วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

โรงเรียนบ้านเทพประทับ นำนักเรียนทัศนศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อคุณค่าในการเรียนรู้ ณ บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 น.ส.แพรทอง สามีวัง ผอ.โรงเรียนบ้านเทพประทับ ต.นางิ้ว อ.สังคม จ.หนองคาย พร้อมคณะครู บุคลากรทางการศึกษา ได้นำนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 - ป.3 จำนวน 35 คน เข้าศึกษาดูงานเพื่อคุณค่าในการเรียนรู้ ตามโครงการทัศนศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน ณ บ้านทุ่งศิลป์ครูแดง หมู่ 3 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ธรรมเรืองฤทธิ์ หรือครูแดง เจ้าของสถานที่ได้ให้การต้อนรับ พร้อมพาคณะทัศนศึกษาเดินเยี่ยมชมภายในพื้นที่ 19 ไร้เศษ เพื่อให้นักเรียนนำสิ่งที่พบเห็นนำมาร่วมกิจกรรมวาดภาพระบายสี เพื่อผู้เรียนได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และได้เรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รวมทั้งพัฒนาตนเองทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอนาคต





น.ส.จุฑารัตน์ วิลันด์ ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า นอกห้องเรียน มีสิ่งที่น่าให้เรียนรู้  น่าจดจำ และคงมีผลต่อความจำมากกว่าการพร่ำสอนแต่ไม่รับรู้แน่นอน   ด้วยการสนองตอบต่อการสร้างความรู้ให้เกิดกับนักเรียนของโรงเรียนบ้านเทพประทับ จึงได้ทัศนศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน ณ บ้านทุ่งศิลป์ครูแดงที่สร้างชื่อ และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  อีกทั้งยังใกล้บ้าน ประหยัดเวลา  เรียนรู้ได้ประโยชน์สูงสุด นักเรียนสนุกสนาน และนักเรียนคงจะจดจำไปอีกยาวนาน เปราะบางทุ่งศิลป์ครูแดง มีหลายสิ่งได้เรียนรู้ 




"สิ่งสำคัญคือ การจัดการศึกษายุคใหม่มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะทางวิชาการ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะพิสัย พุทธิพิสัย และ จิตพิสัยสมบูรณ์ สถานศึกษาได้เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้หลากหลายและเล็งเห็นความสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด ดังนั้นทางโรงเรียนฯจึงจัดโครงการทัศนศึกษานอกห้องเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความรอบรู้จากแหล่งการเรียนรู้และแหล่งวิทยาการภายนอกประเภทต่างๆ จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าวช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ตรงตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน" น.ส.จุฑารัตน์ กล่าว





































วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

"หนองคาย"อากาศร้อนน้ำโขงลด นายกฯโพนสาเตรียมเปิดหาดท่ามะเฟือง รับนักท่องเที่ยวลงเล่นคลายร้อน ชมวิวสองฝั่งโขงอย่างใกล้ชิด พร้อมทำซุ้มนั่งหย่อนขาแช่น้ำรับประทานอาหารกว่า 200 ซุ้ม

วันที่ 15 ก.พ.2566 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายอภิสิทธิ์ วงศรีแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสา ว่า ผลจากระดับน้ำโขงลดทำให้เกิดหาดทรายขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะที่บ้านท่ามะเฟือง ต.โพนสา อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พบหาดทรายเป็นบริเวณกว้างกว่า 500 เมตร ลักษณะเป็นหินกรวดทรายขาว น้ำใส ทาง อบต.โพนสา และชุมชนตำบลโพนสาจึงร่วมกับอำเภอท่าบ่อ จัดพื้นที่ให้เป็นสถานที่เล่นน้ำโขงคลายร้อน มีร้านอาหารให้นั่งรับประทานชมบรรยากาศมากกว่า 40 ร้าน และกิจกรรมเสริมริมหาด จึงแจ้งประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่ “หาดท่ามะเฟือง” ซึ่งหาดทรายขาว น้ำใส เย็นชุ่มฉ่ำ มีซุ้มให้นักท่องเที่ยวนั่งหย่อนขาแช่น้ำรับประทานอาหารมากกว่า 200 ซุ้ม เป็นหาดที่อยู่ติดกับ “เกาะดอนต่ำ” ที่มีพื้นที่สองพันกว่าไร่ และเป็นเกาะกลางแม่น้ำโขงของคนไทย ที่ใหญ่ที่สุดด้วย โดยนักท่องเที่ยวจะได้พบกับ เล่นน้ำหาดท่ามะเฟืองคล้ายร้อน , นั่งเรือชมเกาะ , ชมทิวทัศน์สองฝั่งประเทศไทย-ลาว , ทานอาหารหย่อนขาในน้ำโขง , เครื่องเล่น บานาน่าโบท , เช็คอินกับสวนดอกทานตะวัน รวมทั้งมีห้องน้ำสะดวกสบาย และเดินข้ามไปเล่นน้ำด้วยทุ่นลอยน้ำที่ปลอดภัย



นายกอภิสิทธิ์ ได้เปิดเผยอีกว่า เป้าหมายหลักเพื่อรับนักท่องเที่ยวช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดหนองคายเป็นจำนวนมาก ซึ่ง "หาดท่ามะเฟือง" เตรียมการที่เปิดอย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นเดือนหรือต้นเดือนมีนาคมนี้ เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน แบบยั่งยืนต่อไป หากท่านใดที่สนใจติดต่อลงทะเบียนโดยด่วน ที่ อบต.โพนสา ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการร้านค้า เรือนำเที่ยว ผู้ค้าขายต่างๆ ก่อนพิธีเปิด จะจัดล็อก แบ่งพื้นที่ โดยติดต่อได้ที่ อบต.โพนสา เบอร์โทร 087-214-7398 (นายก อบต.โพนสา)














ชาวไทยพวนบ้านหม้อ ร่วมมือลงแรงช่วยกันบูรณะศาลเจ้าแม่นางอั้ว พร้อมสร้างโรงครัวเพื่อรองรับการประกอบพิธีกรรมด้วยการขอรับบริจาควัสดุก่อสร้างจากผู้ใจบุญ

วันที่ 15 ก.พ. 2566 ที่ ศาลเจ้าแม่นางอั้ว บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง หมู่ 7 ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายนิยม รุ่งภาศา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 ต.บ้านหม้อ พร้อมแรงงานชาวไทยพวนบ้านหม้อ รวมใจช่วยกันบูรณะซ่อมแซมศาลเจ้าแม่นางอั่ว และเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยพวนบ้านหม้อมานานกว่า 41 ปี มีสภาพทรุดโทรมไปตามวันเวลา โดยได้ร่วมกันเปลี่ยนหลังคา ทาสี และปูกระเบื้องพื้นรอบศาลเจ้าแม่ฯ พร้อมกันนี้ยังได้สร้างโรงครัวขนาด 4.00 เมตร × 4.00 เมตร ด้วยการขอรับบริจาคปูน หิน ทราย และวัสดุก่อสร้าง จากผู้ใจบุญ และชาวบ้านได้ร่วมใจจิตอาสาก่อสร้างโรงครัว เพื่อรองรับในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของผู้ที่ศรัทธาเจ้าแม่นางอั้ว ซึ่งขณะนี้เกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว



สำหรับเจ้าแม่นางอั้วนั้นถือได้ว่า เป็นเจ้าเมืองที่คอยปกปักรักษาคุ้มครองชาวไทพวนมาอย่างยาวนาน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2525 นายอุดร โยธา กำนันตำบลบ้านหม้อ ได้สร้างหอแม่นางอั้ว เนื่องจากนายอุดร ได้ป่วยหนักจึงได้ทำพิธีบนเจ้าแม่นางอั้ว ว่าถ้าหายจากอาการป่วยจะสร้างหอ(ที่อยู่)ให้เจ้าแม่ ต่อมาไม่นานนายอุดรหายจากอาการป่วย จึงสร้างหอเพื่อเป็นที่สิงสถิตของเจ้าแม่นางอั้ว ณ สถานที่ตั้งริมแม่น้ำโขง และอยู่หัวบ้านของเขตบ้านหม้อ










วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย จ.หนองคาย จัดกิจกรรม"ค่ายศิลปะจับกบไง" ชวนเด็กๆ เรียนรู้วิถีชีวิตคนอีสานลงจับกบจำศีลในนาข้าว

วันที่ 12 ก.พ. 2566 ที่ ชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย ตั้งอยู่ในบริเวนบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง หมู่ 3 ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายเฉลิมศักดิ์ ธรรมเรืองฤทธิ์ หรือครูแดง ประธานชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย พร้อมด้วยนางนุชนาฎ ธรรมเรืองฤทธิ์ (ครูน้อย) ได้จัดกิจกรรม "ค่ายศิลปะจับกบไง" ซึ่งเป็นค่ายลำดับที่ 74 ที่ชมรมศิลปะเด็กบ้านศิลป์ไทย จัดให้มีขึ้น โดยมีผู้ปกครองนำบุตรหลาน อายุ 3-11 ปี มาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน โดยครูแดงได้ชวนเด็กๆ พร้อมอุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม ข้องใส่กบ ออกจับกบในท้องนาในฤดูแล้ง ซึ่งกบจะขุดรูอยู่จำศีลไม่ออกมาหาอาหาร และเพื่อไปเรียนรู้ธรรมชาติ หาประสบการณ์จากสถานที่จริง โดยชวนเด็กๆหารูกบ และลงมือขุดหากบที่กำลังจำศีล




โดยครูแดงได้สอนวิธีขุดหากบและวิธีการจับกบ บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานคึกคักของเด็กๆ ที่ได้จับกบตัวเป็นๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้  ได้จดจำลักษณะของกบนั้นเป็นอย่างไร แล้วนำมาวาดภาพพร้อมแต่งเติมจินตนาการลงไปในพลงาน ด้วยการระบายสี สำหรับกบที่จับได้ ก็ได้ให้เด็กๆ นำไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ บางส่วนก็นำมาไปเป็นอาหาร เช่น ปิ้งกบ ทอดกบ เป็นอาหารเที่ยงรับประทานกันทั้งเด็กๆ และผู้ปกครอง  บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น เชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีของสถาบันครอบครัว และมีความสุข ตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้เด็กๆ ได้รู้ถึงคุณค่า และภาคภูมิใจกับวิถีชีวิตชาวอีสาน และวัฒนธรรมของชุมชนด้วย













จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...