วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

อำเภอท่าบ่อ จัดกิจกรรมปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อำเภอยิ้ม...เคลื่อนที่



หนองคาย – อำเภอท่าบ่อ จัดกิจกรรมปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อำเภอยิ้ม...เคลื่อนที่ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแวง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

       วันนี้ (20 เม.ย. 2561) ที่วัดโคกสว่าง หมู่ที่ 7 บ้านหนองแวง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร นายอำเภอท่าบ่อ เป็นประธานนำข้าราชการ ประชาชน อาสาสมัคร จิตอาสาฯ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคเอกชน ร่วมโครงการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อำเภอยิ้ม...เคลื่อนที่ ประจำเดือนเมษายน 2561 โดยมีส่วนราชการในระดับอำเภอ ออกหน่วยให้บริการประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับราษฎรในท้องที่ห่างไกล และได้กล่าวพบปะประชาชน พร้อมชี้แจงนโยบายข้อราชการต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ รับฟังรายงานข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหา และความต้องการด้านต่างๆ





        
       โอกาสนี้ นายอำเภอท่าบ่อพร้อมด้วยคณะกรรมการกิ่งกาชาดอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมกันมอบถุงยังชีพของกิ่งกาชาดอำเภอท่าบ่อ แก่ผู้ยากไร้ 16 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 4 ราย และมอบผ้าห่มแก่ผู้ยากไร้ 20 ราย พร้อมกันนี้สำนักงานเกษตรอำเภอท่าบ่อ ยังได้มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรม “โครงการส่งเสริมเศรษฐพอเพียงในชุมชนตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ระยะที่ 2 ให้กับศูนย์เรียนรู้เศรษฐพอเพียงบ้านหนองแวงร่วมใจ หมู่ที่ 7 ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จำนวน 30 คน นำโดย นายประภัสสร หอมประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7





     จากนั้นเปิดให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จากบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำโมง และเยี่ยมชมหน่วยบริการของส่วนราชการ นอกจากนี้ยังมีพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ ของศูนย์เรียนรู้เศรษฐพอเพียงบ้านหนองแวงร่วมใจ วางจำหน่ายให้แก่ผู้ที่มาร่วมโครงการฯ ในราคาถูกอีกด้วย.

















เดินหน้าทวงคืนผืนป่าจากนายทุน 151 ไร่ ทรัพยากรผืนสุดท้ายของหนองคาย



หนองคาย – จังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย ร่วมกับป่าไม้จังหวัดหนองคาย หน่วยงานเกี่ยวข้อง ทวงคืนผืนป่าจากนายทุน 151 ไร่ พลิกฟื้นผืนป่าทรัพยากรผืนสุดท้ายของหนองคาย

       วันที่ 19 เม.ย. 2561 ที่บริเวณป่าบ้านนาเทาใต้ ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย นายรณชัย  จิตรวิเศษ  ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้ นายนนทพัฒน์  กิจรักษา ปลัดอาวุโสอำเภอสังคม ,นายชัชวาล  เอื้อสุวรรณ ป่าไม้จังหวัดหนองคาย, นายปรพล  พงษ์นิกร ผอ.ส่วนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย, นายเอกชัย  เทพกิจ หน.หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นค.1 (สังคม) , ร.ท.เลิศฤทธิ์  ประดิษฐ์ด้วง ผู้แทน กอ.รมน.หนองคาย, นายสุทิน  โคตรชมพู เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส, เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นางิ้ว, ร.ต.อะรัญ  ทองนาม หน.ชุด รส.อ.สังคม ป.3 พัน 13 กกล.รส.จ.หนองคาย , นายบุญศรี  ชาติมนตรี ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยหินขาว/ประธานอาสาพิทักษ์ป่าบ้านห้วยหินขาว, ผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ทวงคืนผืนป่าจากนายทุน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าพานพร้าว ป่าแก้งไก่ เพื่อปลูกยางพารา ซึ่งคดีผ่านกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล คดีถึงที่สุดแล้ว จำนวน 3 คดี เนื้อที่ 151 ไร่ โดยมีนายวุฒิชัย  มนกลาง ราษฎรบ้านเทาใต้ ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นผู้ต้องหา ทั้ง 3 คดี ศาลจังหวัดหนองคาย ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 ลงโทษจำเลยให้จำคุก 8 ปี 16 เดือน  และให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากป่าสวนแห่งชาติ ตามคดีหมายเลขดำที่ 2553/2558 และคดีหมายเลขแดง ที่ 1667/2559 มีการยื่นอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฎีกาคดีถึงที่สุด

       ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการปองกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 ให้ดำเนินการบังคับใช้ตามกฎหมายต่อพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกปลูกยางพาราทั้ง 3 แปลง  โดยมีการแจ้งคำพิพากษาให้แก่ผู้ถือครอง ณ ขณะนี้ได้ทราบและปฏิบัติตามคำสั่งของศาล  เพื่อจะได้นำพื้นที่ดังกล่าว มาทำการฟื้นฟูสภาพป่าให้อุดมสมบูรณ์ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามแผนปฏิบัติการพลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 



       
       ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้ แต่ยิ่งนานวันทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้กลับถูกบุกรุกทำลายจนร่อยหรอแทบไม่เหลือเค้าความอุดมสมบูรณ์ให้เห็น จากข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้พบว่า ปี 2557 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผืนป่าเหลือเพียง 102,285,400 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.62 ของพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น น้อยกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2551 ที่พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ 107 ล้านไร่ หรือเท่ากับร้อยละ 33.8 ของพื้นที่ประเทศ เป็นสัญญาณบอกเหตุได้อย่างดีว่า หากวันนี้ทุกคน ทุกภาคส่วน ยังคงนิ่งดูดายปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ก็คงเหลือเวลาอีกไม่นาน ป่าไม้คงหมดไปจากประเทศไทยเข้าสักวัน ซึ่งรัฐบาลนี้โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญมากกับสถานการณ์ป่าไม้ของประเทศ  เมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ก็ได้กำหนดมาตรการ ทวงคืนผืนป่า โดยเข้าไปบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้บุกรุกป่าโดยเฉพาะกลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพลที่บุกรุกป่า กระทั่งนำผืนป่ากลับมาได้ประมาณ 3 แสนไร่



       
       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีมาตรการทวงคืนผืนป่าไปสู่โครงการ พลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ภายใต้ 5 มาตรการหลัก คือ 1.การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วม โดยอาศัยแนวทาง ประชารัฐ ที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จะต้องเดินไปด้วยกัน ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้สั่งการ มาเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุน 2.การแก้ไขปัญหาแนวเขตพื้นที่ทับซ้อนต่างๆ โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ 3.การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อผู้มีอิทธิพล แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ 4.การผ่อนผันกับประชาชนผู้ยากไร้โดยจัดสรรที่ดินให้เข้าทำกิน  5.การเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว โดยในพื้นที่สูงชันอย่าให้ใครบุกรุกซ้ำให้ป่าได้ฟื้นคืนสภาพด้วยตัวเอง นอกจากนี้ให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าปลูกจะได้ไม่ยุ่งกับป่าใหญ่ ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าเพื่อเก็บไว้เหมือนเป็นเงินออม และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนปลูกต้นไม้ในหน่วยงานและพื้นที่สาธารณะ การสร้างคน สร้างเจ้าหน้าที่ป่าไม้ สร้างผู้พิทักษ์ป่า ที่มีจิตวิญญาณในการรักษาป่าและมีทัศนคติที่ดีต่อพี่น้องประชาชน




        
      การทวงคืนผืนป่าเพื่อพลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาป่าไม้แบบบูรณาการ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะสามารถป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันรวมถึงพื้นที่ป่าที่ทวงคืนมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งยังเกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้ทั้งนั้นยังต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากคนไทยทุกคนในการร่วมกันอนุรักษ์ ดูแล และรักษาป่า เพื่อไม่ให้พื้นที่ป่า ที่เหลืออยู่นี้ ซึ่งเป็นป่าผืนสุดท้ายค่อยๆ หดหายไปจนไม่เหลือแม้ต้นไม้ต้นเดียว และในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่ายังมีการลักลอบจุดไฟเผาป่าของผู้ไม่หวังดีหรือเพื่อล่าสัตว์ป่าหลายจุด เกินความสามารถที่ควบคุมไฟได้ ทำให้พื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ลุกลามเป็นเวณกว้างในหลายพื้นที่ เขตรอยต่อของ อ.สังคม อ.โพธิ์ตาก และ อ.ศรีเชียงใหม่ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก





วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

ทีมขับเคลื่อนไทยนิยมฯระดับตำบล เดินหน้าแนะแนวอาชีพ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ครั้งที่ 3



หนองคาย – ทีมขับเคลื่อนไทยนิยมฯระดับตำบล เดินหน้าแนะแนวอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ครั้งที่ 3 แก่ประชาชนหมู่ที่ 3 บ้านโพนตาล ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ

     วันนี้(18 เม.ย. 2561) ที่ศาลาการเปรียญวัดบ้านโพนตาล หมู่ที่ 3 บ้านโพนตาล ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร นายอำเภอท่าบ่อ ได้บรรยายพิเศษเรื่องเกษตรอินทรีย์จากปุ๋ยฉี่ไส้เดือน โครงการ “ไส้เดือนสะเทือนทุ่ง อำเภอท่าบ่อพัฒนา” โดยได้นะวิธีการเลี้ยง วิธีการขยายพันธุ์และประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยฉี่ไส้เดือน นำไปสู่เกษตรปลอดสารพิษทุกครัวเรือน



       จากนั้น ว่าที่ร้อยตรีอภิณพันธุ์ ช่างเขียนดี ปลัดอำเภอท่าบ่อ เป็นประธานนำทีมขับเคลื่อนไทยนิยมฯระดับตำบล เดินหน้าประชุมการมอบนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ครั้งที่ 3 แก่ประชาชนหมู่ที่ 3 บ้านโพนตาล ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ เพื่อแนะแนวอาชีพการเกษตร และรับข้อเสนอจากประชาชนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ หรือการเลือกอาชีพของประชาชนที่มีความประสงค์ จะเข้าร่วมการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประชาชนหมู่ที่ บ้านโพนตาล ได้เสนอให้จัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า นางรม ส่งเสริมอาชีพในพื้นที่.










ชาวบ้านสามหมู่บ้านในตำบลนาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย จัดพิธีกรรมเลี้ยงปู่ตา




หนองคาย – ชาวบ้านสามหมู่บ้านในตำบลนาข่า อ.ท่าบ่อ จัดพิธีกรรมเลี้ยงปู่ตา ประเพณีที่เคยปฏิบัติมาในอดีต ตั้งแต่ย้ายมาตั้งบ้านเรือนกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

       วันนี้(18 เม.ย. 2561) ที่ศาลดอนปู่ตา(ปู่วงคำจันทร์) หมู่ที่ 1 บ้านกวด ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ชาวบ้านสามหมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านกวด หมู่ที่ 2 บ้านโคกสว่าง และหมู่ที่ 8 บ้านโคกถาวร ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ กว่า 500 คน ได้ร่วมกันจัดพิธีกรรมเลี้ยงปู่ตา(ปู่วงคำจันทร์) ตามประเพณีที่เคยปฏิบัติมาในอดีต ตั้งแต่ย้ายมาตั้งบ้านเรือนกว่า 100 ปีที่ผ่านมา โดยมี นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร นายอำเภอท่าบ่อ ได้ร่วมพิธีกรรมด้วย






      
       ซึ่งการเลี้ยงปู่ตาจะจัดกันทุกปีในแรกเข้าสู่เดือน 6 ข้างขึ้นวันพุทธ โดยพิธีกรรมจะนำโดยผู้ที่เลี้ยงปู่ตาที่เรียกกันว่า " จ้ำ" หรือนางทรง ทำพิธีไหว้วานหรือเชิญปู่ตามารับของบวงสรวง โดยมีเสียงแคน พิณ และกลองยาวมาตีให้จังหวะ เพื่อจ้ำและนางเทียมได้ร่ายรำหน้าศาลปู่ตาด้วย และชาวบ้านก็จะนำสิ่งของที่จะต้องมาเลี้ยงปู่ตา มีข้าวสุก ธูปเทียน หญ้าคามัดเท่าจำนวนสัตว์เลี้ยงของตน ส่วนใครที่จะบวงสรวงก็จะนำเหล้า ไก่ครัวเรือนละ 1 ตัวมาร่วมพิธี รวมแล้วมีไก่ที่สุกแล้วกว่า 300 ตัว พร้อมจุดบั้งไฟถวาย

      จากนั้น " จ้ำ" พร้อมนางเทียม และชาวบ้าน ได้นำพาบูชา หรือพาคาย ออกเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตร ไปยังดอนปู่หนองกวด ที่อยู่ปากทางเข้าหมู่บ้าน เพื่อทำพิธีกรรมเลี้ยงปู่หนองกวด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านจะจับจ้องดูท่าทางของนางเทียมที่กำลังร่ายรำ ชาวบ้านที่มีโทรศัพท์มือถือก็จะหยิบขึ้นมาบันทึกภาพเอาไว้ เพื่อที่จะเก็บไว้ดูท่าทางของนางเทียมบอกถึงอะไร หรือเลขอะไรเพื่อเสี่ยงโชค







        นายประกอบ มีใจใส กำนันตำบลนาข่า กล่าวว่า ประเพณีเลี้ยงปู่ตานี้จะจัดขึ้นในวันเดียวกันทั้งสองศาลท้ายบ้าน(ปู่วงคำจันทร์) หัวบ้าน(ปู่หนองกวด) ตามความเชื่อของชาวบ้านว่า เป็นประเพณีสำคัญที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้ ถ้าปีใดไม่ได้เลี้ยงปู่ตาทั้งสอง หากเกิดเหตุเภทภัยขึ้นแก่ชาวบ้าน มักเชื่อว่าเป็นเพราะไม่ได้เลี้ยงปู่ตา จึงได้พากันจัดประเพณีสืบกันมาตราบจนถึงทุกวันนี้ โดยจะจัดขึ้น 1 ปีมี 1 ครั้งในแรกเข้าสู่เดือน 6 ข้างขึ้นวันพุทธ ก่อนถึงบุญประเพณีหรือบุญบั้งไฟตะไล  พิธีกรรมเลี้ยงศาลปู่ตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทั้งสามหมู่บ้านปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนกว่า 100 ปี




       สำหรับพิธีเลี้ยงศาลปู่ตา เริ่มขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ ชาวบ้านจะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งประกอบด้วยไก่ ไข่ไก่ อาหารคาวหวาน เหล้า หมากพลู ผ้าแพร ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าคามัดเท่าจำนวนสัตว์เลี้ยงของตน  โดยจ้ำหรือนางทรงจะเสี่ยงทาย โดยเลือกไข่ไก่ที่ต้มสุกแล้วมาวางไว้ที่ฝ่ามือ ท่าไข่ไก่ตั้งขึ้นแสดงว่าฝนตกดี พืชผลผลิตทางการเกษตรเจริญงอกงาม และหมู่บ้านสงบสุข และยังเป็นการแสดงความเคารพ ที่ชาวบ้านทำเป็นประจำทุกปี โดยเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยปกป้องรักษา ไม่ให้เกิดเหตุร้ายในหมู่บ้าน และยังขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล  หลังจากเสร็จสิ้นพิธี ชาวบ้านจะนำไก่ที่เซ่นไหว้มาแบ่งกันกิน โดยเชื่อว่าจะมีสุขภาพแข็งแรง และมีโชคมีลาภตลอดปี.






จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...