วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

วช.ลงพื้นที่หนองคาย ตรวจเยี่ยมการใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มุ่งพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับตำบล

วช. และคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยภายใต้โครงการ "การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (CBR) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2566"


วันที่ 16 ต.ค. 2566 เวลา 15.30 น. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีฮ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นางสาวสุภาพรรณ โทขัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก วช. นำเจ้าหน้าทึ่ วช. และคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย  เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยภายใต้โครงการ "การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (CBR) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2566" ณ ดอนป่าเปือยบ้านหม้อ หมู่ 7 ต.บ้านหม้อ อ. ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย โดยมี นายสนอง เข็มพรหมมา ประธานคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาดอนป่าเปือย พร้อมคณะกรรมการฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับพร้อมบอกเล่าประวัติบ้านหมัอและวิถึชีวิตชาวบ้าน ทั้งวิถึท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางธรรมชาติและวัฒนธรรม วิถีธรรม วิถีพวน และพาเดินเยี่ยมชมสถานที่




ทั้งนี้ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก วช. ในการดำเนินโครงการวิจัยในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ตั้งแต่ปี 2557 - 2564 แบ่งเป็นจำนวน 7 ชุดวิจัย รวมกว่า 28 โครงการ เริ่มมีการศึกษาวิจัยประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมื่อปี 2560 และดำเนินการวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวครบทุกพื้นที่โครงการในปี 2561



โดยปัจจุบันมีพื้นที่เป้าหมายการวิจัย 4 เครือข่าย ได้แก่ 1.เครือข่ายตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย , 2. เครือข่ายตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย , 3. เครือข่ายตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และ 4. เครื่อข่ายตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีผู้ประกอบการท้องถิ่นจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมโครงการฯ อาทิ ผู้นำชุมชนจิตอาสาพิทักษ์ป่า กลุ่มสวนผลไม้ กลุ่มผ้าทอมือ กลุ่มบริการรถนำเที่ยว กลุ่มเรือโดยสาร กลุ่มที่พัก ร้านอาหาร รวมแล้วกว่า 272 คน



โดยโครงการ "การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับตำบล จังหวัดหนองคาย สู่การเป็นผู้ประกอบการทางสังคม" มุ่งเป้าพัฒนาภายในตำบลตนเองให้เข้มแข็ง โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) ที่ว่า "การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การลงมือด้วยตนเอง" การมีส่วนร่วมของนักวิจัยในชุมชนจึงเป็นการสร้างความรู้ทักษะและนำไปพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลตนเองให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...