วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชาวสวนริมโขงยิ้มรับปัใหม่ พริกราคาดี ส่วน 2 ผัวเมียรับจ้างเก็บพริกได้หลักหมื่นต่อเดือน

ชาวสวนริมฝั่งโขงหนองคาย ยิ้มรับปีใหม่ ราคาพริกซุปเปอร์ฮอทราคาดี พ่อค้าซื้อถึงที่กิโลกรัมละ 70-80 บาท  ส่วนชาวบ้าน 2 ผัวเมียรับจ้างเก็บพริก สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน


วันที่ 30 ธ.ค. 2566 ที่ สวนพริกริมแม่น้ำโขง บ้านโคกซวก ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของ นายคำพอง ศรีระวงศา อายุ 67 ปี ซึ่งช่วงนี้ได้จ้างแรงงานชาวบ้านเร่งเก็บพริกสายพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท เพื่อให้ทันตามความต้องการของตลาดและทันกับราคาที่กำลังสูงอยู่ในขณะนี้



นายคำพอง ศรีระวงศา บอกว่า ก่อนหน้านี้ราคาพริกปกติจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 30-40 บาท แต่ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ราคาพริกสดได้ปรับตัวสูงขึ้น เป็นกิโลกรัมละ 70-80 บาท ซึ่งก็ได้ปลูกพริกจำนวน 8 ไร่ เก็บผลผลิตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละประมาณ 10-15 ถุง ๆ ละ 10 กิโลกรัม ขายส่งให้กับลูกค้าประจำและพ่อค้าที่มารับซื้อถึงสวน ถุงละ 700-800 บาท ทำให้ชาวสวนพริกต่างยิ้มออก เพราะพริกขายได้ราคาดีรับปีใหม่ อีกทั้งปุ๋ยปีนี้ราคาไม่แพง คุ้มค่าที่ลงทุน สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว 10,000-12,000 บาทต่อหนึ่งรอบเก็บพริก ต่อจากพริกก็จะสลับการปลูกมะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา ข้าวโพด สร้างรายไดัหมุนเวียนตลอดทั้งปี




ทางด้าน นางสมนึก ผลสุด อายุ 59 ปี ชาวบ้านห้วยช้างเผือก ต.พระพุทธบาท บอกว่า ช่วงนี้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลเก็บผลผลิตพริกในพื้นที่ ต.พระพุทธบาท จึงไดัตั้งทีมชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมกันรับจ้างเก็บพริก 18 คน โดยทางเจ้าของสวน จะจ่ายค่าจ้างเก็บพริก คิดเป็นกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ละวันก็จะได้ค่าแรงจากการเก็บพริกอยู่ที่ วันละ 500-1,000 บาท แล้วแต่ใครเก็บช้าเก็บเร็ว แต่ถ้าลงมือเก็บพริกตั้งแต่เช้า 06.00 น. - 18.00 น. แต่ละคนจะมีรายได้ 800-1,200 บาท ซึ่งเป็นรายดีได้ในช่วงนี้



นางสมนึก บอกอีกว่า ทีมตนรับเก็บพริกมานานถึง 7 ปีแล้ว โดยจะรับในพื้นที่อยู่ 12 สวน ส่วนตนเคยเก็บได้สูงสุด 80 กิโลกรัมต่อวัน จะได้ค่าแรงวันนั้น 800 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจำนวนพริกของสวนด้วย มีเยอะก็เก็บได้เยอะ มีน้อยก็เก็บได้น้อย เมื่อรวมกับสามีที่มาด้วยกัน ก็จะได้วันละประมาณ 1,000-1,400 บาท เดือน ๆ หนึ่งตกประมาณ 70,000 บาท ทำให้มีรายได้กว่า 1 แสนบาทต่อฤดูเก็บเกี่ยวพริก ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม รวม 4 เดือน พอเข้าเดือนเมษายนพริกก็เริ่มหมดลง ชาวสวนก็เริ่มปลูกพืชชนิดอื่น ตนกับสามีก็จะไปหารับจ้างทำสวนกับชาวสวน แต่วันนี้คงได้น้อยลง เพราะพริกสวนนี้ยังไม่แดงเต็มที่และมีน้อย แต่ก็มีสวนพริกอื่นๆ ที่รอให้ไปเก็บเช่นกัน







วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566

งานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคม 66

ผจว.หนองคาย เปิดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคม ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการต่อยอดนวัตกรรมกล้วยน้ำว้าที่เป็น “สัญลักษณ์” และ “อัตลักษณ์” ของอำเภอสังคม เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดของจังหวัด และกลัวยตากอำเภอสังคมได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งซื้ทางภูมิศาสตร์ (GI) แห่งแรกของประเทศ


เมื่อเวลา 17.15 น. วันที่ 26 ธ ค. 2566 ที่ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม จ.หนองคาย  นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคม ประจำปี 2566 ที่อำเภอสังคมร่วมกับทุกภาคส่วนจัดให้มีขึ้น เพื่อรักษาสัญลักษณ์ อัตลักษ์ "กลัวย" ของอำเภอสังคมให้คงอยู่ต่อไป โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายพร้อมผู้เข้าร่วมพิธีเปิด ไดัทำการ "ยิงปืนก้านกล้วย" เป็นสัญลักษณ์ของการเปิดงานในระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 66 – 3 มกราคม 2567




นายสมควร ใจซื่อ นายอำเภอสังคม กล่าวว่า อำเภอสังคมเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดของจังหวัดหนองคาย กล้วยน้ำว้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูก มีพื้นที่ปลูกกล้วย 3,600 ไร่ ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาส่งเสริมและให้ความรู้ทางด้านวิชาการ เพื่อให้ได้รับผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยให้มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการเพิ่มมูลค่าสรรหารายได้ และคุณค่าทางด้านโภชนาการ ต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จนกลายเป็น "สัญลักษณ์" และ "อัตลักษณ์" ของอำเภอสังคมมาจนถึงปัจจุบัน 




นอภ.สังคม กล่าวอีกว่า จากเหตุผลความเป็นมาดังกล่าว ส่วนราชการ หน่วยงาน พี่น้องประชาชนชาวอำเภอสังคมทุกภาคส่วน จึงได้กำหนดจัดงาน "เทศกาลกล้วยน้ำว้า" ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2545 และได้ดำเนินการจัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และกลัวยตากอำเภอสังคมได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งซื้ทางภูมิศาสตร์ (GI) แห่งแรกของประเทศ 



การจัดงานในวันนี้อำเภอสังคมได้กำหนดให้มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การจัดขบวนแห่ประดับตกแต่งจากล้วยและผลิตผลทางการเกษตรทุกตำบล จำนวน 6 ขบวน , การแข่งขันเชียนกล้วยอำเภอสังคม ประดัวย เซียนโค่นต้นกล้วย เซียนตัดหวีกล้วย เซียนตัดใบตอง เซียนฝานผลกล้วย จำนวน 5 ทีม , การประกวดตำกล้วยลีลา จำนวน 5 ทีม , การจัดซุ้มนิทรรศการแสดงผลผลิตจากกล้วย ผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากกล้วย ตลอดจนพืชผลทางการเกษตร จำนวน 5 ตำบล การแสดงสินค้า OTOP และการเดินแบบผ้าไทย
























จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...