วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จังหวัดหนองคาย โดย สนง.ทสจ.หนองคาย จัดโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


วันที่ 24 ก.ค. 63 ที่ วัดน้ำฮวย บ้านตาดเสริม ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม  จังหวัดหนองคาย นายณัฐวัสส์  วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า ซึ่งจังหวัดหนองคาย โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหนองคาย จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563  โดยมี นางศิริวรรณ สุดาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย กล่าวรายงาน มีหัวหน้าส่วนราชการทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักเรียนและประชาชนจิตอาสาเราทำความดีเพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ร่วมกิจกรรมฯ โดยได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จำนวน 1,400 ต้น ได้แก่ รวงผึ้ง, ไม้สัก, ตะแบง, พะยูง และมะค่าโมง บนพื้นที่ 7 ไร่ ภายในบริเวณวัดน้ำฮวย





นางศิริวรรณ สุดาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า ด้วยศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จัดทำ “โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า” ครอบคลุมถึงป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ป่าพรุ และที่ดินของรัฐประเภทอื่น ๆ และการฝึกอบรม “จิตอาสา” เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแก่อาณาราชฎร

โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟบำ ดำเนินการปี พ.ศ.2563-2570 โดยกำหนดพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟู และมีพื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าภายใต้โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป๋าเพิ่มขึ้น รวมกันจำนวนไม่ต่ำกว่า 2.68 ล้านไร่ ใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวม 3 ระยะในการดำเนินการ โดยระยะที่ 1 ระยะเร่งด่วนดำเนินการเสร็จภายใน 28 ก.ค. 2563 จำนวน 6 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ ตาก น่าน นครราชสีมา ชัยภูมิ และนครศรีธรรมราช ปลูกป่าไม่ต่ำกว่า 1,010 ไร่ และทำฝายเพิ่มความชุ่มชื้นของระบบนิเวศน์ พื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง รวมจำนวนไม่ต่ำกว่า 70 แห่ง จังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดเร่งด่วน จำนวน 71 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร ปลูกป่าหรือปลูกตันไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ไร่ รวมทั้งประเทศ 7,100 ไร่

ระยะที่ 2 และ 3 ดำเนินการในปี พ.ศ.2563-2570 โดยปี พ.ศ.2563-2565 ฟื้นฟูป่าในจังหวัดเร่งด่วน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก น่าน นครราชสีมา ชัยภูมิ และนครศรีธรรมราช จำนวนรวมกันปีละไม่ต่ำกว่า 22,000 ไร่ รวมทั้งฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าใน 71 จังหวัดที่เหลือ รวมกรุงเทพมหานคร เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ไร่ต่อปี รวม 71 จังหวัด 7,100 ไร่ต่อปี รวม 2 ปี จำนวน 14,200 ไร่  ปี พ.ศ. 2565-2570 กำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่บำจำนวนร้อยละ 15-20 ของพื้นที่ต้นน้ำ (ชั้นคุณภาพน้ำ 1 และ 2) ที่เสื่อมสภาพและมีการใช้ประโยชน์จากราษฎร จำนวน 127 ลัานไร่ (บำสงวนแห่งชาติ/บำอนุรักษ์/อื่นๆ) ฟื้นฟูพื้นที่บำชุมชนเฉลี่ยแห่งละ 59 ไร่ จาก 11,327 แห่ง เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ชายเลน จำนวน 0.153 ล้านไร่ จากพื้นที่ป่าชายเลนตามกฎหมาย จำนวน 1.5 ล้านไร่ พื้นฟูพื้นที่ป่าพรุ จำนวน 20,000 ไร่ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวในจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่บำตามกฎหมาย เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ไร่ต่อปี รวม 5 ปึ จังหวัดละ 500 ไร่

กิจกรรมภายใต้โครงกรปลูกป่า และป้องกันไฟป่า เดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเดือนมหามงคล ได้กำหนดพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 โดยพิธีเปิดโครงการหลักกำหนดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง -น้ำพุเจ็ดสี อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่








วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

PEA สาขาทำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย รับการตรวจประเมิน GECC เพื่อยกระดับเป็นศูนย์ราชการบริการประชาชนมาตรฐานระดับประเทศ


วันที่ 22 ก.ค. 63 ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) สาขาอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย  นางสาวอัมพวัน เจริญกุล ประธานอนุกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center หรือ GECC) คณะที่ 7 พร้อมด้วย นายยันยงค์ คำบรรลือ อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ, นางสาวนวลจันทร์ แสงมณี อนุกรรมการและเลขานุการ, นางสาวพัทธนันท์ ว่องธีรโชติวงษ์ อนุกรรมการและเลขาธิการ, นางสาวอรชืสา นิพากรเมธ ผู้ช่วยเลขานุการ ร่วมลงพื้นที่ตรวจติดตามประเมินมาตรฐานงานบริการประชาชน ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) สาขาอำเภอท่าบ่อ เพื่อยกระดับเป็นศูนย์บริการประชาชนมาตรฐานระดับประเทศ ตามโครงการ “การรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก” โดยมี นายพงศ์ศิษฎ์ โสภาวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและบริการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานี),  นายปริญญา ศรีลาพัฒน์ ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาอำเภอท่าบ่อ, นายอาทร จันทร์พิลา ประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ร่วมให้การต้อนรับและร่วมกันนำเสนอข้อมูลผลการปฏิบัติงานความก้าวหน้างานบริการในด้านต่างๆ พร้อมกับนำคณะอนุกรรมการตรวจประเมินฯ เข้าดูความเรียบร้อยในบริเวณพื้นที่จุดบริการประชาชน







โดยการตรวจประเมิน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ PEA สาขาอำเภอท่าบ่อ ได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลงานบริการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการปฏบัติงานเกี่ยวกับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นบันทึกข้อมูลกระแสไฟฟ้าขัดข้อง, นวัตกรรมเครื่องปลอกสายไฟ, นวัตกรรมป้องกันรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า และการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนนำสินค้า OTOP และผลไม้ตามฤดูกาลมาจำหน่ายให้กับประชาชนในทุกวันศุกร์ รวมทั้งในเรื่องกระบวนงานการรับเรื่อง ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการให้บริการประชาชนผู้มาติดต่องาน ณ จุดเคาน์เตอร์บริการในรูปแบบ One Stop Service การให้ข้อมูลในภาพรวมเกี่ยวกับปริมาณงาน สถิติผู้มาใช้บริการ และปริมาณรายได้จากการให้บริการ ซึ่งทุกกระบวนงานได้เน้นที่จะอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยในยุคดิจิตอล เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ





สำหรับการตรวจประเมินจุดบริการหน่วยงานเพื่อยกระดับเป็นจุดบริการประชาชนมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการจะกระตุ้นให้หน่วยงานของภาครัฐได้มีการปรับปรุงและพัฒนางานบริการให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐาน เพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงานองค์กร ต่อไป


















วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี กระตุ้นการเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศอย่างสมดุล จัดกิจกรรม โครงการคิดถึงชุมชน... Local Culture


นางภาวนา ประจิตต์ ผอ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี กล่าวว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุดรธานีได้จัดกิจกรรม Agent and Media FAM Trip ภายใต้โครงการคิดถึงชุมชน... Local Culture เพื่อกระตุ้นการเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศอย่างสมดุล โดยนำผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวบึงกาฬ, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย  และสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวหนองคาย พร้อมทั้งสื่อมวลชน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี  เพื่อกระตุ้นการเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศอย่างสมดุล  อีกทั้งเสริมสร้างความมั่นใจ สร้างรายได้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกระตุ้นการเติมโตของนักท่องเที่ยว ให้การท่องเที่ยวไทยกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง





สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวโครงการคิดถึงชุมชน... Local Culture  นักท่องเที่ยวจะเยี่ยมชมชุมชนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ชมการสาธิตทำอาหารชุมชน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และมรดกโลกบ้านเขียง นั่งรถรางชมชุมชน ชิมข้าวปาด ชิมชาจากใบข่าที่สาม ชมการย้อมผ้าครามและปั้นหม้อเขียนสีลวดลายโบราณ และช่วงเย็นรับประทานอาหารพาแลง ก่อนเข้าที่พักโฮมสเตย์เชิงวัฒนธรรมบ้านเชียง





ส่วนวันที่ 2 คณะตื่นเช้าร่วมทำบุญตักบาตร จากนั้นเดินทางไปคำชะโนด อำเภอบ้านดุงเพื่อกราบไหว้ขอพร ออกทางต่อไปยังชุมชนบ้านโนนกอก ชมการสาธิตการย้อมผ้าด้วยสีกลีบบัวที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านโนนกอก และไปไหว้พระที่วัดสระมณี เพื่อสักการะขอพร พระพุทธพิบูลธนาภิรมย์ องค์ประธานที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดสระมณี  รวมถึงขอพรจากพญานาคราช 4 ตระกูลรอบพระวิหาร

























จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...