วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566

“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน ตรวจศูนย์แรกรับฯ และด่านตรวจคนหางาน จ.หนองคาย

“พิพัฒน์” รมว. กระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เยือนหนองคาย ตรวจศูนย์แรกรับฯ และด่านตรวจคนหางาน จ.หนองคาย เพิ่มศักยภาพการให้บริการรองรับการนำเข้าแรงงานตาม MOU


วันที่ 3 ธ.ค. 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการจัดหางาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงานลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง  และด่านตรวจคนหางานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย โดยมีนายราชันย์ ซุ้นฮั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานให้การต้อนรับ




นายพิพัฒน์ รมว.กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ในครั้งนี้เพื่อเป็นหารือกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายประเด็นแรงงานต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเริ่มที่ จะใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนมากขึ้นโดยเฉพาะแรงงานจาก สปป.ลาว ซึ่งเป็นแรงงานที่สื่อสารทางด้านภาษาที่เข้าใจกันง่าย ทั้งนี้เลยจัดตั้งศูนย์แรกรับฯ และด่านตรวจคนหางาน จ.หนองคาย เพื่ออบรมเกี่ยวกับการทำงาน รับทราบสิทธิ ค่าจ้าง สัญญาจ้าง สวัสดิการ การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในประเทศไทย รวมถึงขั้นตอนการขอรับความช่วยเหลือหากเกิดปัญหาขึ้น โดยการอบรมที่ศูนย์ฯแรงงานจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด และศูนย์ยังมีหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ รวบรวมข้อมูล จัดทำประวัติ ให้กับแรงงานชาวลาวที่เข้ามาทำงานตาม MOU เป็นจุดพักรอของแรงงานต่างชาติที่เดินทางเข้ามาหรือนายจ้างที่มารอรับแรงงานเพื่อไปทำงาน รวมทั้งตรวจสอบคัดกรองแรงงานก่อนอนุญาตให้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ จากนั้นเดินทางไปยังด่านตรวจคนหางานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย ณ ด่านพรมแดน สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยด่านตรวจคนหางานทำหน้าที่ในการรับแจ้งการเดินทางออกไปทำงาน - รับแจ้งการเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ตรวจสอบพฤติการณ์ผู้ที่จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศโดยผิดกฎหมาย และให้คำปรึกษาการไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้อง 



ทั้งนี้ รมว.กระทรวงแรงงาน ยังเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องแรงงานพี่น้องประเทศเพื่อนที่เดินทางเข้ามาทำงานที่ลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมายนั้นไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากทางฝ่ายป้องกันของจังหวัดนั้นได้มีการตรวจอย่างเคร่งครัด เลยขอประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องแรงงานเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงแรงงานดูแลแรงงานอย่างเท่าเทียม ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติ ศูนย์แรกรับซึ่งเป็นด่านแรกที่ให้ความรู้แรงงานชาวลาวที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ การจ้างแรงงานต่างชาติถูกกฎหมาย






รมว.ดิจิทัลฯ เปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลโพธิ์ตาก พร้อมตรวจเยี่ยมโครงการโดรนเกษตรวิถีใหม่

"ประเสริฐ จันทรรวงทอง" รมว.ดิจิทัลฯ เป็นประธานเปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลโพธิ์ตาก พร้อมตรวจเยี่ยมโครงการโดรนเกษตรวิถีใหม่ ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้าให้การสนับสนุน ณ จังหวัดหนองคาย


วันที่ 3 ธ.ค. 2566 เวลา 09.30 น. ที่ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียงบ้านโพธิ์ตาก หมู่ 2 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในการเปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลโพธิ์ตาก พร้อมมอบครุภัณฑ์ดิจิทัลให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตาก ในวาระการตรวจเยี่ยมศูนย์ดิจิทัลชุมชน โดยมี นายประทีป อุ่ยเจริญ ปลัดจังหวัดหนองคาย กล่าวต้อนรับ , นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ส.ส.เอกธนัช อินทรรอด , ส.ส.ชนก จันทาทอง , นายประธาน ภู่ธนะพิบูล นายอำเภอโพธิ์ตาก หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนชาวอำเภอโพธิ์ตากและผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ



ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้ดำเนินกานจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนขึ้น ครอบคลุม 78 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้จัดตั้งศูนย์ดิจิทัลขุมชนในสถานที่ต่าง ๆ อาทิเช่น วัด มัสยิด โรงเรียน สถานที่ราชการในท้องถิ่น และชุมชนที่เหมาะสม และในปี 2566 ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ติจิทัลชุมชนเพิ่มเติมในส่วนของสถานศึกษาอีก 1,722 แห่ง รวมจำนวนกว่า 2,222 แห่ง ทั่วประเทศ



โดย สดช. ได้จัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป อาทิเช่น อุปกรณ์และครุภัณฑ์สำหรับเรียนรู้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมจัดการสำนักงานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนต์ความเร็วสูง สิ่งอำนวยความสะดวกด้านดิจิทัล ได้แก่ เครื่องพิมพ์ Mulifunction สำหรับพิมพ์/ถ่าย/สแกน/แฟกซ์เอกสาร Smart TV เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ เครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพงแบบเคลื่อนที่ระบบ CCTV พื้นที่สร้างสรรค์ผลงาน ได้แก่ ชุดสตูติโอถ่ายภาพและกล้องถ่ายรูปดิจิทัล พื้นที่สำหรับประชุม (co-working space) พร้อมทั้งหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับประชาชนในชุมชน เป็นต้น



ทั้งนี้ สดช. มุ่งหวังให้ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัสของเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน สามารถสืบค้นข้อมูลเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมการค้าขายสินค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน อีกทั้งยังเป็นการขยายการให้บริการอินเทอร์เน็ตสู่ท้องถิ่น ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และให้ประชาชนในท้องถิ่นมีโอกาสในการเข้าถึงข่าวสารสนเทศ และบริการภาครัฐเพิ่มมากขึ้น






จากนั้นในช่วงบ่าย  นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะ ไดัเดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการโดรนเกษตรวิถีใหม่ ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้าให้การสนับสนุน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรครบวงจร บ้านดงนาคำ หมู่ 5 ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย โดย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า  โครงการนี้เป็นการบูรณาการ การทำงานระหว่างดีป้า และเครือข่ายพันธมิตร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลเพื่อการยกระดับชุมชนด้วยเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรผ่านการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบินและการซ่อมบำรุงโดรนแก่กลุ่มเกษตรกรและชุมชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ





ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรครบวงจรบ้านดงนาคำ ไดัขอรับการสนับสนุนโดรนเกษตรวิถีใหม่ จากดีป้า  ซึ่งดีป้าช่วยเหลือราคาโดรน 40 % ส่วนอีก 60 % เป็นของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรครบวงจร  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ศูนย์บริการซ่อมบำรุง ฉีดพ่น จัดจำหน่ายโดรนการเกษตรที่ได้รับการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MiT) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน dSURE จากดีป้า



นอกจากนี้ ดีป้า และพันธมิตรจะเปิดอบรมหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล และหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร พร้อมตั้งเป้าผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน และหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร โดยมีการประเมินว่าโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ลดการจ้างงานและระยะเวลาการทำงาน ลดอัตราการเจ็บป่วยจากการสูดดมและสัมผัสกับสารเคมี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท








วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"ธรรมนัส" รมว.เกษตรฯ พบปะเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ จ.หนองคาย

"ธรรมนัส" รมว.เกษตรฯ พบปะเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ จ.หนองคาย พร้อมตรวจเยี่ยมการให้บริการรับคำร้องขอออกโฉนดเพื่อการเกษตร


วันที่ 2 ธ.ค. 2566 ที่ โรงเรียนฮั่วเคียวกงฮัก อ.เมือง จ.หนองคาย  ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ จ.หนองคาย ชี้แจงและมอบนโยบายเรื่องการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พร้อมมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้กับเกษตรกร จำนวน 30 ราย มอบเมล็ดพันธุ์ผัก และต้นกล้าผัก ให้กับตัวแทนชุมชน จำนวน 7 ชุด มอบเงินโครงการเกษตรกรชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน จำนวน 1 ราย มอบเงินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก (BCG Model) จำนวน 3 ราย และมอบปัจจัยการผลิตด้านพัฒนาที่ดิน จำนวน 5 ราย




นอกจากนี้ ยังตรวจเยี่ยมการให้บริการรับคำร้องขอออกโฉนดเพื่อการเกษตร พร้อมเน้นย้ำถึงแนวทางการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร ที่มุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงสิทธิและแหล่งทุนมากขึ้น รวมทั้งมีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


ทั้งนี้ จังหวัดหนองคายมีพื้นที่การเกษตรประมาณ 1.2 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 64 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด สินค้าเกษตรหลักที่ทำรายได้ให้กับจังหวัด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปลานิลกระชัง ไข่ไก่สุกร และโคเนื้อ สำหรับพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินในจังหวัดหนองคาย ครอบคลุมทั้ง 9 อำเภอ จำนวน 46 ตำบล รวม 604,340 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.94 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด เป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 531,555 ไร่ เกษตรกร 33,588 ราย ทั้งนี้ อำเภอเฝ้าไร่และอำเภอโพนพิสัย มีพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.83 ของพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินทั้งจังหวัด













จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...