วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หนองคาย - หนุ่มหัวหน้าวิศวกรเครื่องกลโรงงาน ลาออกมาเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า "โมจีน" สร้างรายได้-กำไรงาม

หนุ่มหัวหน้าวิศวกรเครื่องกลโรงงาน ทิ้งเงินเดือนประจำกลับบ้านมาดูแลพ่อที่ป่วย พร้อมใช้เวลาว่างเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า "โมจีน" เริ่มแรกตั้งใจจะเลี้ยงไว้เป็นกับแกล้ม แต่พอโพสลงเฟสกลับมีลูกค้าดิ่งรถจากอุบลฯ มาคะยั้นคะยอขอซื้อถึงบ้าน


วันที่ 26 มิ.ย. 2566 ที่ บ้านเลขที่ 222 บ้านพฤกษาหาร หมู่ 5 ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ของ นายอลันทัมส์ ศรีสุไลย์ หรือ วี อายุ 48 ปี ได้เริ่มทำการเพาะเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า "โมจีน" มาเป็นเดือนที่ 2 โดยใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นโรงเรือนและตั้งกรงเลี้ยงตั๊กแตน จำนวน 3 กรง แยกเป็นกรงใหญ่ ขนาด 3×1.20 เมตร เอาไว้เพาะเลี้ยงตั๊กแตน ส่วนกรงเล็ก 2 กรง ขนาด 1.20×1.20 เมตร เอาไว้เพาะไข่ตั๊กแตน




นายวี กล่าว่า เมื่อก่อนเป็นหัวหน้าวิศวกรเครื่องกลโรงงานในพื้นที่จ.สมุทรปราการ กระทั้ง 2 เดือนก่อนหน้านี้ พ่อได้ล้มป่วยและแก่ชรามากแล้ว จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานกลับบ้านมาดูแลพ่อ ช่วงที่กลับมาอยู่บ้านได้ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆในหมู่บ้าน แล้วได้ซื้อกับแกล้มมีทั้งจิ้งหรีด ตั๊กแตนขายกองละ 20 บาท เห็นแล้วมันได้นิดเดียว ทำให้ตะหงุดตะหงิดใจก็เลยตัดสินใจทดลองเลี้ยงเพื่อไว้กินเอง ท่าซื้อเขามามันได้นิดเดียว โดยได้ไปขอซื้อไข่ตั๊กแตนจากผู้ที่เลี้ยงอยู่แล้วในพื้นที่ตำบลโคกคอน อ.ท่าบ่อ จำนวน 2 ขีด ๆ ละ 1,000 บาท ซึ่งไข่ 1 ขีด ก็จะได้ตั๊กแตนประมาณ 2,000 กว่าตัว จึงเป็นจุดเริ่มต้น



หลังจากเริ่มเลี้ยงพบว่าเลี้ยงง่าย ส่วนอาหารที่ให้ก็เป็นหญ้าหวานอิสราเอล ให้เป็นอาหารหลัก ตนจะไม่ใช้หัวอาหารในการเลี้ยง ส่วนหญ้าหวานตนได้ปลูกไว้เองข้างฟาร์มเลี้ยงหมู และเป็นหญ้าที่มีโปรตีนสูง ปลูกง่าย โตไว ที่ได้เน้นให้หญ้าหวานเนื่องจากไม่แห้งเร็วและตั๊กแตนกินได้ตลอดวัน แต่ท่าเป็นใบใผ่ ใบอ้อย หรือใบหญ้าอื่นๆ มันจะแห้งไว ที่สำคัญหญ้าหวานที่ตนปลูกไว้จะไม่ใสสารเคมี จะเน้นชีวภาพโดยการใส่ปุ๋ยหมักปลอดภัยไร้สารพิศ เพราะว่าผมเป็นคนเลี้ยงเอง กินเอง จึงรู้ว่ามีรสชาติดึ อีกอย่างตั๊กแตนทำได้หลายรสชาติ เพราะว่าผมเคยเป็นเซฟมาก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าวิศวกร ซึ่งสามารถรังสรรค์เมนูได้



นายวี กล่าวอีกว่า เริ่มแรกตั้งใจว่าจะเลี้ยงไว้กินเองและไว้เป็นกับแกล้มเวลาร่วมสังสรรค์กับเพื่อนๆ แต่พอโพสลงเฟสบุ๊คปรากฏว่ามีคนสนใจติดต่อขอซื้อจำนวนมาก ซึ่งไม่กี่วันมานี้ได้มีลูกค้าขับรถมาจากจ.อุบลฯ มาคะยั้นคะยอขอซื้อไข่ตั๊กแตนแต่ยังไม่มี ซึ่งลูกค้าจึงได้ขอซื้อตัวตั๊กแตน เลยต้องแบ่งขายให้ไป 1 กิโลกรัม ในราคา 450 บาท  

"จากตอนแรกที่ตั้งใจจะเลี้ยงไว้ทำกินเป็นกับแกล้ม ไม่ได้ตั้งใจจะขาย แต่เมื่อพอเห็นลู่ทางจึงเพาะเลี้ยงอย่างจริงจัง โดยตอนนี้ได้ขายไข่และตัวไปแล้ว โดยขายไข่ไป 3 ขีด ๆ ละ 1,000 บาท ขายตัวไปแล้ว 4 กิโลกรัม ๆ ละ 450 บาท รวมค่าส่งบวกลบค่าส่งแล้วได้กำไรอยู่ที่ 2,000 บาท ถือว่าคุ้มเพราะลงทุนไป 4,000 บาท ในการทำกรงเลี้ยงตั๊กแตน กับการผึ้งเริ่มต้นภายใน 2 เดือน ต่อไปก็จะขยายสร้างเป็นฟาร์มเลี้ยงไว้ที่ข้างบ้านในลักษณะเป็นโดมขนาดใหญ่ ซึ่งได้ตั้งชื่อฟาร์มไว้แล้วว่า  "แอบแซ่ป ฟาร์มตั๊กแตน" หากใครที่สนใจจะศีกษาหรือต้องการจะเพาะเลี้ยงสามารถทักมาได้ที่เฟสบุ๊คชื่อ "วี ตั้งจอก" หรือโทรฯ  064-5824991" (นายวี กล่าว)










วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กวาดล้างยานรก! เจ้าหน้าที่ทหารพรานที่ 2105 ยึดยาบ้านำเข้ากว่า 1 แสนเม็ด ขณะที่ขบวนการลักลอบวิ่งหนีขึ้นเรือข้ามแม่น้ำโขงลอยนวล

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2566 เวลา 14.00 น. ที่ กองร้อยทหารพรานที่ 2105 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21 กองบังคับการควบคุมที่ 2 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ต.วัดหลวง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย   ร.อ.วิทยา สิงห์อร ผบ.ร้อย.ฉก.ทพ.2105, นายนิธิภัทร มะลาศรี ปลัดอำเภอโพนพิสัย, ร.อ.ธนกร ฤทธิจอหอ หัวหน้าหน่วยเรือโพนพิสัย, พ.ต.ต.ปรเมศร์  มณีศรีวงศ์กูล สว.สส.สภ.โพนพิสัย, มว.ฉก.ตชด.2451,  นฝด.21, กองร้อยสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดที่ 1 บก.ควบคุมที่ 2(ร.13) กกล.สุรศักดิ์มนตรี หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ร่วมกันแถลงผลการตรวจยึดยาบ้า 108,000 เม็ด ได้ที่บริเวณเขื่อนป้องกันตลิ่งบ้านแดนเมือง อำเภอโพนพิสัย จ.หนองคาย  ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต นรธิป  โพยนอก ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี,พ.อ.จักรพงษ์   โพธิ์นาแค ผบบก.ควบคุมที่ 2(ร.13) พ.อ.สุริวัชร์  อัครพรเดชาพงษ์ ผบ.ฉก.ทพ.21,นายถาวร  สังขะมาน นอภ.โพนพิสัย




การตรวจยึดครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน 66 เวลาประมาณ 18.00 น. ที่ผ่านมา ร.อ.วิทยา สิงห์อร ผบ.ร้อย.ฉก.ทพ.2105 ได้รับแจ้งว่า จะมีการลักลอบนำยาเสพติดจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน มาส่งกันบริเวณพื้นที่ บ้านแดนเมือง ม.3 ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง จ.หนองคาย จึงได้รายงานให้ พ.อ.สุริวัชร์  อัครพรเดชาพงษ์ ผบ.ฉก.ทพ.21 ทราบ พร้อมประสานหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ จัดชุดลาดตระเวนวางกำลังดักซุ่ม จนกระทั่งเวลาประมาณ 05.00 น.ของวันที่ 23 มิถุนายน 66 เจ้าหน้าที่พบเรือกีบหางยาวจำนวน 1 ลำ อยู่บริเวณกลางแม่น้ำโขง มีคนอยู่บนเรือจำนวน 1 คน  และใกล้กันมีชายต้องสงสัย 1 คน กำลังแบกกระสอบสีดำ เดินขึ้นมาริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณบันไดเขื่อนป้องกันตลิ่ง   เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้แสดงตัวขอตรวจค้น เมื่อชายคนดังกล่าวเห็นเจ้าหน้าที่ตกใจได้ทิ้งกระสอบสีดำต้องสงสัยแล้ววิ่งหนีลงเรือแล้วขับแล่นมุ่งหน้าไปยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็ว

เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้ทำการตรวจสอบกระสอบต้องสงสัย  พบภายในบรรจุยาบ้า   จึงได้ตรวจยึดและนำมาตรวจนับอย่างละเอียดที่ ร้อย.ฉก.ทพ.2105 รวมยาบ้าที่ตรวจยึดได้ครั้งนี้  จำนวน จำนวน 108,000 เม็ด จากนั้น นำของกลางดังกล่าว ส่งพนักงานสอบสวน สภ.โพนพิสัย  เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป







นพค.25 กองบัญชาการกองทัพไทย นำเครื่องจักรกล กำจัดวัชพืชเพื่อเปิดทางน้ำแหล่งน้ำดิบผลิตน้ำประปาของ 2 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลน้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2566 พ.อ.นัฏฐาภูมิ นิกร ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยทหารพัฒนา  กองบัญชาการกองทัพไทย  สั่งการให้กำลังพลทหารด้านการบรรเทาสาธารณภัย นำยุทโธปกรณ์ออกให้การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลน้ำโมง  อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย หลังได้รับการร้องขอสนับสนุนกำลังพลพร้อมรถแบคโฮ จำนวน 1 คัน ขุดลอกหนองเลิงม่วง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาของบ้านท่าสำราญ หมู่ 6 และบ้านสว่าง หมู่ 10 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ เพื่อเปิดทางน้ำรองรับการระบายของน้ำช่วงน้ำหลาก นอกจากนี้ยังเป็นการบรรความเดือดร้อนของประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้าน จะได้มีแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาที่สะอาด และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ผู้ได้รับผลประโยชน์ จำนวน 800 หลังคาเรือน ประชาชน จำนวน 1,500 คน.

ส.ต.ท.ชวลิต ชัยวี ปลัด อบต.น้ำโมง กล่าวว่า บริเวณหนองเลิงม่วงแห่งนี้ ทาง อบต.น้ำโมงได้ทำการขุดลอกเพื่อให้เป็นแหล่งน้ำดิบไว้ใช้ผลิตน้ำประปาให้แก่ประชาชนไว้ใช้อุปโภคบริโภค 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 6 บ้านท่าสำราญ และหมู่ 10 บ้านสว่าง ซึ่งปัจจุบันได้มีวัชพืชและผักตบชวาจำนวนมาก ทำให้กีดขวางทางน้ำที่ไหลไปยังท่อสูบน้ำขึ้นไปผลิตน้ำประปาไม่สะดวก ซึ่ง อบต.น้ำโมง นำโดย นายจรัญ วงศ์เสนา นายก อบต.น้ำโมง พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาอบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้าน ต้องขอขอบคุณ นพค.25 ที่นำเครื่องจักรกลรถแบคโฮ พร้อมกำลังพลมาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวตำบลน้ำโมง ที่ประสบปัญหาวัชพืชปกคลุมแหล่งน้ำดิบที่ผลิตน้ำประปาของประชาชนในหมู่บ้าน ตอนนี้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะว่าแหล่งน้ำดิบที่ผลิตน้ำประปาขณะนี้มีสะพาบตื้นเขินและมีวัชพืชปกคลุม ทำให้การผลิตน้ำประในหมู่บ้านมีปัญหา มีกลิ่นเหม็น น้ำไม่สะอาด และขุ่น ทาง อบต.น้ำโมงได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังหน่วย นพค.25  ก็ได้นำทีมงานด้านการบรรเทาสาธารณภัย พร้อมเครื่องจักรกลเข้ามาทำการช่วยเหลือขุดลอกกำจัดวัชพืช ซึ่งพี่น้องชาวตำบลน้ำโมงต้องขอขอบคุณหน่วย นพค.25 เป็นอย่างยิ่งที่เข้ามาช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนในครั้งนี้















วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สำนักงานงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในจังหวัดหนองคาย จัดโครงการ “ผู้ว่าพาไปยาม” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ภายใต้กิจกรรม "เกษตรกรตัวอย่างกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน" ณ บุญเพ็งฟาร์ม ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

วันที่ 22 มิ.ย. 2566 เวลา 10.30 น. ณ  บุญเพ็งฟาร์ม ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดโครงการ “ผู้ว่าพาไปยาม” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ภายใต้ภายใต้กิจกรรม "เกษตรกรตัวอย่างกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน" ของสำนักงานงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในจังหวัดหนองคาย จัดขึ้น โดยนำพาผู้บริหารและคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมโครงการ/กิจกรรมเด่น เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ส่งผลให้กิจกรรมด้านการเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยมีนางสุวรรณี ศิริวรรณ์หอม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย เป็นผู้กล่าวรายงาน  นายบุญส่ง พานชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง รักษาราชการแทนประมงจังหวัดหนองคาย เป็นผู้กล่าวต้อนรับ มีนายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยนายนวน โทบุตร นายอำเภอท่าบ่อ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมโครงการฯ





ภายหลังพิธีเปิดโครงการฯ  นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด แก่นายศิริภูมิ พ่อค้าไทย เป็นเจ้าของพืนที่ และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์แปลรูปจากส้ตว์น้ำของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ  กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ หน่วยงานที่นำมาจัดแสดงและจำหน่าย และเยี่ยมชมการดำเนินงานของบุญเพ็งฟาร์ม



ปัจจุบันจังหวัดหนองคาย มีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกระชังแม่น้ำโขง จำนวน 193 ราย มีกระชังจำนวน 2,997 กระชัง พื้นที่เลี้ยงรวมทั้งหมด 36.05 ไร่ มีผลผลิต 7,798.95 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 506.93 ล้านบาทต่อปี จึงนับได้ว่าปลานิล เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดหนองคายอึกชนิดหนึ่ง



สำหรับบุญเพ็งฟาร์ม แห่งนี้ มีนายศิริภูมิ พ่อค้าไทย เป็นเจ้าของและผู้จัดการฟาร์ม ได้เริ่มเลี้ยงปลาตั้งแต่ปี 2541 โดยได้เล็งเห็นว่า ปลาในแม่น้ำโขงเป็นปลาที่ได้รับความนิยม  เนื่องจากมีเนื้อแน่น  ไม่มีกลิ่นเหม็นคาว  และมีรสชาติอร่อย จึงได้เริ่มเลี้ยงปลานิลกระชังในแม่น้ำโขง เพื่อจำหน่าย แต่เนื่องจากขาดประสบการณ์ และขาดองค์ความรู้ในด้านวิชาการและการจัดการฟาร์มที่เหมาะสม จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร


ต่อมาสำนักงานประมงจังหวัดหนองคาย และสำนักงานประมงอำเภอท่าบ่อ ได้เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนด้วยการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงให้กับบุญเพ็งฟาร์ม  และในด้านสังคม นายศิริภูมิ พ่อค้าไทย ยังเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มเกษตรกร ที่สนใจเลี้ยงปลานิลในกระชังในพื้นที่อำเภอท่าบ่อ  รวมทั้งใหีการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณสประโยซน์มาอย่างต่อเนื่อง









จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...