วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทหาร ท้องถิ่น และจิตอาสาภัยพิบัติ ระดมกำลังเร่งสำรวจช่วยเหลือประชาชนถูกพายุฤดูร้อนถล่มหมู่บ้านหลายแห่งในเขต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย บ้านเรือน ยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกได้รับความเสียหาย


วันที่ 24 เม.ย. 63 ความคืบหน้ากรณีเกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดหนองคาย ทั้ง อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพธิ์ตาก และ อำเภอศรีเชียงใหม่ ช่วงเย็นวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายจำนวนมาก โดยเฉพาะอำเภอศรีเชียงใหม่ ที่เกิดเหตุพายุฤดูร้อนพัดถล่มอย่างหนัก จากรายงานการสำรวจล่าสุดพบว่ามีบ้านเรือนของประชาชน 4 ตำบล 43 หมู่บ้าน เสียหายรวม 441 ครัวเรือน จำนวนนี้มีเสียหายทั้งหลัง 44 ครัวเรือน ยุ้งฉางเสียหาย 1 แห่ง สถานที่ราชการ (ที่ว่าการอำเภอศรีเชียงใหม่)  1 หลัง วัด 2 แห่ง โรงเลี้ยงสัตว์ 34 โรงเรือน รวมทั้งพื้นที่การเกษตร เช่น สวนยางพารา, สวนมะนาว, ไร่ข้าวโพด รวมประมาณ 208 ไร่ และแรงลมพัดเอาต้นไม้ล้มทับรถยนต์ 2 คัน




ทางด้าน นายพรต ภูภักดิ์ นายอำเภอศรีเชียงใหม่ ได้มอบหมายให้ นายสมบูรณ์ เดชา ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองฯ นำกำลังเจ้าอาสารักษาดินแดน ร่วมกับกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ชุดพัฒนามวลชน ที่ 2108 กอ.รมน.ภาค 2 ส่วนแยก 1 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ประจำพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธบาท กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และจิตอาสาภัยพิบัติฯ ได้เข้าดำเนินการสำรวจและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อนในครั้งนี้ โดยเฉพาะการซ่อมแซมบ้านเรือนให้ประชาชนได้มีที่พักอาศัยให้ได้ตามปกติอย่างเร่งด่วน




ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ บอกว่า พายุฤดูร้อนพัดถล่มครั้งนี้น่ากลัวและอันตรายมาก โดยพายุพัดมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง หอบเอาหลังคาบ้าน ยุ้งฉางข้าวหายไปทั้งหลัง สังกะสีต่างๆ ปลิวว่อนลอยหายไปกับสายลม ต้นไม้หักโค่นลงทับบ้านเรือน พร้อมมีฝนตกลงมา ชาวบ้านต่างพากันวิ่งหนีตายกันจ้าละหวั่น  เกิดมาพึ่งเคยเจอพายุหมุนรุณแรงขนาดนี้







เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับภาคเอกชน แจกอาหารให้กับชาวหนองคาย ที่ไม่ได้ทำงานหรือถูกเลิกจ้างงานในช่วงโควิด-19


วันที่ 24 เม.ย. 63 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย นำโดย นายอาทร จันทร์พิลา ประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย, สวท.หนองคาย นำโดย นายประมุข ไทยเสถียร ผอ.สวท.หนองคาย ร่วมกับบริษัทเจียงอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (เจ้าภาพหลัก) ตั้งจุด “ครัวอัศวรรณรวมใจสู้ภัยโควิด-19 คนไทยไม่ทิ้งกัน” แจกอาหารกลางวันและอาหารเย็น แก่ประชาชนชาวหนองคายที่ได้รับความเดือดร้อนจากการไม่ได้ทำงานหรือถูกเลิกจ้างในช่วงวิกฤติโควิด-19 เพื่อเป็นการแบ่งเบาและบรรเทาภาระค่าใช่จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยมีประชาชนมารอรับเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกวันผู้ที่มารอรับอาหารต้องปฏิบัติตามมาตราการเว้นระยะห่าง 1 เมตรและล้างมือเจลงแอลกอฮอล์ ก่อนเข้ารับอาหารทุกคน ในส่วนของการจัดตั้งครัวอัศวรรณฯ ครั้งนี้ มี นางสาวชนกานต์ เฮงมีชัย Project Director ผู้บริหารเจียงอินเตอร์เนชั่นแนล รุ่น 3 ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการฯ. 




สำหรับการแจกอาหารแบ่งเป็น 2 ช่วง รอบเช้าเวลา 11.00 น.และรอบเย็น เวลา 17.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม - 30 เมษายน 2563  มีผู้มีตจิตศรัทธา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน นำสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้งมาร่วมสนับสนุนและแจกจ่ายให้กับประชาชน














วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

พายุฤดูร้อนพัดถล่ม 3 อำเภอ "ท่าบ่อ-โพธิ์ตาก-ศรีเชียงใหม่" จ.หนองคาย บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายกว่า 1 พันหลังคาเรือน


เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. ของวันที่ 22 เม.ย. 63 ได้เกิดลมพายุฤดูร้อนพัดบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่ อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้รับความเสียหาย 1,012 หลังคาเรือน โดยเฉพาะที่อำเภอท่าบ่อ บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายมากที่สุดถึง 10 ตำบล 74 หมู่บ้าน โดยบ้านหลายหลังถูกกระแสลมพัดหลังคาหาย 564 หลังคาเรือน แรงลมยังพัดหลังคาโรงจอดรถของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ พังถล่มทับรถที่จอดอยู่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งฟาร์มเห็ด 1 ฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 2 ฟาร์ม และวัด 1 แห่ง




ขณะที่ อำเภอโพธิ์ตาก ได้รับความเสียหาย 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน สายไฟฟ้าแรงสูงทางเข้าหมู่บ้านสาวแล ถูกพายุพัดจนสายไฟขาด เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ต้องระดมกำลังเร่งเก็บกู้สายไฟฟ้าที่ขาด พร้อมเชื่อมต่อกระแสไฟให้กับชาวบ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 193 หลังคาเรือน วัด 1 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง และยุ้งข้าวของชาวบ้านอีก 1 หลัง





ส่วน อำเภอศรีเชียงใหม่  เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่ม 3 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย จำนวน 255 หลังคาเรือน โดยมีบ้านเรือนอีกกว่า 10 หลังคา ที่ถูกพายุพัดหลังคาเสียไปทั้งหลัง อีกทั้งต้นไม้ถูกแรงลมพัดหักโค่นหลายต้น เบื้องต้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าที่ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน ได้เร่งออกสำรวจความเสียหาย และทำการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว












นายอำเภอท่าบ่อ นำร่องใช้พื้นที่บ้านพัก ปลูกผักไว้ทานเอง เพื่อเป็นแบบอย่าง ภายใต้แผนปฏิบัติการ 90 วัน "ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร"


วันที่ 23 เม.ย. 63 ที่ บ้านพักนายอำเภอ ภายในบริเวณคุ้มนายอำเภอ ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ ได้ร่วมกับนางสาวไพรินทร์ อินทรักษา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอท่าบ่อ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายพัฒนาชุมชนอำเภอท่าบ่อ ส่วนราชการ กำนันทุกตำบล และนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ 90 วัน "ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร"  ซึ่งได้เริ่มต้นการขับเคลื่อนกิจกรรม "บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง"




โดยนายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ ได้มอบเมล็ดพันธุ์ฟักทองให้กับกำนันทุกตำบล เพื่อนำไปปลูกเป็นแบบอย่างในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างกระแสและกระตุ้นให้กิจกรรมนี้ขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นได้รวมพลังปลูกผักสวนครัว เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง หอม มะละกอ ขิง ข่า ตะไคร้ พริก มะเขือ ผักชี กระเพรา ชะอม น้ำเต้า เมล็ดพันธุ์ผัก และต้นพันธุ์ไม้ร่วมกัน เพื่อแสดงพลังความสามัคคี เกื้อกูลกัน




นางสาวไพรินทร์ อินทรักษา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอท่าบ่อ กล่าวว่า ด้วยกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน  ดังนั้นอำเภอท่าบ่อ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าบ่อ ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอท่าบ่อ จึงกำหนดกิจกรรม Kick Off โครงการปฏิบัติการ 90 วัน"ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร" ต้านภัยโควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และลดรายจ่ายในการดำรงชีวิต ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงนี้ โดยการรณรงค์์ให้มีการปลูกผักสวนครัว เน้นการพึ่งตนเองและความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่อให้รอดพันวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จของกิจกรรมนี้คือ "ผู้นำต้องทำเป็นตัวอย่าง" อาทิเช่น หัวหน้าส่วนราชการ  นายก อบต.ทุกแห่ง  นายกเทศมนตรี และกำนันทุกตำบล ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก และต้นกล้าผักสวน จากสำนักงานเกษตรอำเภอท่าบ่อและประชาชนที่นำมาบริจาค ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินกิจกรรม ทุกครัวเรือนมีอาหารในการดำรงชีวิต และสามารถลดรายจ่ายในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ เป็นการลดรายจ่ายกระจายให้กับประชาชนในพื้นที่










จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...