วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ไวน์ - สุรากลั่นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ สร้างมูลค่าทางการเกษตร จ.หนองคาย

ชาวสวนสับปะรดศรีเชียงใหม่ ผันตัวเองมาทำวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรด ผลิตไวน์สับปะรด - สุรากลั่นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ สร้างมูลค่าทางการเกษตรเดือนละ 7-8 หมื่นบาท สู่ MOU ตลาด สปป.ลาว - เกาหลีใต้


ที่ โรงสุราแช่พลไม้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านหม้อ หมู่ 1 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย กำลังนำสับปะรดของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นสินค้าการเกษตรที่ขึ้นชื่อของอำเภอศรีเชียงใหม่ เพราะสับปะรดที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  หรือ GI  เพราะมีเอกลักษณ์ในรสชาติที่หอมหวานฉ่ำ มีพื้นที่ปลูกรวม 1,400 ไร่ เป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้ชาวศรีเชียงใหม่กว่า 80 ครัวเรือน นำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นไวน์สับปะรด "ตำจอก" และสุรากลั่นสับปะรด "ซมเซย" เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรของจังหวัดหนองคาย



นายภูเบศ ใจขาน ผู้ใหญ่บ้านหมัอ หมู่ 1 ต.บ้านหม้อ ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านหม้อ  กล่าวว่า ก่อนที่จะมาแปรรูปสับปะรดก็เป็นชาวสวนทำไร่สับปะรดมาก่อน ตั้งแต่ปี 2555-2559 แต่ประสบปัญหาเรื่องราคาสับปะรตกต่ำ ก็เลยผันตัวเองมาทำเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรด โดยได้องค์ความรู้จากนักวิชาการต่างๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยราชภัฏ  แมักระทั้งอุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด พัฒนาการจังหวัด  และภาครัฐมาให้ความรู้ด้านการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทำขึ้นมาก็คือ "น้ำสับปะรดสกัด 100%" ซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือเป็นสับปะรด GI ศรีเชียงใหม่ ได้ขึ้นทะเบียนพานิชย์ในลำดับทึ่ 156 ของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเด่นที่มีรสชาติหอมหวานฉ่ำ เป็นคุณลักษณะเฉพาะถิ่น ถือว่าเป็นจุดแข็งของสับปะรดที่นี่  กระทั้งเมื่อปี 2562 ก็ประสบปัญหาของโรคโควิด-19 ระบาดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการตลาด จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการแปรรูปสับปะรดให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น จากน้ำสับปะรด ก็เป็นสับปะรดอบแห้ง ไวน์สับปะรด"ตำจอก" ท้ายสุดที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิตก็คือ "สุรากลั่นชุมชน" ที่สกัดมาจากสับปะรดหมัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุด ส่วนเศษสับปะรดที่เหลือก็นำไปเป็นอาหารปศุสัตว์ของชาวบ้าน เป็นการคืนสู่ชุมชนที่ไดัเกื้อกูลกัน ซึ่งสามารถจะทำเป็นนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ตามนโยบายของภาครัฐ  ซึ่งเป็นวัตกรรมที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



ผู้ใหญ่ภูเบศ กล่าวอีกว่า ในด้านการตลาดเมื่อก่อนก็ได้อาศัยกับพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชน เกษตรจังหวัด และหน่วยงานภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนในช่องทางการตลาด ด้วยการออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมทั้งไปเปิดตลาดที่เมืองทองธานึ  อีกช่องทางหนึ่งก็คือตลาดออนไลน์  และทำ MOU กับไปรษณีย์ไทย ทำใหัมีสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาด สปป.ลาว ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งประเทศเกาหลีใต้ที่สนใจในเรื่องสุรากลั่นชุมชน ซึ่งจะมาทำ MOU ร่วมกัน ซึ่งได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกันแล้ว ส่วนรายได้ตอนนี้ท่ามองถึงมูลค่าก็ยังนัอยอยู่ ก็ประมาณ 70,000 - 80,000 บาท/เดือน  แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังสูง อย่างเช่นสับปะรดทุกวันนี้ราคาอยู่ทีกิโลกรัมละ 20 บาท ถือว่าเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสามารถลืมตาอ้าปากได้ในปีนี้  และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรในการนำผลผลิตรมาสู่กระบวนการแปรรูป  ซึ่งสามารถแปรรูปสับปะรดได้วันละประมาณ 1 ตันต่อครั้งต่อวัน ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเหลือชาวสวนสับปะรดในพื้นที่อีกด้วย











วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รอง ผบ.ทสส.ตรวจเยี่ยม นพค.25

 

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ นพค.25 อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย


วันทึ่ 17 พ ย. 2566 เวลา 13 00 น. ที่ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที 25 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย บ้านศูนย์กลาง หมู่ 3 ต่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย โดยพันเอกณัฏฐาภูมิ นิกร ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 25  ให้การต้อนรับ พลเอกโดมศักดิ์ คำใสแสง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ ในโอกาสเดินทางตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ นพค.25 สนภ.2 นทพ. โดยได้ถ่ายทอดนโยบายของนายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหมและเจตนารมณ์ พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้กับกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่สองห้า พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมบ้านพักและมอบสิ่งของให้แก่ครอบครัวของกำลังพลที่เจ็บป่วยเพื่อบำรุงขวัญและให้กำลังใจ จากนั้นตรวจความพร้อมของอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ด้านการบรรเทาสาธารณภัย   และเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายในหน่วย  

















วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วุ้นใบหมาน้อย ของหวานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หากินยาก

"ยายน้อย" นำใบหมาน้อยสมุนไพรในท้องถิ่นมาทำเป็นวุ้น ของหวานจากภูมิปัญญาที่หากินยาก สู่เมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟของลูกสาว ขายดิบขายดีจนผลิตไม่ทันขาย


วันที่ 5 พ.ย. 2566 ที่บ้านเลขที่ 151/2 บ้านสะพานทอง หมู่ 5 ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของนางสมบูรณ์ ครองผา หรือยายน้อย อายุ 61 ปี ได้พาผู้สื่อข่าวไปชมต้นเคริอ "หมาน้อย" หรือ "หมอน้อย" เป็นสมุนไพรในท้องถิ่น ลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา สรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในที่ปลูกไว้หลังบ้าน ซึ่งยายน้อยได้นำมาทำเป็นวุ้นจำหน่ายชื่อว่า "หมอน้อยชื่นใจ" เป็นของหวานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หากินได้ยากในจังหวัดหนองคาย และยังเป็นเมนูเด็ดของร้านกาแฟชื่นใจคอฟฟี่เฮ้าส์ ของลูกสาวที่เปิดร้านกาแฟอยู่หน้าบ้าน นำหมอน้อยไปร้อยแก้วแทนไข่มุขในบรรดาจำพวกชานมหมอน้อย นมสดหมอน้อย ชาไทยหมอน้อย เป็นต้น ซึ่งมีที่แรกและที่เดียวในศรีเชียงใหม่




ยายน้อย กล่าวว่า  อำเภอศรีเชียงใหม่ จะมีพืชชนิดหนึ่งในตระกูลไม้เถาที่เป็นสมุนไพรธรรมชาติ ที่สามารถทำเมนูอาหารได้หลากหลายอย่าง เมื่อก่อนบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ รวมทั้งชาวบ้านทั่วไปจะนำใบหมอน้อยทำเป็นลาบกินกัน โดยมีส่วนผสมกับน้ำพริกปลาร้า ใส่พริกป่น หอม  มะเขือพวง มะเขือขม เป็นต้น โดยปัจจุบันได้ดัดแปลงใบหมอน้อยมาเป็นอาหารชนิดใหม่ ก็คือของหวาน โดยทำเป็นวุ้นผสมน้ำตาลเชื่อมและกะทิ เป็นของหวานหมอน้อยที่มีเฉพาะถิ่นและหากินยาก โดยตนเองได้ความรู้มาจากการไปเป็นลูกมือของเจ้าต้นตำหรับในพื้นทึ่ ซึ่งเจ้าต้นตำหรับหวงสูตรมาก แม้แต่วิธีการคั้นใบหมอน้อยก็ไม่ยอมบอกวิธีคั้น แต่ตนอาศัยครูพักลักจำแล้วมาต่อยอดก็คือ ทำเป็นกาแฟเย็นหมอน้อย ชาวเขียวหมอน้อย ชานมหมอน้อย นมสดหมอน้อย โดยนำวุ้นหมอน้อยร้อยแก้วแทนไข่มุขประมาณนี้  และยังสามารถทำได้หลากหลายเมนู คือนำวุ้นหมอน้อยมาต่อยอดเป็นเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟของลูกสาว ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกที่ทำและมีที่เดียวในอำเภอศรีเชียงใหม่ นอกจากจะนำหมอน้อยมาต่อยอดเป็นท็อปปิ้งใส่ชาเขียว ชานม หรือว่าใส่น้ำผลไม้ต่างๆ ยังเป็นการเพิ่มรสชาติของเมนู  และเป็นจุดขายของร้านกาแฟชื่นใจคอฟฟี่เฮ้าส์ ด้วย



ยายน้อย กล่าวอีกว่า ส่วนใบหมอน้อยที่นำไปทำเป็นวุ้นต้องเลือกเอาแต่ใบแก่ๆ ลักษณะสีเขียวเข้มและหนา ซึ่งคั้นออกมาจะเป็นวุ้น แต่ท่าเป็นใบอ่อนจะมีรสชาติเปลี้ยว คั้นออกมาไม่เป็นวุ้น  ซึ่งใบแก่ที่เก็บจะเก็บได้รอบเดียว หลังจากนั้นต้องใช้เวลาเป็นเดือนถึงจะเก็บได้อีก เพราะฉะนั้นหมอน้อยต้องมีปลูกอยู่หลายบ้าน โดยชาวบ้านจะปลูกไว้บ้านละ 5-10 ต้น เราก็ไปขอซื้อกับชาวบ้านมาคั้นใบ โดยจะสลับไปขอซื้อสัปดาห์ละหลัง เพื่อใหัใบหมอน้อยแก่ทันเก็บ และยังได้แนะนำให้ชาวบ้านปลูกเพิ่มเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละบ้านจะมีแต่ผู้สูงอายุปลูกไว้ เพราะชอบนำมาทำลาบกินกัน คนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักเท่าไหร่ ต้นหมอน้อยเป็นพืชที่ปลูกยากและใช้เวลานานในการเติบโต แต่ก็เป็นพืชที่ตายยากเช่นกัน หลักสำคัญของหมอน้อยจะชอบธรรมชาติปลอดสารพิษ จึงทำให้ดีต่อสุขภาพแก่ผู้รับประทาน ในส่วนของการคั้นหมอน้อยก็ไม่มีส่วนปรุงแต่ง โดยจะคั้นใส่น้ำเปล่า 1 เหยือก / หมอน้อย 1 กิโลกรัม ลงมือคั้นจนเป็นวุ้นแล้วพักรอให้แข็งตัวประมาณ 30 นาที แล้วตัดเป็นชิ้นพอดีคำมาใส่ถ้วยขาย แยกน้ำกะทิสด น้ำตาลเชื่อม ซึ่งก็แล้วแต่คนชอบทาน บางคนทานเฉพาะวุ้นหมอน้อยเนื่องจากมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรแก้ร้อนใน มีรสหอมเย็น


ในส่วนของการตลาด นอกจากจะเป็นเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟของลูกสาวแล้ว ยังมีขายออนไลน์ และมีออเดอร์สั่งซื้อมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเบรคในการประชุมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และออกขายตลาดนัดทุกวันเสาร์ ออกบูทนิทรรศการต่างๆของเกษตรกรและพัฒนาชุมชน และยังมีลูกค้าจากต่างจังหวัดแวะมาซิ้อที่ร้านก็มี โดยจะแพ็คใส่กล่องให้ ซึ่งวุ้นหมอน้อยสามารถอยู่ได้ 7-10 วัน ไม่เสียง่าย แต่ต้องอยู่ในความเย็น บางคนก็ไม่กล้าที่จะกิน แต่พอได้กินแล้วก็ถูกใจในรสชาติที่อร่อย หลังจากนั้นก็สั่งไปกินตลอด ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีมากจนผลิตไม่ทันขาย  



ยายน้อย กล่าวต่อว่า เมื่อก่อนไปขอซื้อใบหมอน้อยจากชาวบ้านที่ปลูกไว้จะขายที่ 1 กิโลกรัม 10 บาท พอมีการต่อยอดทำเป็นหวานหมอน้อย ทำให้ราคาใบหมอน้อยพุ่งขึ้นเลื่อยๆ ปัจจุบันอยู่ที่ 1 กิโลกรัม 200 บาท อีกทั้งยังหายาก เพราะในอำเภอศรีเชียงใหม่มีคนทำหวานหมอน้อยหลายเจ้า แต่คนปลูกมีน้อยต้องไปหาซื้อต่างอำเภอ ในด้านการขายวุ้นหมอน้อยก็จะขายถ้วยละ 20 บาท แต่ละถ้วยจะมีนำหนัก 200 กรัม ซึ่งตนจะคั้นหมอน้อยสัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ 2 กิโลกรัม จะได้วุ้นหมอน้อย ประมาณ 150-200 ถ้วย รายได้ตกอยู่ที่กว่า 3,000 บาท/สัปดาห์  ส่วนเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านกาแฟฯจะขายแก้วละ 60 บาท แต่ละสัปดาห์จะได้ประมาณ 100 แก้ว รายได้ตกอยู่ที่ 6,000 บาท/สัปดาห์ ซึ่งรายได้ก็แล้วแต่ข่วงที่หมอน้อยออกใบเยอะ ออกใบน้อย โดยหน้าฝนจะออกใบเยอะก็จะรายได้ดีตาม ส่วนหน้าแล้งก็จะออกใบน้อย ทำให้ใบหมอน้อยหายากในช่วงนี้ และไม่สามารถผลิตวุ้นหมอน้อยทันต่อความต้องการของลูกค้าได้











วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

หนุ่มสกลนครย่ามใจ! รับจ้างขนยาบ้ารอดไป 2 ครั้ง กลับมาลอบขนอีกกว่า 112,000 เม็ด สุดท้ายโดนรวบ

นรข.โพนพิสัย รวบหนุ่มสกลนครคาฝั่งโขง พร้อมยาบ้ากว่า 112,000 เม็ด พยายามลักลอบนำเข้าจาก สปป.ลาว สารภาพรับจ้างทำมาแล้ว 2 ครั้ง

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 ที่ หน่วยเรือโพนพิสัย  นรข.เขตหนองคาย น.อ.จิรัฏฐ์   ผูกทอง  ผู้บังคับการหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง เขตหนองคาย   พร้อมด้วย พ.ต.อ. อนุศักดิ์ ศักดาวัชรานนท์  รอง ผบก.ภจว.น, ร.อ.ธนกร  ฤทธิ์จอหอ หัวหน้าสถานีเรือโพนพิสัย, ทหารชุดเคลื่อนที่เร็วกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี และหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ แถลงผลการจับกุมตัวนายวีระชาติ สมสิงห์   อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 105 ต.บ้านบงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร  พร้อมของกลางยาบ้า จำนวน ประมาณ  112,000  เม็ด

การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก  ร.อ.ธนกร   ฤทธิ์จอหอ หัวหน้าหน่วยเรือโพนพิสัย ได้รับแจ้งว่า จะมีการพยายามลักลอบนำเข้ายาเสพติดจาก สปป.ลาว ในพื้นที่บ้านหัวหาด ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง จ.หนองคาย จึงได้รายงานให้ น.อ.จิรัฏฐ์   ผูกทอง ผบ.นรข.เขตหนองคาย ทราบ พร้อมประสานหน่วยงานความมั่นคง ในพื้นที่  ร่วมกันจัดวางกําลังซุ่มเฝ้าตรวจพื้นที่ ที่ได้รับแจ้ง เวลาต่อมาพบเรือต้องสงสัย 1 ลำ บริเวณกลางแม่น้ำโขง โดยมีบุคคลต้องสงสัยมากับเรือ 3  คน  พายเรือตามน้ำมุ่งหน้ามาฝั่งประเทศไทย และได้เข้ามาจอดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงบ้านหัวหาด หมู่ 4  และในเวลาเดียวกันได้มีบุคคลต้องสงสัย เดินลงไปบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง และเดินกลับขึ้นมาพร้อมกับถือวัตถุต้องสงสัยมาด้วย เจ้าหน้าที่ชุดดักซุ่ม จึงได้แสดงตนขอตรวจค้น กระเป๋าสีดำจำนวน 1 ใบ พบยาบ้าบรรจุอยู่ในห่อพันด้วยเทปสีน้ำตาล จนท.จึงได้นําผู้ต้องหาพร้อมของกลางมายังหน่วยเรือโพนพิสัย เพื่อทําการตรวจนับโดยละเอียด ผลการตรวจนับยาบ้าครั้งนี้ จำนวนประมาณ 112,000  เม็ด ประทับตราอักษร WY ส่วนนายวีระชาติ ฯ ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ รับจ้างมาขนยาบ้าครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยได้รับค่าจ้างขนจากนายทุนคนหนึ่ง เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สภภ.บ้านเดื่อ ดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

นายพันธลภ  แสงทอง-ปวีณา  จังหวัดหนองคาย









จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...