วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

ผู้ว่าฯหนองคาย พาไป "เสวนาพาเพลิน ล่องเรือชมสวนเกษตรผสมผสาน" ตามโครงการผู้ว่าพาไปยาม

ผู้ว่าฯหนองคาย พร้อมหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พาหัวหน้าส่านราชการ สื่อมวลชน ไป "เสวนาพาเพลิน ล่องเรือชมสวนเกษตรผสมผสาน" ต้นแบบในการลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตลาด สปป.ลาว ตามโครงการผู้ว่าพาไปยาม ครั้งที่ 2 ณ สวนส้มเจ้าจอมขวัญ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย  


วันที่ 12 ก.ย. 2566 เวลา 10.00 น. นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พาหัวหน้าส่วนราชการ และสื่อมวลชน ได้จัดเวที "เสวนาพาเพลิน ล่องเรือชมสวนเกษตรผสมผสาน" ตามโครงการผู้ว่าพาไปยาม ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดให้มีขึ้น  ณ สวนส้มเจ้าจอมขวัญ บ้านนาโพธิ์ หมู่ที่ 4 ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของนางสาวฤดี พวงจำปา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมด้านการเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น  โดยมีนางสุวรรณี ศิริวรรณ์หอม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย กล่าวรายงาน  นายบัญญัติ บูชากุล หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดหนองคาย ได้รายงานผลการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด และนายจีระวัฒน์ ศรีบ้านโพน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดหนองคาย กล่าวสรุปผลการเสวนาเรื่อง"ปัญหา อุปสรรค และความต้องการสินค้าเกษตร"




ภายหลังพิธิเปิด นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้มอบพันธุ์ไก่ไข่ให้กลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 กลุ่ม เพื่อสนับสนุนด้านอาชีพและขยายผลแนวความคิดความมั่นคงทางอาหาร และพาล่องเรือชมสวนเกษตรผสมผสานบนพื้นที่ 40 ไร่ ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวาน หันมาปลูกพืชผสมผสาน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายยังได้อาสาเป็นนายท้ายพาล่องเรือเยี่ยมชมสวนเกษตรอีกด้วย




ทั้งนี้สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดหนองคาย เป็นองค์กรจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร เห็นความจำเป็นในการส่งเสริมให้มีเวทีสำหรับเกษตรกรฐานราก ซึ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรให้ได้แสดงความคิดวิเคราะห์ ค้นหาทางออก วางแผนพัฒนาและแก้ปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการประการต่างๆ ของเกษตรกรแล้วสรุปรวมจัดทำเป็น "แผนพัฒนาอาชีพในระดับตำบล" และขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในแต่ละตำบล เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ "เกษตรกรรวมกลุ่มร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาและแก้ปัญหาของตนด้วยตนเอง ในส่วนที่สามารถดำเนินการได้เอง"  รวมทั้งประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือพัฒนา และแก้ปัญหาที่เกินกำลังความสามารถของเกษตรกรต่อไป




สำหรับการขับเคลื่อนโครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลของจังหวัดหนองคาย ได้ขับเคลื่อนใน 41 ตำบล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 - 2566 และได้ขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหา และพัฒนาศักยภาพกลุ่ม จำนวน 70 กลุ่ม รวมจำนวนสมาชิก 2,950 คน



ส่วนในด้านของสภาเกษตรกร สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดหนองคาย ได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรทั้ง 9 อำเภอ  เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ใด้จำนวนสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดหนองคาย จำนวน 23 คน ประกอบด้วย สมาชิกประเภทผู้แทนเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 16 คน สมาชิกประเภทผู้ทรงคุณวุฒิในด้านพืช ด้านสัตว์ และดัานประมง จำนวน 5 คน 


สำหรับในด้านการเสริมสร้างความเข็มแข็งของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ซึ่งในวันนี้สำนักงานฯ ได้จัดเวทีเสวนา "ปัญหาอุปสรรด และความต้องการด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดหนองคาย" และจะได้นำผลสรุปเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายเป็นลำดับถัดไป พร้อมกันนี้ได้นำเสนอสวนเกษตรผสมผสาน ของนางสาวฤดี พวงจำปา เกษตรกรและสมาชิกสภาเกษตรกรอำเภอศรีเซียงใหม่ ที่ได้ประสบปัญหาในช่วงโควิด หลังจากปลูกพืชผสมผสาน เช่น ปลูกกล้วย ปลูกฝรั่งสายพันธุ์กิมจู สายพันธุ์หงเป่าสือ  เงาะ ส้มโอ เป็นต้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตลาดที่ประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว  ทำให้มีความมั่นคงด้านรายได้เพิ่มขึ้น จึงถือได้ว่าการทำเกษตรแบบผสมผสานทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงและยั่งยืน ถือเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรอื่นสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง และสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรได้












วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566

"สยามคูโบต้า" จับมือ "หนองคาย" เดินหน้าสร้างเมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission ตั้งเป้าลดการเผาให้เป็นศูนย์

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บูรณาการความร่วมมือจังหวัดหนองคาย ทำ MOU เดินหน้าสร้างเมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission ขยายความรู้นวัตกรรมเกษตรทดแทนการเผา มุ่งมั่นสร้างโลกเกษตรที่ยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าลดการเผาให้เป็นศูนย์


วันที่ 11 ก.ย. 2566 เวลา 10.30 น. ที่ โรงแรมรอยัลนาคารา อ.เมือง จ.หนองคาย นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และนางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์  กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด  นางสุวรรณี ศิริวรรณ์หอม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารบริษัทเจียงอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้า "หนองคาย เมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission" เป็นจังหวัดที่ 10 ดึงองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร แก้ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร ตลอดจนบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร




นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ได้รับความสนใจและตื่นตัวขึ้นทั่วโลก  ประเทศไทยเราได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นอันดับที่ 19 ของโลก โดยมาจากภาดเกษตรกรรมถึง 15% โดยพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในที่โล่ง  ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่ยังส่งผลกระทบกับสุขภาพ จากฝุ่นละออง PM 2.5 สยามคูโบต้าจึงได้ดำเนินกิจกรรมโซลูชันเกษตรปลอดการเผาดั้งแต่ปี 2559 เพื่อรณรงค์และพัฒนากระบวนการผลิตโดยวิธีการทำเกษตรปลอดการเผา ดลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว และใบอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและองค์ความรู้ด้านการเกษตร  ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจรมาปรับใช้




ในปี 2562 ที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมรณรงค์และสัมมนาโครงการฯรวมถึงดำเนินการจัดลงนามมือโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ไปแล้ว 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี  จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดราชบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสุโขทัย ส่งผลให้ลดการเผาในภาคการเกษตรจังหวัดที่เข้าร่วมโดรงการไปแล้วกว่า 59% เมื่อเทียบจำนวนจุดความร้อนก่อนเข้าร่วมโครงการฯ อีกทั้งยังสร้างรายได้และคืนสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นไห้พี่น้องเกษตรกร สยามดูโบต้าจึงได้ต่อยอดความสำเร็จมายังจังหวัดหนองดายเป็นจังหวัดที่ 10 ทั้งนี้เรามุ่งหวังยกระดับโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) สู่เป้าหมาย KUBOTA NET ZERO EMISSION มุ่งมั่นสร้างโลกเกษตรที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรสุทธิเป็นศูนย์ โดยมีการเร่งศึกษาทดลองนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร  และโซลูชันต่างๆ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด




ด้าน นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า ความร่วมมือกันในโครงการ KUBOTA Net Zero Emission ถือเป็นประโยชน์อย่างมากต่อจังหวัดหนองคาย  เนื่องจากจังหวัหนองคาย มีพื้นที่เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 64 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือ 1,226.524 ไร่ ซึ่งในปี 2566 พบว่าจังหวัดหนองคายมีจุดความร้อนจากการเผา จำนวน 912 จุด เป็นจุดความร้อนภาคเกษตร 590 จุด และจุดความร้อนในเขตพื้นที่ป่า 322 จุด จะเห็นได้ว่าเกษตรกรยังมีการเผาตอซังข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อความสะดวกในการไป เพราะหากไม่เผาการไถกลบทำได้ยากและมีค่าจ้างสูงกว่า อีกทั้งเกษครกรมีเครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตรในการเตรียมแปลงเพาะปลูกไม่เพียงพอ เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ยังขาดความเข้าใจถึงผลกระทบจากการเผาที่มีผลให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย จังหวัดหนองคายเชื่อว่าการลงนามในครั้งนี้  จะเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Bum) การนำนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและองค์ความรู้ดัานการเกษตรมาปรับใช้เพื่อการทำการเกษตรลดโลกร้อน และลดปัญหาฝุ่นดวัน PM 2.5 เพื่อสร้าง "หนองคาย เมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission" ให้เกิดขึ้นได้จริง


อย่างไรก็ตามสยามคูโบต้ายังคงมุ่งมั่นผลักดันแนวคิดเกษตรปลอดการเผาสู่การสร้าง "เมืองตันแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission" ด้วยการขยายพื้นที่ความร่วมมือของโครงการฯ ในปี 2566 เพิ่มอีก 2 จังหวัด ได้แก่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดหนองบัวลำภู  นอกจากนี้ยังมีการผลักดันองค์กรและสินค้าของคูโบต้าให้เป็นองค์กรที่มีนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขประเด็นเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊ซเรือนกระจกลง 50 % ภายในปี 2573 พร้อมขยายผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ภายในปี 2593 สอดรับกับเป้าหมายแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย และเพื่อดำเนินตามนโยบายคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น ในการมุ่งสู่แบรนด์ชั้นนำระดับโลกหรือ Global Major Brand (GMB)






วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566

สภาวัฒนธรรมฯหนองคาย ฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหมอลำกลอนพื้นบ้านสู่เด็ก

สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้สืบสานมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้านหมอลำกลอน สู่เด็ก เยาวชนเ และประชาชนเพื่อสืบสานให้คงอยู่สืบไป


วันที่ 8 ก.ย. 2566 ที่ ศูนย์การค้าวีเวียงไลฟ์สไตล์มอลล์ อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สืบสานมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้านหมอลำกลอน  ประจำปี 2566 โดยมีนายเอกอมะตะอุธรนิ์ เกฐสิทธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดโครงการฯ ดร.คำดี จันทะเกษ รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย กล่าวรายงาน  พร้อมด้วยนางรวงทอง  พลธิราช วัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย พ่อหมอแคนบัวหอง ผาจวง  เจ้าของฉายา “หมอแคนม้ากระทืบโฮง” ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน แคน) , แม่หมอลำเทวี บุตรตั้ว นายกสมาคมหมอลำจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งครูหมอลำ และคณะสภาวัฒนธรรมอำเภอ เด็ก เยาวชน และประชาชนร่วมกิจกรรม






สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงวัฒธรรมศิลปะการแสดงหมอลำพื้นบ้าน กำลังจะสูญหายไปจากแผ่นดินอีสาน จึงได้จัดทำโครงการฯดังกล่าวขึ้น เพื่ออนุรักษ์สืบสาน "หมอลำกลอน" ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อสืบทอดให้คงอยู่อย่างยังยืน โคยจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้หมอลำกลอน สู่เด็ก เยาวชนที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา  มัธยมศึกษา และประชาชนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย สามารถนำไปส่งเสริมให้เกิดคุณค่าทางสังคม มูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชน สังคมเกิดความภาคภูมิใจในศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น



กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนถึง 150 คน ซึ่งมาจากอำเภอ 9 อำเภอ ชุมชน หมู่บ้าน และโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดมีความตั้งใจที่จะรับการถ่ายทอดความรู้ และจะร่วมอนุรักษ์สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่สืบไป


















จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...