หนองคาย –
จังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย
ร่วมกับป่าไม้จังหวัดหนองคาย หน่วยงานเกี่ยวข้อง ทวงคืนผืนป่าจากนายทุน 151 ไร่
พลิกฟื้นผืนป่าทรัพยากรผืนสุดท้ายของหนองคาย
วันที่ 19 เม.ย. 2561 ที่บริเวณป่าบ้านนาเทาใต้ ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้ นายนนทพัฒน์ กิจรักษา ปลัดอาวุโสอำเภอสังคม ,นายชัชวาล เอื้อสุวรรณ
ป่าไม้จังหวัดหนองคาย, นายปรพล พงษ์นิกร ผอ.ส่วนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย,
นายเอกชัย เทพกิจ
หน.หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นค.1 (สังคม) , ร.ท.เลิศฤทธิ์ ประดิษฐ์ด้วง ผู้แทน กอ.รมน.หนองคาย, นายสุทิน โคตรชมพู
เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส, เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นางิ้ว,
ร.ต.อะรัญ ทองนาม หน.ชุด
รส.อ.สังคม ป.3 พัน 13 กกล.รส.จ.หนองคาย , นายบุญศรี ชาติมนตรี
ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยหินขาว/ประธานอาสาพิทักษ์ป่าบ้านห้วยหินขาว, ผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ทวงคืนผืนป่าจากนายทุน
ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าพานพร้าว –ป่าแก้งไก่
เพื่อปลูกยางพารา ซึ่งคดีผ่านกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล คดีถึงที่สุดแล้ว จำนวน 3
คดี เนื้อที่ 151 ไร่ โดยมีนายวุฒิชัย
มนกลาง ราษฎรบ้านเทาใต้ ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
เป็นผู้ต้องหา ทั้ง 3 คดี ศาลจังหวัดหนองคาย ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 26
กรกฎาคม 2559 ลงโทษจำเลยให้จำคุก 8 ปี 16 เดือน
และให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน
และบริวารของจำเลยออกจากป่าสวนแห่งชาติ ตามคดีหมายเลขดำที่ 2553/2558
และคดีหมายเลขแดง ที่ 1667/2559 มีการยื่นอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฎีกาคดีถึงที่สุด
ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการปองกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดหนองคาย
ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561
ให้ดำเนินการบังคับใช้ตามกฎหมายต่อพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกปลูกยางพาราทั้ง 3
แปลง
โดยมีการแจ้งคำพิพากษาให้แก่ผู้ถือครอง ณ ขณะนี้ได้ทราบและปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เพื่อจะได้นำพื้นที่ดังกล่าว
มาทำการฟื้นฟูสภาพป่าให้อุดมสมบูรณ์ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามแผนปฏิบัติการพลิกฟื้นผืนป่า
สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้
แต่ยิ่งนานวันทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้กลับถูกบุกรุกทำลายจนร่อยหรอแทบไม่เหลือเค้าความอุดมสมบูรณ์ให้เห็น
จากข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้พบว่า ปี 2557 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผืนป่าเหลือเพียง
102,285,400 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.62
ของพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น น้อยกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2551 ที่พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ
107 ล้านไร่ หรือเท่ากับร้อยละ 33.8 ของพื้นที่ประเทศ
เป็นสัญญาณบอกเหตุได้อย่างดีว่า หากวันนี้ทุกคน ทุกภาคส่วน
ยังคงนิ่งดูดายปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ก็คงเหลือเวลาอีกไม่นาน
ป่าไม้คงหมดไปจากประเทศไทยเข้าสักวัน ซึ่งรัฐบาลนี้โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญมากกับสถานการณ์ป่าไม้ของประเทศ
เมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ก็ได้กำหนดมาตรการ
ทวงคืนผืนป่า โดยเข้าไปบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้บุกรุกป่าโดยเฉพาะกลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพลที่บุกรุกป่า
กระทั่งนำผืนป่ากลับมาได้ประมาณ 3 แสนไร่
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงได้มีมาตรการทวงคืนผืนป่าไปสู่โครงการ พลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
ภายใต้ 5 มาตรการหลัก คือ 1.การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และภาคส่วนต่างๆ
ในพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วม โดยอาศัยแนวทาง ประชารัฐ ที่ทั้งภาครัฐ เอกชน
และภาคประชาชน จะต้องเดินไปด้วยกัน ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ
ผู้สั่งการ มาเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุน
2.การแก้ไขปัญหาแนวเขตพื้นที่ทับซ้อนต่างๆ
โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
3.การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อผู้มีอิทธิพล แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
4.การผ่อนผันกับประชาชนผู้ยากไร้โดยจัดสรรที่ดินให้เข้าทำกิน 5.การเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว
โดยในพื้นที่สูงชันอย่าให้ใครบุกรุกซ้ำให้ป่าได้ฟื้นคืนสภาพด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าปลูกจะได้ไม่ยุ่งกับป่าใหญ่
ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าเพื่อเก็บไว้เหมือนเป็นเงินออม
และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนปลูกต้นไม้ในหน่วยงานและพื้นที่สาธารณะ การสร้างคน
สร้างเจ้าหน้าที่ป่าไม้ สร้างผู้พิทักษ์ป่า
ที่มีจิตวิญญาณในการรักษาป่าและมีทัศนคติที่ดีต่อพี่น้องประชาชน
การทวงคืนผืนป่าเพื่อพลิกฟื้นผืนป่า
สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาป่าไม้แบบบูรณาการ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ซึ่งจะสามารถป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันรวมถึงพื้นที่ป่าที่ทวงคืนมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังเกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ทั้งนั้นยังต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากคนไทยทุกคนในการร่วมกันอนุรักษ์
ดูแล และรักษาป่า เพื่อไม่ให้พื้นที่ป่า ที่เหลืออยู่นี้
ซึ่งเป็นป่าผืนสุดท้ายค่อยๆ หดหายไปจนไม่เหลือแม้ต้นไม้ต้นเดียว
และในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่ายังมีการลักลอบจุดไฟเผาป่าของผู้ไม่หวังดีหรือเพื่อล่าสัตว์ป่าหลายจุด
เกินความสามารถที่ควบคุมไฟได้ ทำให้พื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ลุกลามเป็นเวณกว้างในหลายพื้นที่
เขตรอยต่อของ อ.สังคม อ.โพธิ์ตาก และ อ.ศรีเชียงใหม่
ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น