วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566

นพค.25 กองบัญชาการกองทัพไทย ปล่อยขบวนยานพาหนะและเครื่องจักรกลช่วยเหลือ ปชช.ในพื้นที่รับผิดชอบ

ผบ.นพค.25 สนภ.2 นทพ. กองบัญชาการกองทัพไทย ปล่อยขบวนยานพาหนะและเครื่องจักรกลเพื่อออกปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ 


วันที่ 19 ต.ค. 2566 ที่ บริเวณลานรวมพล กองบังคับการหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย บ้านศูนย์กลาง หมู่ 3 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย พันเอก ณัฏฐาภูมิ นิกร ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25 เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนยานพาหนะและเครื่องจักรกลเพื่อออกปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2567 ตามแผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพ การป้องกันประเทศ และความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาประเทศ และช่วยเหลือประชาชรในพื้นที่รับผิดชอบ




โดยมีพื้นที่ในการพัฒนาตำบลเป้าหมายตำบลหลัก คือ ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ,ตำบลรอง จำนวน 2 ตำบล คือ ต.บ้านถ่อน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และ ต.พระธาตุบังพวน อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย ประกอบด้วย 1. งานก่อสร้างเส้นทางคมนาคม จำนวน 18 โครงการ ระยะทางรวม 33.045 กิโลเมตร เป็นงานทางลาดยาง แบบ Cape Seal จำนวน 3 โครงการ งานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1 โครงการ และซ่อมผิวทางจราจรลูกรัง จำนวน 14 โครงการ , 2. งานจัดหาน้ำกินน้ำใช้ จำนวน 18 โครงการ  แบ่งเป็นงานขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 8 โครงการ งานขุดลอกหนองน้ำ จำนวน 6 โครงการ ปริมาตรดิน ไม่น้อยกว่า 1,015,558 ลูกบาศก์เมตร / งานก่อสร้างอาคารบริการน้ำดื่มระบบ RO อัตราผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง จำนวน 3 แห่ง และงานก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านมาตรฐานและระบบผลิต (น้ำผิวดิน ตามแบบเลขที่ กกช.54241 จำนวน 1 โครงการ , 3. งานพัฒนาและช่วยเหลือประชาชน จำนวน 4 โครงการ , 4. งานเกษตรผสมผสานตามแนวทางพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 โครงการ รวมทั้งสิ้น 41 โครงการ งบประมาณ 54,528,080 บาท



ซึ่งโครงการทั้งหมด  เป็นการพัฒนาในพื้นที่ตำบลเป้าหมายหลักและตำบลเป้าหมายรอง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาภาค 2 ในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ด้วยการพัฒนาเส้นทางคมนาคม พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาล ตลอดจนนโยบายของผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญซาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ที่ว่า "นักรบสีน้ำเงิน ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ในทุกที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส"




วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566

อบจ.หนองคาย เตรียมจัดแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน 23-25 ต.ค. 66 มีทีมเรือไทย-ลาว เข้าร่วมชิงชัยเป็นเจ้าแห่งสายน้ำ 26 ทีม

อบจ.หนองคาย เตรียมจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 1 ระหว่าง 23-25 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตลาดอินโดจีน(ตลาดท่าเสด็จ) มีทีมเรือทั้งไทย-ลาวเข้าร่วมชิงชัยเป็นเจ้าแห่งสายน้ำ 26 ทีม พร้อมชมขบวนแห่ถ้วยพระราชทานฯ อย่างสมพระเกียรติฯ จาก อบจ.ถึงบริเวณจัดการแข่งขัน


วันทึ่ 18 ต.ค. 2566 เวลา 10.00 น. ที่ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ตัวแทนจากนครหลวงเวียงจันทน์ คณะกรรมการจัดการแข่งขันเรือยาว สมาชิกสภาจังหวัด และผู้จัดการทีมเรือ ร่วมกันแถลงข่าวโครงการจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 พร้อมจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตลาดอินโดจีน(ตลาดท่าเสด็จ) จากท่าน้ำวัดหายโศก เข้าเส้นชัยท่าน้ำวัดศรีคุณเมือง ระยะทางการแข่งขัน 650 เมตร




นายยุทธนา ศรีตะบุตร  นายก อบจ.หนองคาย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ โดยในวันที่ 23 ต.ค. จะมีพิธีอันเชิญถ้วยพระราชทานฯ ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา สมพระเกียรติ จาก อบจ.หนองคาย เคลื่อนขบวนไปตามถนนสายหลักในพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย จนถึงบริเวณท่าน้ำวัดหายโศก การแข่งขันเรือยาวจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เรือยาวใหญ่ทั่วไปไทย-ลาว 50-55 ฝีพาย ชิงถ้วยพระราชทานฯ  โดยได้รับการตอบรับฝีพายเรือจากนครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว เข้าร่วมแข่งขัน 6 ทีม ร่วมกับเรือดังจากทั่วประเทศไทยที่ให้ความสนใจส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันด้วย 6 ทีม เข้าร่วมชิงชัยในการเป็นเจ้าแห่งสายแม่น้ำโขง , ประเภทเรือยาวใหญ่ภายในจังหวัดหนองคาย 50-55 ฝีพาย มีทีมเรือเข้าร่วมแข่งขัน 7 ทีม และเรือโบราณภายในจังหวัดหนองคาย ไม่เกิน 45 ฝีพาย มีทีมเรือเข้าร่วมแข่งขัน 7 ทีม





สำหรับการแข่งขันที่จัดขึ้น 3 วัน คือ วันที่ 23 ต.ค. จะเป็นเรือยาวโบราณภายในจังหวัดหนองคาย เป็นการแข่งวันเดียวจบ วันที่ 24 ต.ค. จะเป็นรอบคัดเลือกเรือยาวทั่วไปไทย-ลาว และเรือยาวภายในจังหวัดฯ ให้เหลือประเภทละ 4 ทีม เข้าชิงชัยในวันที่ 25 ต.ค. นี้ ซึ่งการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ ก็เพื่อต้องการให้จังหวัดหนองคายเป็นสนามแข่งขันเรือยาวที่ใหญ่และได้มาตรฐานที่สุดในประเทศไทย และกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดหนองคายให้คึกคักตลอดช่วงการจัดงาน จึงขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวไปร่วมกิจกิจกรรม และชมการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ในระหว่างวันที่ 23–25 นี้ด้วย












วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566

คนบ้านเดียวกันจ้าง!!..นรข.สังคม - ทหารพราน รวบสองหนุ่มชาวผาตั้งเสพยานรกเต็มคาราเบล ก่อนรับจ้างขนยาบ้ากว่า 2.34 แสนเม็ดริมฝั่งโขง

จนท.สถานีเรือสังคม นรข.เขตหนองคาย สนธิกำลังทหารพรานและหน่วยงานความมั่นคง ซุ่มจับสองหนุ่มเสพยานรกเต็มคาราเบล ก่อนชวนกันมาขนยาบ้ากว่า 234,000 เม็ดริมแม่น้ำโขง สารภาพรับจ้างจากเพื่อนชาวผาตั้งด้วยกัน คนละ 5,000 บาท


เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 เวลา 13.00 น. ที่ สถานีเรือสังคม อ.สังคม จ.หนองคาย น.อ.จิรัฏฐ์ ผูกทอง ผบ.นรข.เขตหนองคาย, ร.อ.ไพรสน พลเสน หน.สน.เรือสังคม นรข.เขตหนองคาย, ร.ท.พิชิตพล เคนดา ผบ.ร้อย.ฉก.ทพ.2110 ฉก.ทพ.21 พร้อมหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ร่วมกันแถลงผลการจับกุมนายสิทธิกร คำสุดที อายุ 28 ปี  และนายณัฐวุฒิ ชื่นตา อายุ 25 ปี ทั้ง 2 คนเป็น ราษฎร ต.ผาตั้ง หมู่ 1 อ.สังคม จ.หนองคาย พร้อมยาบ้า จำนวนกว่า 234,000 เม็ด ได้ที่บริเวณสวนเกษตรริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านผาตั้ง หมู่ 1 ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย ภายใต้การอำนวยการของ พล.ร.ต.นรินทร์ ขาวเจริญ ผบ.นรข.,น.อ.จิรัฏฐ์  ผูกทอง ผบ.นรข.เขตหนองคาย, พ.อ.สุริวัชร์ อัครพรเดชาพงษ์  ผบ.ฉก.ทพ.21

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ต.ค.66 เวลา ประมาณ 17.00 น. ร.อ.ไพรสน พลเสน หน.สน.เรือสังคม ได้รับแจ้งจาสายลับว่าจะมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติดจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้านข้ามมายังฝั่งไทย บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ต.ผาตั้ง อ.สังคม จว.หนองคาย จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ จากนั้นจึงได้วางแผนกับ ร้อย.ฉก.ทพ.2110 และหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่จำนวน 2 ชุด ชุ่มเฝ้าสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่ดังกล่าว กระทั่งเวลาประมาณ 02.50 น. จนท.ได้สังเกตเห็นเรือกีบ จำนวน 1 ลำ ขับแล่นข้ามแม่น้ำโขงมาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้โดยสารเป็นผู้ชายนั่งมากับเรือ 2 คน มีวัตถุสีดำวางบริเวณหัวเรือโดยขับมุ่งหน้าเข้ามายังฝั่งไทยตรงใกล้กับจุดที่ จนท.ชุ่มอยู่ เมื่อเรือเทียบฝั่งชายที่โดยสารมากับเรือได้นำวัตถุบริเวณหัวเรือวางไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง


จากนั้นไม่นานได้มีชาย 3 คน เดินลงไปบริเวณที่วางวัตถุสีดำนั้น ซึ่งชายคนหนึ่งได้ขึ้นเรือไปและเรือก็ขับแล่นกลับไปยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็ว ส่วนอีก 2 คน ช่วยกันนำวัตถุนั้นแบกขึ้นมาบนฝั่ง  จนท.จึงแสดงตัวเข้าจับกุม เมื่อทั้ง 2 คนเห็น จนท. จึงทิ้งของกลางและวิ่งหนีไปหลบอยู่บริเวณใกล้ๆ จนท.ทพ.ที่ชุ่มอยู่ จึงได้จับกุมตัวชายคนหนึ่งมา ทราบชื่อภายหลังคือ นายณัฐวุฒิชื่นตา อายุ 25 ปี และเจ้าหน้าที่ นรข.ได้จับตัวชายอีกคนหนึ่งได้ ทราบชื่อภายหลังคือ นายสิทธิกร คำสุดที่ อายุ 28 ปี จึงนำตัวมาที่บริเวณที่ทิ้งของกลางไว้ แล้วได้ทำการตรวจสอบของกลางเป็นกระสอบสีฟ้า มีตัวอักษร 1 เขียนที่กระสอบ ตรวจสอบภายในพบเป็นยาบ้าบรรจุอยู่เต็มกระสอบ จึงได้นำของกลางทั้งหมดมาตรวจสอบโดยละเอียดที่ สน.เรือสังคม ผลการตรวจสอบอย่างละเอียดพบเป็นยาบ้า จำนวน 50 ก้อน บรรจุอยู่ในกระสอบสีฟ้า จำนวน 1 ใบ รวมจำนวนประมาณ 234,000 เม็ด

จากการสอบสวนนายสิทธิกรฯ และนายณัฐวุฒิฯ ให้การว่าได้รับการว่าจ้างจากนายธานินทร์ บัวพล อายุ 24 ปี ชาวบ้านผาตั้ง หมู่ 1 ต.ผาตั้ง อ.สังคม จว.หนองคาย เป็นจำนวนเงินคนละ 5,000 บาท ให้ไปช่วยนำของขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยนายสิทธิกรฯ ได้ให้การว่าตนเดินทางมาถึงบ้านของนายธานินทร์ฯ เมื่อเวลา 19.00 น. โดยที่นายธานินทร์ฯ ไม่อยู่ที่บ้านจึงได้พักผ่อนรอในบ้าน ส่วนนายณัฐวุฒิฯ ได้ให้การว่าตนเดินทางมาถึงบ้านของนายธานินทร์ 22.30 น. เมื่อนายธานินทร์ฯเดินทางมาถึงบ้านของตนที่ทั้งสองคนรออยู่ จึงได้ร่วมกันเสพยาบ้าจนถึงเวลา 24.00 น. นายธานินทร์ฯ จึงได้ชักชวนนายณัฐวุฒิฯ ให้ขับรถจักรยานยนต์คนละคันเพื่อออกไปรับชาว สปป.ลาว ที่บริเวณก่อนถึงบ้านด่านศรีสุขและกลับมาถึงบ้านในเวลา 01.00  น. จึงได้ร่วมกันเสพยาบ้าต่อเพื่อรอเวลาที่ต้องไปขนของตามที่นายธานินทร์ฯได้ว่าจ้าง ในเวลาประมาณ 02.45 น.พวกตนทั้ง 4 คน จึงได้ดำเนินการตามที่ตกลงกัน โดยนายธานินทร์ฯ เป็นผู้ยืนดูต้นทางบริเวณริมถนน ส่วนอีก 3 คน ได้เดินลงไปยังริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณที่เรือมาเทียบฝั่งเพื่อทำการขนสิ่งของที่ได้รับการว่าจ้างให้ขน และส่งชายชาว สปป.ลาว ขึ้นเรือลำดังกล่าวกลับไปด้วย หลังจากนั้นพวกตนทั้งสองจึงช่วยกันขนสิ่งของที่ได้รับการว่าจ้างนั้นขึ้นจากริมตสิ่งแม่น้ำโขง เพื่อนำไปส่งมอบให้แก่นายธานินทร์ฯ ระหว่างที่ขนนั้นก็ถูกเจ้าหน้าทีแสดงตัวเข้าจับกุม เมื่อเห็นเจ้าหน้าที่พวกตนรวมทั้งนายธานินทร์ฯ จึงได้ทำการทิ้งของกลางและวิ่งหนี โดยสุดท้ายนายณัฐวุฒิฯ ถูก จนท.ทพ.จับกุมตัวได้ที่ป่ากล้วย และนายสิทธิกรฯ ถูก จนท.นรข.จับกุมตัวได้บริเวณริมถนน ส่วนนายธานินทร์ฯ หลบหนีไปได้  จนท.จึงได้ทำบันทึกการจับกุมและผู้ต้องหาพร้อมของกลางนำส่งให้ สภ.สังคม ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพื่อขยายผลและติดตามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 




 

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

วช.ลงพื้นที่หนองคาย ตรวจเยี่ยมการใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มุ่งพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับตำบล

วช. และคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยภายใต้โครงการ "การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (CBR) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2566"


วันที่ 16 ต.ค. 2566 เวลา 15.30 น. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีฮ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นางสาวสุภาพรรณ โทขัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก วช. นำเจ้าหน้าทึ่ วช. และคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย  เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยภายใต้โครงการ "การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (CBR) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2566" ณ ดอนป่าเปือยบ้านหม้อ หมู่ 7 ต.บ้านหม้อ อ. ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย โดยมี นายสนอง เข็มพรหมมา ประธานคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาดอนป่าเปือย พร้อมคณะกรรมการฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับพร้อมบอกเล่าประวัติบ้านหมัอและวิถึชีวิตชาวบ้าน ทั้งวิถึท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางธรรมชาติและวัฒนธรรม วิถีธรรม วิถีพวน และพาเดินเยี่ยมชมสถานที่




ทั้งนี้ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก วช. ในการดำเนินโครงการวิจัยในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ตั้งแต่ปี 2557 - 2564 แบ่งเป็นจำนวน 7 ชุดวิจัย รวมกว่า 28 โครงการ เริ่มมีการศึกษาวิจัยประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมื่อปี 2560 และดำเนินการวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวครบทุกพื้นที่โครงการในปี 2561



โดยปัจจุบันมีพื้นที่เป้าหมายการวิจัย 4 เครือข่าย ได้แก่ 1.เครือข่ายตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย , 2. เครือข่ายตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย , 3. เครือข่ายตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และ 4. เครื่อข่ายตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีผู้ประกอบการท้องถิ่นจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมโครงการฯ อาทิ ผู้นำชุมชนจิตอาสาพิทักษ์ป่า กลุ่มสวนผลไม้ กลุ่มผ้าทอมือ กลุ่มบริการรถนำเที่ยว กลุ่มเรือโดยสาร กลุ่มที่พัก ร้านอาหาร รวมแล้วกว่า 272 คน



โดยโครงการ "การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับตำบล จังหวัดหนองคาย สู่การเป็นผู้ประกอบการทางสังคม" มุ่งเป้าพัฒนาภายในตำบลตนเองให้เข้มแข็ง โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) ที่ว่า "การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การลงมือด้วยตนเอง" การมีส่วนร่วมของนักวิจัยในชุมชนจึงเป็นการสร้างความรู้ทักษะและนำไปพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลตนเองให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป













จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...