ่มรสชาติของเมนู  และเป็นจุดขายของร้านกาแฟชื่นใจคอฟฟี่เฮ้าส์ ด้วย



ยายน้อย กล่าวอีกว่า ส่วนใบหมอน้อยที่นำไปทำเป็นวุ้นต้องเลือกเอาแต่ใบแก่ๆ ลักษณะสีเขียวเข้มและหนา ซึ่งคั้นออกมาจะเป็นวุ้น แต่ท่าเป็นใบอ่อนจะมีรสชาติเปลี้ยว คั้นออกมาไม่เป็นวุ้น  ซึ่งใบแก่ที่เก็บจะเก็บได้รอบเดียว หลังจากนั้นต้องใช้เวลาเป็นเดือนถึงจะเก็บได้อีก เพราะฉะนั้นหมอน้อยต้องมีปลูกอยู่หลายบ้าน โดยชาวบ้านจะปลูกไว้บ้านละ 5-10 ต้น เราก็ไปขอซื้อกับชาวบ้านมาคั้นใบ โดยจะสลับไปขอซื้อสัปดาห์ละหลัง เพื่อใหัใบหมอน้อยแก่ทันเก็บ และยังได้แนะนำให้ชาวบ้านปลูกเพิ่มเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละบ้านจะมีแต่ผู้สูงอายุปลูกไว้ เพราะชอบนำมาทำลาบกินกัน คนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักเท่าไหร่ ต้นหมอน้อยเป็นพืชที่ปลูกยากและใช้เวลานานในการเติบโต แต่ก็เป็นพืชที่ตายยากเช่นกัน หลักสำคัญของหมอน้อยจะชอบธรรมชาติปลอดสารพิษ จึงทำให้ดีต่อสุขภาพแก่ผู้รับประทาน ในส่วนของการคั้นหมอน้อยก็ไม่มีส่วนปรุงแต่ง โดยจะคั้นใส่น้ำเปล่า 1 เหยือก / หมอน้อย 1 กิโลกรัม ลงมือคั้นจนเป็นวุ้นแล้วพักรอให้แข็งตัวประมาณ 30 นาที แล้วตัดเป็นชิ้นพอดีคำมาใส่ถ้วยขาย แยกน้ำกะทิสด น้ำตาลเชื่อม ซึ่งก็แล้วแต่คนชอบทาน บางคนทานเฉพาะวุ้นหมอน้อยเนื่องจากมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรแก้ร้อนใน มีรสหอมเย็น


ในส่วนของการตลาด นอกจากจะเป็นเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟของลูกสาวแล้ว ยังมีขายออนไลน์ และมีออเดอร์สั่งซื้อมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเบรคในการประชุมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และออกขายตลาดนัดทุกวันเสาร์ ออกบูทนิทรรศการต่างๆของเกษตรกรและพัฒนาชุมชน และยังมีลูกค้าจากต่างจังหวัดแวะมาซิ้อที่ร้านก็มี โดยจะแพ็คใส่กล่องให้ ซึ่งวุ้นหมอน้อยสามารถอยู่ได้ 7-10 วัน ไม่เสียง่าย แต่ต้องอยู่ในความเย็น บางคนก็ไม่กล้าที่จะกิน แต่พอได้กินแล้วก็ถูกใจในรสชาติที่อร่อย หลังจากนั้นก็สั่งไปกินตลอด ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีมากจนผลิตไม่ทันขาย  



ยายน้อย กล่าวต่อว่า เมื่อก่อนไปขอซื้อใบหมอน้อยจากชาวบ้านที่ปลูกไว้จะขายที่ 1 กิโลกรัม 10 บาท พอมีการต่อยอดทำเป็นหวานหมอน้อย ทำให้ราคาใบหมอน้อยพุ่งขึ้นเลื่อยๆ ปัจจุบันอยู่ที่ 1 กิโลกรัม 200 บาท อีกทั้งยังหายาก เพราะในอำเภอศรีเชียงใหม่มีคนทำหวานหมอน้อยหลายเจ้า แต่คนปลูกมีน้อยต้องไปหาซื้อต่างอำเภอ ในด้านการขายวุ้นหมอน้อยก็จะขายถ้วยละ 20 บาท แต่ละถ้วยจะมีนำหนัก 200 กรัม ซึ่งตนจะคั้นหมอน้อยสัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ 2 กิโลกรัม จะได้วุ้นหมอน้อย ประมาณ 150-200 ถ้วย รายได้ตกอยู่ที่กว่า 3,000 บาท/สัปดาห์  ส่วนเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟฯจะขายแก้วละ 60 บาท แต่ละสัปดาห์จะได้ประมาณ 100 แก้ว รายได้ตกอยู่ที่ 6,000 บาท/สัปดาห์ ซึ่งรายได้ก็แล้วแต่ข่วงที่หมอน้อยออกใบเยอะ ออกใบน้อย โดยหน้าฝนจะออกใบเยอะก็จะรายได้ดีตาม ส่วนหน้าแล้งก็จะออกใบน้อย ทำให้ใบหมอน้อยหายากในช่วงนี้ และไม่สามารถผลิตวุ้นหมอน้อยทันต่อความต้องการของลูกค้าได้











จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...