วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย จ.หนองคาย จัดนิทรรศการ "ศิลปะกลางทุ่งนา" นำศิลปะชั้นครูมาจัดแสดงกลางทุ่งนา ที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติและสวนเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 20 พ.ย. 63 ที่บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายเฉลิมศักดิ์ ธรรมเรืองฤทธิ์ (ครูแดง บ้านศิลป์ไทย) ประธานชมรมศิลปะเด็กบ้านศิบป์ไทย จ.หนองคาย พร้อมศิลปินชั้นครู จัดงานนิทรรศการ "ศิลปะกลางทุ่งนา" โดยมี ผศ.วิรัตน์ ไม้เจริญ ผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสภวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) จ.หนองคาย เป็นประธานเปิดงานฯ และมอบภาพวาดระบายสี ชื่อว่า "พญานาคราช" ที่ ผศ.วิรัตน์ ไม้เจริญ นำน้ำจากบ่อน้ำที่คำชะโนด จ.อุดรธานี มาเป็นส่วนผสมสีอะคริลิคของการวาดภาพ มอบให้แก่ผู้ที่ประมูลได้




ในงานมีการแห่ขบวนแขกรับเชิญ ร่วมเปิดป้ายนิทรรศการฯ และพาเดินชมผลงานศิลปะชั้นครู ที่นำผลงานศิลปะมาจัดแสดงบนพื้นที่ต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแกลเลอรีห้องสี่เหลี่ยม แต่เป็นแปลงผัก ร่องสวน นาข้าว ภายในบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง ซึ่งครูแดง บ้านศิลป์ไทย ได้จัดการพื้นที่ 19 ไร่เศษ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการหลอมรวมหลายๆ สิ่งอย่างเอาไว้ด้วยกัน ทั้งการเกษตร สถาปัตยกรรม ธรรมชาติ ตลอดจน วิถีชีวิต อัตลักษณ์ชุมชน ควบคู่กับงานศิลปะ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง




ครูแดง บ้านศิลป์ไทย กล่าวว่า ศิลปะเป็นศาสตร์แห่งความงามที่มีคุณค่าของความงดงาม ผลงานของมนุษย์ที่มีจุดมุ่งหมายการสร้างสรรค์และแสดงออกถึงความงาม เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของมนุษย์ ให้มนุษย์มีอารมณ์เพลิดเพลิน ร่าเริง แจ่มใส มีความสุขแห่งชีวิตอย่างแท้จริง อำเภอท่าบ่อร่วมกับบ้านศิลป์ไทยได้มองเห็นความสำคัญของศิลปะและวัฒธรรมของชุมชนเพื่อชุมชน  จึงจัดแสดงนิทรรการ "ศิลปะกลางทุ่งนา" ขึ้นในระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2563 เพื่อให้เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ที่สนใจได้เยี่ยมชมนิทรรศการศิลปะ จิตรกรรมกลางทุ่งนา ที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติและสวนเศรษฐกิจพอเพียง  เกษตรศิลป์ มีทั้งเกษตรและศิลปะที่บูรณาการกันอย่างลงตัว




การจัดนิทรรศการนั้นส่วนใหญ่จะใช้สถานที่ในการจัดแสดงในห้อง ในโรงแรม ในโรงเรียน ในหอศิลป์และในอาคารต่างๆ แต่งานนี้จัดแสดงกลางทุ่งนา ให้ผู้สนใจงานศิลปะในชุมชนได้เข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ ซึ่งมีจิตรกรรมที่หลากหลายรูปแบบจากครู- อาจารย์ ที่มีผลงานฝีมือชั้นครูและศิลปินผู้มีใจรักงานศิลปะ  รวมถึงผลงานอันบริสุทธิ์ของเด็กและเยาวชนอีกด้วย












วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครั้งแรกในรอบ 20 ปี จัดกิจกรรมรวมพลคนกองทุนหมู่บ้าน อำเภอท่าบ่อ 63 เพื่อหารายได้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง และเชิดชูเกียรติกองทุนหมู่บ้านและครัวเรือนต้นแบบ

เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 18 พ.ย. 63 ที่ลานวัฒนธรรมเทศบาลเมืองท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้นายไพโรจน์ โสภาพร พัฒนาการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดกิจกรรมรวมพลคนกองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าบ่อ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอท่าบ่อ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าบ่อ จัดขึ้น เพื่อหารายได้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน เพื่อเชิดชูเกียรติแก่กองทุนหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการดีเด่น และครัวเรือนต้นแบบที่ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านไปประกอบอาชีพและประสบผลสำเร็จ  เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อไป อีกทั้งยังเป็นการให้คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคี เพื่อรับทราบข่าวสาร นโยบาย ทิศทางการขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การมอบใบประกาศเกียรติบัตรให้กับกองทุนหมู่บ้านดีเด่น,  มอบใบเกียรติบัตรครัวเรือนต้นแบบ, กิจกรรมจับของรางวัล, กิจกรรมการแสดงบนเวที และกิจกรรมรำวงย้อนยุค




นางมณฑิรา โสภาพร ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอทำบ่อ กล่าวว่า อำเภอท่าบ่อมีกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 100 กองทุน ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการยืม เริ่มตั้งแต่ปี 2544 จนมาถึงปัจจุบัน ระยะเวลา 20 ปี เป็นเงินรวมทั้งสิ้น จำนวน 229,470,000 บาท และเงินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นเงิน 116,509,000 บาท รวมเป็นงินที่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น 335,970,000 บาท การขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนด้วยดีเสมอมาจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย , สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าบ่อ , สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 6, ธนาคารออมสิน สาขาท่าบ่อ , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาท่าบ่อ, คณะกรรมการเครือข่ายระดับตำบล/ระดับอำเภอท่าบ่อ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน 




การจัดกิจกรรมรวมพลคนกองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าบ่อครั้งนี้ มีคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลทุกตำบล และระดับอำเภอท่าบ่อ, คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าบ่อ 100 กองทุน หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมประมาณ 1,000 คน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลในเขตพื้นที่อำเภอท่าบ่อ ทั้ง 10 ตำบล











วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"คนละครึ่ง" แจกเงิน 3 พันบาทซื้อของกินของใช้เริ่มมีปัญหา ผู้ใช้สิทธิ์จะซื้อของกินไม่มีเงินเติมเข้าแอปฯ เป๋าตัง ไม่สามารถซื้อสินค้าได้

วันที่ 17 พ.ค. 63 บรรยากาศที่ตลาดสดตำบลบ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย มีประชาชนมาจับจ่ายซื้อสินค้าของกินของใช้จำนวนมาก เนื่องจากมีร้านค้าส่วนใหญ่เข้าโครงการคนละครึ่ง ทำให้ผู้ที่ซื้อสินค้าจ่ายเงินจริงเพียงครึ่งเดียว แต่ประชาชนที่มาซื้อสินค้าบางรายไม่มีเงินที่จะต้องเติมเข้าแอปฯเป๋าตัง ไม่สามารถซื้อสินค้าได้ ต้องไปหาหยิบยืม 


น.ส.เกษรินทร์ เมืองโคตร แม่ค้าขายไก่สด กล่าวว่า ช่วงนี้ขายดีกว่าปกติ เสียงตอบรับดีมาก ประชาชนมาใช้บริการกันมากขึ้น โครงการคนละครึ่ง ช่วยกระตุ้นยอดขายของทางร้านให้ดีขึ้น แต่ว่ายังมีปัญหา เพราะว่าลูกค้าบางคนต้องไปหายืมเงินเติมเงินเข้าแอปฯเป๋าตังเอง ถึงจะมาใช้สิทธิ์ได้ เพราะไม่มีเงินในบัญชีธนาคาร ซึ่งอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาในส่วนนี้ โดยให้ลูกค้าใช้คิวอาร์โค้ดได้เลยโดยไม่ต้องเติมเงิน เพราะรัฐบาลจะช่วยจ่ายให้ลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่งจะง่ายกว่า จะสะดวกทั้งแม่ค้าและลูกค้าอีกด้วย

ด้าน น.ส.กนกวรรณ จันทคุณ แม่ค้าขายอาหารทะเล กล่าวว่า โครงการคนละครึ่ง ซื้อสินค้าไม่เกินวันละ 150 บาท ในวงเงิน 3,000 บาท ถือว่าดีมาก ประชาชนมาใช้บริการกันมากขึ้น ช่วงนี้ขายดีเป็นพิเศษ และอยากให้มีต่อ เพราะจะช่วยเพิ่มยอดขายให้ทางร้านเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย





คนแห่ใช้สิทธิ์"คนละครึ่ง"คึกคัก! กลุ่มวิชาชีพการแปรรูปปลา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ยอดขายพุ่งเท่าตัว วอนขยายโครงการฯออกไปอีก

วันที่ 17 พ.ย. 63 ที่กลุ่มวิชาชีพการแปรรูปปลา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง หมู่ 11 ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันเร่งผลิตผลแปรรูปปลา ออกจำหน่ายทันต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยตั้งแต่กลุ่มวิชาชีพการแปรรูปปลาฯ เข้าร่วมร้านค้าโครงการ"คนละครึ่ง" ก็มีประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่มาใช้สิทธิ์อุดหนุนอย่างหนาแน่น และยังมีการสั่งจองออเดอร์ล่วงหน้าอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นผลิตผลปลานิลแดดเดี่ยว ราคากิโลกรัมละ 260 บาท หรือแพ็คละ 130 บาท, ใส้กรอกปลากิโลกรัมละ 200 บาท หรือแพ็คละ 100 บาท, กุนเชียงปลากิโลกรัมละ 300 บาท หรือแพ็คละ 100 บาท และแหนมปลาแพ็คละ 50-100 บาท ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก




โดยสมาชิกกลุ่มฯกล่าวว่า ตั้งแต่ได้เข้าร่วมร้านค้าโครงการคนละครึ่ง ยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ปรกติทางสมาชิกกลุ่มจะรวมตัวกันทำผลิตผลแปรรูปปลาเดือนละ 2 ครั้ง แต่พอเข้าร่วมโครงการฯ ก็มีประชาชนทยอยมาใช้สิทธิ์คนละครึ่งจำนวนมาก มากันทุกพื้นที่ และยังมีโทรสั่งจองสินค้าร่วงหน้าก็มี ทำให้ช่วงนี้สมาชิกกลุ่มฯต้องรวมตัวกันทำผลิตภัณฑ์วันเว้นวัน เพราะประชาชนใช้แอปฯ"เป๋าตัง"มาซื้อผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพราะจ่ายเพียงครึ่งเดียว ทำให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้ทุกวัน โครงการนี้ส่งผลดีต่อกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฯ เป็นอย่างดี และอยากให้รัฐบาลขยายโครงการต่อไปอีก







จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...